วนัทวิรา ฉันทะจำรัสศิลป์

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  1,468
  1,055

-  File 1
ชื่อเรื่อง :  ไข่ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร
คำอธิบาย :  ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร เป็นไรน้ำนางฟ้า หรือแมงอ่อนช้อย ชนิดแรกที่ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2536 โดย ศาสตราจารย์ ดร.ละออศรี เสนาะเมือง พบตัวอย่างไรน้ำนางฟ้าเพศเมียก่อน หลังจากนั้นได้ทำการเก็บตัวอย่างเรื่อยมา กระทั่งปี พ.ศ. 2541 จึงได้ค้นพบไรน้ำนางฟ้าทั้งสองเพศที่โตเต็มที่ จากการตรวจสอบสัณฐานวิทยาโดยละเอียดพบว่าไรน้ำนางฟ้าดังกล่าวเป็นไรน้ำนางฟ้าชนิดใหม่ของโลก จึงได้นำความกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระราชานุญาติอัญเชิญ พระนามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Streptocephalus siridhorae และชื่อไทยว่า ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร โดยมีจำนวนการวางไข่เฉลี่ยราว 6,500 - 6,700 ฟองต่อแม่ไรน้ำนางฟ้าหนึ่งตัว โดยแม่ไรน้ำนางฟ้ามีจำนวนครั้งที่วางไข่เฉลี่ย 14 ครั้ง มีจำนวนไข่เฉลี่ย 460 ฟองต่อครั้ง และมีช่วงอายุเฉลี่ย 25 วัน นอกจากไข่ไรน้ำนางฟ้าสามารถเก็บได้ในสภาพแห้งได้เป็นเวลานาน ทั้งยังมีความสำคัญต่อ ห่วงโซ่อาหารของ สัตว์น้ำ โดยเป็นใช้เป็นอาหารของสัตว์น้ำวัยอ่อน ปลา ปู กุ้ง และแมลงน้ำต่างๆ ซึ่งเป็นอาหารที่สามารถกระตุ้นการสร้างสีในปลาสวยงามได้ดี
คำสำคัญ :   ไรน้ำนางฟ้าสิรินธร, ไรน้ำนางฟ้า, ไรน้ำ, Freshwater fairy shrimp, Freshwater fairy shrimp eggs, Fairy shrimp eggs, สัตว์น้ำจืด, Freshwater animals, สัตว์น้ำ, Aquatic animals, แมงอ่อนช้อย, Streptocephalus sirindhornae
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :   วนัทวิรา ฉันทะจำรัสศิลป์
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง
ระดับชั้น :   ปฐมวัย, ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
สาขาวิชาของสื่อ :   วิทยาศาสตร์, การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ลักษณะของสื่อ :   รูปภาพ
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล