ประภักดิ์ เพชรดี

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  224     1,724

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
-  File 7
-  File 8
-  File 9
-  File 10
-  File 11
-  File 12
ชื่อเรื่อง :  ยารากไม้ (ยางู)
คำอธิบาย :  ยารากไม้ (ยางู)\บ้านเชียงเพ็ง ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี\ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นายประภักดิ์ เพชรดี \ที่อยู่ 252 หมู่ 3 ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี \อาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา .......40......ปี \\ชื่อภูมิปัญญา ยารากไม้ (ยางู)\ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \ประวัติบ้านเชียงเพ็ง\ สภาพพื้นที่ของหมู่บ้านเชียงเพ็งนั้น เดิมทีเป็นป่ายางใหญ่และป่าไผ่ไร่หนามาก ปัจจุบันแยกหมู่บ้านตั้งชื่อเป็นบ้านยางชุมอีกชื่อหนึ่ง ในอดีตกาลบ้านเชียงเพ็งเคยถูกไฟป่าไหม้หมู่บ้านมาทั้งหมด 2 ครั้ง ครั้งล่าสุดคือ เมื่อปีพ.ศ. 2436 ชาวบ้านเชียงเพ็งได้กระจายไปตั้งหมู่บ้านใหม่ที่ใกล้เคียงกัน เช่น บ้านโนนทอง บ้านโพธิ์เหนือ เป็นต้น ด้วยความหนาแน่นของไม้ยางป่าในอดีต จึงได้ตั้งชื่อ วัดประจำหมู่บ้านว่า วัดธาตุยางชุม ซึ่งมีพระธาตุคอยปกปักรักษาลูกหลานในหมู่บ้านทุกคนเป็นเรื่อยมา\\ประวัติยารากไม้ (บ้านเชียงเพ็ง)\ ยารากไม้(ยางู) ได้มาจากหมอประจำหมูบ้านที่มีชื่อว่า “หมอเภา” เป็นหมอสัญจรที่มารักษาคนไข้ภายในหมู่บ้าน หมอเภามาเป็นเพื่อนกับบรรพบุรุษ จึงได้มอบสูตรยารากไม้ไว้กับบรรพบุรุษ ซึ่งเราเรียกว่า ยารากไม้, ยางู, ยาฤาษีสมแล้ว, ยาฤาษีสมเสร็จ, ยางูนี้สามารถรักษาได้ทั้งพิษของงู พิษของสัตว์ต่างๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง และพิษของแสลงได้\\ \\ภาพยารากไม้\ผู้ต่อยอดภูมิปัญญา\ คุณพ่อประภักดิ์ เพชรดี อายุ 64 ปี บ้านเลขที่ 252 หมู่ 3 บ้านเชียงเพ็ง ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอกุดจับจังหวัดอุดรธานี ได้เริ่มศึกษาภูมิปัญญาด้านยารากไม้ตั้งแต่อายุ 18 ปี เมื่อประมาณปีพ.ศ. 2514 โดยเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2516 คุณพ่อประภักดิ์และคุณปู่สังข์ได้ทำการรักษาผู้ป่วยที่ถูกงูกัด งูชนิดนั้นคือ งูกัดปะ ถูกกัดที่ข้อมือ ผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาล แต่แพทย์ไม่สามารถรักษาได้จึงสั่งให้ผู้ป่วยกลับไปรักษาตัวที่บ้าน คุณพ่อประภักดิ์และคุณปู่สังข์สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยคนนั้นได้ด้วยยารากไม้ หลังจากนั้นคุณพ่อประภักดิ์ก็ได้สืบทอดการรักษาผู้ป่วยต่อมาจนถึงปัจจุบัน\\กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\ยารากไม้ (ยางู)\ใช้รากไม้ทั้งหมด 2 ราก จากพืชชนิดไม้พุ่ม โดยจะเป็นรากไม้ที่มีชนิดเดียวกัน จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่\1. เพศผู้ จะมีดอกเป็นสีขาวม่วง ช่อดอกใหญ่ ใบหนา และใบหยัก\\\\ \\ภาพต้นของยารากไม้เพศผู้\\\2. เพศเมีย จะมีดอกเป็นสีขาว ช่อมีขนาดเล็ก ใบหนา แต่ใบจะหยักน้อยกว่าเพศผู้\\\ \\ภาพของยารากไม้เพศเมีย\การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\วิธีใช้ยา\จะใช้พร้อมกันทั้งสองรากด้วยวิธีฝน\1. ยาทา\ นำยาทั้งสองรากมาฝนพร้อมกัน และบีบมะนาวเพื่อเป็นตัวกระสายยา\ \\ภาพอุปกรณ์ในการใช้ยา\2. ยากิน\ นำยาทั้งสองรากมาฝนพร้อมกัน ผสมกับน้ำดื่มและสามารถดื่มได้เลย\หากดื่มยาแล้วมีรสหวานแสดงว่าร่างกายมีพิษ แต่หากดื่มแล้วมีรสขมแสดงว่าในร่างกายมีพิษน้อยหรืออาจจะไม่มีพิษเลย\\การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\ ความรู้ที่ได้มาจาก การจดจำ ประสบการณ์ และการสืบทอดจากบรรพบุรุษตกทอดมายังคุณพ่อประภักดิ์ เพชรดี\\การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\ เมื่อชาวบ้านถูกสัตว์ที่มีพิษกัดต่อย จะมาขอยารากไม้(ยางู)ที่บ้านของคุณพ่อประภักดิ์ เพชรดี เพื่อขอยารากไม้ไปฝนเองที่บ้าน โดยคุณพ่อประภักดิ์จะบอกวิธีฝน วิธีทา และวิธีดื่มยาให้แก่ชาวบ้านแต่ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะให้คุณพ่อประภักดิ์ฝนยาและผสมยาให้ ทุกครั้งที่มีชาวบ้านมารับการรักษาคุณพ่อประภักดิ์จะไม่คิดค่ารักษาจากชาวบ้าน เพราะถือว่าชาวบ้านทุกคนคือพี่น้องกัน\\ \ภาพการฝนยารากไม้\\พิกัด (สถานที่)\\\\\\\\\\\\\\\ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\ชื่อผู้ศึกษา นางสาวสุกัญญา เพชรดี \\\\\\\\\\\หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \รายวิชา ความเป็นครู (8005201) \เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \คณะ ศึกษาศาสตร์ \สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านเชียงเพ็ง\อาจารย์ผู้สอน\1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
คำสำคัญ :   ยารากไม้, ยางู, สมุนไพร, ภูมิปัญญาไทย, ภูมิปัญญาอีสาน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :   ประภักดิ์ เพชรดี
เจ้าของผลงานร่วม :   สุกัญญา เพชรดี, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ระดับชั้น :   มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
สาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ลักษณะของสื่อ :   ข้อมูลปฐมภูมิ , ใบงาน, รูปภาพ, VDO Clip
ผลงานทั้งหมด
1
ผู้เข้าชม
225
ดาวน์โหลด
1,724
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
ยารากไม้ (ยางู) 224

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
ยารากไม้ (ยางู) 26 มีนาคม 2562
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล
ผลงานทั้งหมด   
#    ชื่อเรื่อง    ผู้เข้าชม    ดาวน์โหลด #
1 ยารากไม้ (ยางู) 224 1,724