ศรี อ้นไธสง
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
402 1,923
- File 1
- File 2
- File 3
- File 4
- File 5
- File 6
- File 7
- File 8
- File 9
- File 10
- File 11
ชื่อเรื่อง : การปั้นหม้อดินเผา |
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาท้องถิ่น หัตถกรรมพื้นบ้าน การปั้นหม้อดินเผาบ้านเลขที่ 4 หมู่ 5 บ้านวังถั่ว ต.วังชัย อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่นข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางศรี อ้นไธสง ที่อยู่ บ้านเลขที่ 4 หมู่ 5 บ้านวังถั่ว ต.วังชัย อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น อาชีพ หัตถกรรมพื้นบ้าน อายุการศึกษาภูมิปัญญา .....50.........ปี \ชื่อภูมิปัญญา หม้อดินเผาบ้านวังถั่วประวัติข้อมูลภูมิปัญญา คุณแม่ศรี อ้นไธสง เกิดวันที่ 3 พฤษภาคม 2504 เดิมคุณแม่เป็นคนขอนแก่นอยู่หมู่บ้านวังถั่วมาแต่กำเนิด คุณแม่ศรีเล่าสมัยก่อน ตั้งแต่คุณแม่ศรีเกิดมาก็เห็นหม้อดินเผาเลย สมัยเด็กบ้านทุกหลังในหมู่บ้านวังถั่วล้วนทำหัตถกรรมพื้นบ้านปั้นหม้อดินเผาทุกบ้าน จนมีคนเคยกล่าวไว้ว่า ใครปั้นหม้อดินไม่เป็นแสดงว่าไม่ใช่คนหมู่บ้านวังถั่ว คุณแม่ศรีจบการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ออกจากโรงเรียนมาปั้นหม้อดินเผาช่วยที่บ้าน จนถึงปัจจุบันราวๆ 50ปี คุณแม่ศรีเป็นรุ่น 3 คุณแม่ศรีเล่าว่าคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยาย ก็ทำหัตถกรรมปั้นหม้อดินเผาเช่นกัน คาดว่าน่าจะทำมานานกว่า 100 ปี จวบจนถึงปัจจุบันในหมู่บ้านวังถั่ว เหลือบ้านที่ยังทำหม้อดินเผาเพียง 2 หลังเท่านั้นคือ บ้านของอบต.เหลิมและบ้านคุณแม่ศรีกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี \การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)คุณแม่ศรีเริ่มทำหม้อดินเผาจริงจังเมื่อตนอายุเพียง 10ขวบ เดิมทีคุณพ่อคุณแม่คุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายทำหม้อดินเผาอยู่แล้ว คุณแม่ศรีจึงได้ทำหม้อดินเผาช่วยเหลืองานครอบครัวจวบจนเป็นอาชีพในปัจจุบัน เริ่มต้นเมื่อสมัยก่อนนั้นความเจริญยังไม่มีมากนัก ต้องเดินไปขุดดินบริเวณข้างแม่น้ำน้ำพอง ใส่รถเข็นมาไว้ที่บ้าน แล้วหมักดินไว้ 1 วันก่อนจะอัดก้อนเผื่อเก็บไว้ปั้นหม้อได้สะดวก แล้วค่อยๆนำดินที่อันก้อนแล้วมาปั้นขึ้นรูปด้วยมือจนได้เป็นรูปหม้อ ขั้นตอนต่อไปคือนำมาตากจนแห้งสนิท แล้วนำไปเผาด้วยเตาขนาดใหญ่ รวมเวลาเผา3วัน จึงได้ออกมาเป็นหม้อดินเผาพร้อมใช้งาน \การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)ทำการสำรวจข้อมูลที่หมู่บ้านวังถั่ว บ้านคุณแม่ศรี อ้นไธสง พร้อมถ่ายทำวีดีโอคุณแม่ศรีเล่าว่า เศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนาน คุณแม่ศรีก็ได้นำมาปรับใช้ในชีวิตคือการทำหม้อดินเผาของหมู่บ้านวังถั่วต่อไป การทำหม้อดินเผาเป็นมรดกทางวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านของชาวหมู่บ้านวังถั่ว คุณแม่ศรียืนยันจะสานต่อการทำหัตกรรมหม้อดินเผาต่อไปจนกว่าจะหมดลมหมายใจการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)คุณแม่ศรีได้เล่าประสบการณ์และให้ความรู้ในการทำหัตถกรรมและยังเปิดโอกาสให้เพื่อนบ้านข้างเคียงหรือผู้ที่มาสนใจได้เข้ามาใช้ประโยชน์และแลกเปลี่ยนความรู้ คุณแม่ศรียินดีและเต็มใจอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะมาข้อข้อมูลหรือศึกษาหาความรู้พร้อมถึงอธิบายวิธีการทำพร้อมสอนวิธีการปั้นหม้อดินเผาเผื่อผู้ที่มาสนใจ จะนำไปประกอบอาชีพอีกด้วยพิกัด (สถานที่)227/11 ซ.รอบเมือง15 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น 40000ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นายชวนิติกร นามอามาตย์ หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่นอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลยภาพการศึกษาหัตถกรรมพื้นบ้าน การปั้นหม้อดินเผา ขั้นต้องการปั้นหม้อดินเผา |
คำสำคัญ : หม้อ, การปั้นหม้อ, หม้อดินเผา, ขั้นตอนการปั้นหม้อดินเผา, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ศรี อ้นไธสง |
เจ้าของผลงานร่วม : ชวนิติกร นามอามาตย์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป |
ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย |
สาขาวิชาของสื่อ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ |
ลักษณะของสื่อ : ข้อมูลปฐมภูมิ , คลิปการเรียนรู้, รูปภาพ |
ผลงานทั้งหมด
1
ผู้เข้าชม
406
ดาวน์โหลด
1,923
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ | |
---|---|
การปั้นหม้อดินเผา | 402 |
ผลงาน 5 อันดับล่าสุด | |
---|---|
การปั้นหม้อดินเผา | 9 ตุลาคม 2567 |
ผลงานทั้งหมด | ||||
---|---|---|---|---|
# | ชื่อเรื่อง | ผู้เข้าชม | ดาวน์โหลด | # |
1 | การปั้นหม้อดินเผา | 402 | 1,923 |