การทอผ้าและผ้าฝ้าย

131      210
 
Creative Commons License
การทอผ้าและผ้าฝ้าย ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.

 แสดงในรูปแบบ e-book

- เล่มที่ 1
 
ชื่อเรื่อง : การทอผ้าและผ้าฝ้าย
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาการทอผ้า (ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย)บ้านเป็ด ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่นข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางลำดวน ลุนจันทา ที่อยู่ 317 หมู่ที่ 1 บ้านเป็ด ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 อาชีพ รับจ้าง อายุการศึกษาภูมิปัญญา 35 ปี ชื่อภูมิปัญญา ภูมิปัญญาการทอผ้า (ผ้าไหม/ผ้าฝ้าย)ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา ประวัติการกำเนิดภูมิปัญญาการทอผ้าไหม ของบ้านเป็ด ผ้าทอผ้าไหมด้วยกี่หรือหูกพื้นบ้าน ตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ มักทอด้วยฝ้ายหรือไหม ผ้าพื้นบ้านหรือผ้าทอมือมีกรรมวิธีการทอต่างๆกัน เช่น ทอเรียบๆไม่มีลาย เรียกผ้าพื้น ทอเป็นลวดลายเรียก ผ้ายก ทอเป็นลวดลายด้วยการจก เรียก ผ้าจก ผ้าทอเป็นลวดลายโดยการขิด เรียก ผ้าขิด ทอเป็นลวดลายด้วยการมัดย้อม เรียก ผ้ามัดหมี่ เป็นต้น การทอผ้าเป็นอาชีพเสริมที่สำคัญของชาวบ้านเป็ก จากคำบอกเล่าต่อกันมาจากสมัย ปู่ ย่า ตา ยาย การทอผ้าเป็นหน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งขอผู้หญิงถ้าครัวเรือนไหนมีลูกสาวต้องสอนให้ทอผ้าเป็น จะเป็นที่หมายปองของหนุ่มๆในหมู่บ้านแต่ถ้าผู้หญิงคนไหนทอผ้าไม่เป็น ก็เป็นข้อหนึ่งที่ที่ญาติฝ่ายชายไม่เลือกเอามาเป็นสะใภ้ดังนั้นลูกสาวทุกครัวเรือนจะทอผ้าเป็นทั้งนั้น การทอผ้าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ที่คนไทยรุ่นปัจจุบันต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้ในสมัยก่อน ผู้หญิงไทยจะทำเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้านเอง งานสำคัญอย่างหนึ่งคือการทำเสื้อผ้า ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ไว้ใช้กันในครอบครัว ในพิธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการเกิด การบวช การแต่งงาน การตาย ก็ต้องใช้ผ้า ผ้าทอจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตคนไทย กรรมวิธีและเทคนิคในการทอผ้าให้เกิดลวดลายต่างๆ เป็นเทคนิคและ ความสามารถของแต่ละคน (นางสาวณัฐพร ขันทะสีมา , 25 พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์) ผู้ต่อยอดภูมิปัญญาการทอผ้าไหม บ้านหนองเขียด คุณแม่ลำดวน ลุนจันทา อายุ 55 ปี อาชีพ รับจ้าง บ้านเลขที่ 317 หมู่ที่ 1 บ้านเป็ด ต.บ้านเป็ด อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000 ได้เริ่มเรียนรู้การทอผ้าไหมจากมารดาและครอบครัวตั้งแต่อาย 17 ปี ซึ่งเมื่อก่อนได้ทอเพื่อใช้ในครอบครัวเท่านั้น ต่อมาเมื่อ ๓๐ ปีก่อนคุณแม่ลำดวน ลุนจันทา ได้นำความรู้ที่มีอยู่มาต่อยอด โดยเริ่มทอลายใหม่ๆ ลวดลายที่เป็นที่นิยมของท้องตลาด จนทำให้เป็นที่สนใจของคนในชุมชนและสามารถนำมาขายเป็นอาชีพเสริม ในเวลาว่างหลังจากการทำไร่ ทำนา มาจนถึงปัจจุบัน(นางสาวณัฐพร ขันทะสีมา , 25 พฤศจิกายน ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์)การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)อุปกรณ์การทอผ้าไหม๑. หูก เป็นเครื่องมือสำหรับทอผ้า มีหลายขนาดและชนิด แต่มีหลักการพื้นฐานอย่างเดียวกัน คือ การขัดประสานระหว่างด้ายเส้นพุ่ง และด้ายเส้นยืน จนแน่นเป็นเนื้อผ้า ๒. ฟืม หรือฟันหวี มีลักษณะคล้ายหวี ยาวเท่ากับความกว้างของหน้าผ้าทำด้วยโลหะ มีลักษณะเป็นซี่เล็ก ๆ มีกรอบทำด้วยไม้หรือโลหะ แต่ละซี่ของฟืมจะเป็นช่องสำหรับสอดด้ายยืน เข้าไป เป็นการจัดเรียงด้ายยืน ให้ห่างกันตามความละเอียดของเนื้อผ้า เป็นส่วนที่ใช้กระทบให้เส้นด้ายที่ทอเรียงติดกันแน่นเป็นผืนผ้า๓. กง ใช้สำหรับใส่ไจหมี่๔. อัก ใช้สำหรับกวักหมี่ออกจากกง๕. หลักตีนกง (ไม้ที่ใช้ยึดทั้งสองข้างในการกวักด้าย) ๖. หลา เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับปั่นหลอด จากอักมาสู่โบกเพื่อทำเป็นทางต่ำ (เส้นพุ่ง) เข็นหรือปั่นหมี่ ๒ เส้นรวมกัน เรียกว่า เข็นรังกัน เข็นควบกันหรือเข็นคุรกัน ถ้าเป็นหมี่คนละสี เข็นรวมกันแล้ว เรียกว่า มับไม ใช้แกว่งหมี่ ขั้นตอนนี้เป็นการเก็บปุ่มที่เรียกว่า ขี้หมี่ออกจากเส้นหมี่ และยังทำให้เส้นหมี่บิดตัวแน่นขึ้น ใช้ทำเป็นทางเครือ ๗. กระสวย ใช้บรรจุหลอดหมี่พุ่งสอดไประหว่างช่องว่างของเส้นหมี่ยืน ต้น และปลายเรียวตรงกลางเจาะเป็นช่องสำหรับใส่หลอดด้าย ๘. หลอดใส่ด้าย หลอดด้ายค้น (ลูกค้น) เป็นอุปกรณ์สำหรับใช้ในการค้นเส้นด้าย โดยเส้นด้ายทุกเส้นจะถูกม้วนหรือพันเก็บไว้ในหลอดค้น ซึ่งมีลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ ๘ นิ้ว เส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๑ นิ้ว หลอดค้นทำจากไม้ไผ่๙. หลักเฝีย ใช้ในการค้นฝ้าย ๑๐. โฮงมี่ ใช้สำหรับมัดหมี่ ขั้นตอนการทอผ้าไหม๑. การค้นเส้นยืน เป็นวิธีการเตรียมเส้นยืนในการทอผ้า โดยนำเส้นไหมที่ลอกกาว และย้อมสีแล้วมาทำการค้นเครือหูกหรือที่เรียกว่า การค้นเส้นยืน เริ่มต้นด้วยการนำเส้นไหมไปสวมเข้าในกงเพื่อทำการกรอเส้นไหมเข้าอัก จากนั้นทำการค้นเส้นยืนโดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า หลักเฝือ เดินเส้นยืนเพื่อจัดเรียงเส้นไหมตามความกว้างของผืนผ้าหรือขนาดฟืม นับจำนวนเส้นยืนโดยใช้ซี่ไม้มาคั่นเพื่อมิให้สับสน และป้องกันการผิดพลาดในการนับ ๒. การเตรียมฟืมทอผ้า ทำการค้นเส้นไหมในลักษณะเดียวกันกับเส้นยืน จากนั้นนำเส้นด้ายมาร้อยกับฟืมโดยการร้อยผ่านช่องฟันหวีแต่ละช่อง โดยแต่ละช่องจะมีเส้นไหมประมาณ ๒ เส้น และนำท่อนไม้ไผ่เล็กๆสอดเข้าในห่วงเส้นด้ายที่ร้อยเข้าช่องฟันหวีเพื่อทำการขึงเส้นด้ายให้ตึง และจัดเรียงเส้นด้ายให้เรียบร้อย ส่วนด้านหน้าของฟืมก็จะมีช่องไม้ไผ่เช่นเดียวกันกับด้านหลังเพื่อขึงเส้นด้ายให้ตึง จากนั้นทำการเก็บตะกอฟืมแบบ ๒ ตะกอ ซึ่งเรียบร้อยจะได้ชุดฟืมทอผ้าสำหรับการทอสำหรับการทอที่มีการทอต่อเนื่อง จะใช้วิธีการสืบเครือหูกจากฟืมที่มีการเก็บตะกอไว้แล้วจากการทอครั้งก่อน โดยนำเส้นไหมยืนมาผูกกับเส้นยืนเดิมจนครบทุกเส้น แล้วจัดเรียง และขึงให้ตึงก็พร้อมที่จะทอได้ก่อนการทอ ก็เหมือนกับการทอผ้าชนิดอื่นๆที่ต้องนำน้ำแป้งข้าวหรือน้ำแป้งมัน ชุบด้วยผ้า และทาให้ทั่วบนเส้นยืน แล้วปล่อยให้แห้ง หลังจากนั้นทาด้วยไขขี้ผึ้งทับอีกครั้งเพื่อให้เกิดความลื่นขณะทอ๓. การเตรียมเส้นพุ่งนำเส้นไหมที่ผ่านการย้อมสีแล้วมากรอเข้าหลอดด้ายสำหรับใส่กระสวยในการทอ๔. การทอผ้าไหม หลังจากการสืบหูกแล้ว สามารถเริ่มกระบวนการทอได้ โดยการเหยียบไม้เหยียบเพื่อยกเขาฟืมขึ้นลง แล้วพุ่งกระสวยสอดเข้าไปในช่องว่างระหว่างเส้นยืน ให้เส้นพุ่งพุ่งไปขัดกับเส้นยืน และใช้ฟืมดันให้เส้นพุ่งอัดเรียงกันแน่น แล้วใช้เท้าเหยียบไม้เหยียบให้ตะกอเส้นยืนสลับขึ้นลง และพุ่งกระสวยกลับไปกลับมาขัดกับเส้นยืน หลังจากที่พุ่งเส้นพุ่ง ไป มา และใช้ฟืมดันให้เส้นพุ่งแน่นหลายๆ ครั้ง ก็จะได้ผ้าทอเป็นผืน แล้วนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)ใช้การจดจำและการเล่าสู่กันฟังเป็นการสืบทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นหลังการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)ให้ประชาชน คนรุ่นหลังที่มีความสนใจ และองค์กรที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้พิกัด (สถานที่) ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐ชื่อผู้ศึกษา นางสาวณัฐพร ขันทะสีมา หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น ๔ รายวิชา ความเป็นครู (๘๐๐๕๒๐๑) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน วิทยาลัยเทคนิคนครขอนแก่นอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
คำอธิบาย :
คำสำคัญ : การทอผ้าและผ้าฝ้าย, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การทอผ้า, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การทอฝ้าย
คำสำคัญ :
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ลำดวน ลุนจันทา
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
ผู้แต่งร่วม :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ณัฐพร ขันทะสีมา
ผู้แต่งร่วม :  
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
ระดับชั้น :  
มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
ระดับชั้น :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
สาขาวิชาของสื่อ :   ศิลปะ, การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สาขาวิชาของสื่อ :  
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
ลักษณะของสื่อ :   ข้อมูลปฐมภูมิ, ใบงาน, รูปภาพ, VDO Clip
ลักษณะของสื่อ :  
{{setMessages['relation.media']}}
URL : -
URL :
:
ลำดวน ลุนจันทา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ณัฐพร ขันทะสีมา. (2561). การทอผ้าและผ้าฝ้าย, 26 มีนาคม 2562. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91054
ลำดวน ลุนจันทา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ณัฐพร ขันทะสีมา. (2561). "การทอผ้าและผ้าฝ้าย". https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91054. (26 มีนาคม 2562)
ลำดวน ลุนจันทา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ณัฐพร ขันทะสีมา. "การทอผ้าและผ้าฝ้าย". 26 มีนาคม 2562: https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91054.

ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง

รีวิว : การทอผ้าและผ้าฝ้าย

ไม่พบข้อมูลการรีวิว