ศิริวรรณ คำจู

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  326     1,586

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
-  File 7
-  File 8
-  File 9
-  File 10
-  File 11
-  File 12
-  File 13
ชื่อเรื่อง :  การทอผ้าพันคอแพรวา
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าพันคอแพรวา บ้านทรายมูล อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู\ \ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญาชื่อเจ้าของภูมิปัญญา : นางแดง วงษาธรรม อายุ 54 ปีที่อยู่ : บ้านเลขที่ 208 หมู่ 10 ตำบลทรายทอง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภูอาชีพ : ทำนา อายุการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น : 10 ปี\ชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่น : ผ้าพันคอแพรวาข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นประวัติหมู่บ้าน ( ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม ) 1) สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากรประมา 3,500 คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ วัด แม่น้ำพอง สวนป่า คลองชลประทาน อาชีพหลักของชุมชน คือ ทำนาและทำประมง ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ประเพณีบุญบั้งไฟ 2) ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับ ป. 4 อาชีพหลัก คือ ทำนา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี 20,000 บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 4 คนต่อครอบครัว 3) โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียนนักเรียนอยู่ในชุมชนขนาดใหญ่ในชุมชนมีแหล่งเรียนรู้หลายแห่ง เช่น วัดศรีสะอาด วัดใหม่ทรายทอง และชุมชนสนับสนุนด้านคุณธรรมจริยธรรมมีการจัดค่ายคุณธรรมในวันสำคัญทางศาสนา ทำให้นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและรักการทำงานและมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต แต่ควรได้รับการพัฒนาด้านทักษะ การคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณและการไตร่ตรอง และขาดแคลนครูในสาขาวิชาภาษาต่างประเทศไม่เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน\ประวัติการทำผ้าพันคอแพรวาการทอผ้าการทอผ้านั้นต้องอาศัยฝีมือและความรู้ความชำนาญของผู้ทอเป็นอย่างมาก เป็นงานศิลปะที่มีอยู่เพียงชิ้นเดียวในโลก เพราะแต่ละคนที่ทำแต่ละขั้นตอน จะมีความแตกต่างกัน เส้นไหมที่สาวได้แต่ละช่วงเวลาหรือแต่ละระยะของฝักไหมให้ความหนาของเส้นไม่เท่ากัน สีไม่เหมือนกัน นอกจากนั้นแล้วความสามารถในการทอ การสอดกระสวย ความแรงในการตีกระทบหรือการฟัดทำให้ได้สีเข้มอ่อนต่างกัน การเรียงเส้นไหมให้ตรงลายจะแสดงถึงความคมชัดและความชำนาญของผู้ทอแต่ละคน อากาศ อุณหภูมิ หรือแม้แต่อารมณ์ความรู้สึกของผู้ทอ สิ่งเหล่านี้มีผลกับความสวยงามของผ้าผืนนั้น ๆ จึงทำให้ผ้าทอมือแต่ละผืนที่ทอ มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองและมีเพียงผืนเดียวในโลกเท่านั้นหลักใหญ่ของการทอผ้าก็คือ การนำเส้นฝ้ายหรือไหมมาขัดกันให้เป็นลาย โดยขึงเส้นกลุ่มหนึ่งเป็นหลัก เรียกว่า เส้นยืน\ แล้วใช้อีกเส้นหนึ่ง เรียกว่าเส้นพุ่ง สอดตามขวางของเส้นยืน เมื่อสานขัดกันก็จะเกิดลวดลายต่างๆผ้าบางชนิด ผู้ทอจะคิดหาวิธีสอดด้ายและสอดสีสลับกัน บางวิธีก็จะจับผูกและมัดเน้นเป็นช่วงๆ หรืออาจจะยกด้ายที่ทอเป็นระยะๆ ทำให้เกิดลวดลายสวยงาม\ผู้ทอต้องสามารถจดจำลวดลายที่ตนคิดประดิษฐ์ได้ ถึงแม้แต่ละลวดลายจะมีความซับซ้อนและหลากหลาย แต่เขาก็สามารถนำมาประสานกันได้อย่างเหมาะเจาะ งดงามแสดงถึงภูมิปัญญาและความสามารถของชาวชนบทเป็นอย่างดี\การถ่ายทอดภูมิปัญญาการทำผ้าพันคอแพรวาคุณป้าแดง วงษาธรรม อายุ 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 208 หมู่ 10 ตำบลทรายทอง อำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ประกอบอาชีพ ทำนา และเริ่มศึกษาการทำผ้าพันคอแพรวาตั้งแต่อายุ 40 ปี ซึ่งเป็นการเรียนรู้ต่อจากคุณยาย นอกจากนี้คุณป้าแดงยังทำงานด้านหัตถกรรมอีกหลายชนิด เช่น สานกระติ๊บข้าว ทอเสื้อ และทอผ้าห่ม ทอผ้าขาวม้า เป็นต้น คุณป้าแดงทำทั้งจำหน่ายและใช้ภายในครัวเรือน นอกจากนี้คุณป้ายังทำเผื่อญาติพี่น้องอีกด้วย สิ่งที่คุณป้าแดงมีความภูมิใจที่สุด คือ การได้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทอผ้าแพรวา ที่เป็นของบรรพบุรุษตกทอดของคนในครอบครัวและคนในชุมชน ซึ่งปัจจุบันพบว่าหาดูได้ยากมาก ราคาผ้าพันคอปัจจุบันคุณป้าแดงจำหน่ายในราคาผืนละ 150 บาท \อุปกรณ์ในการทอผ้าพันคอแพรวา1.โครงหูกหรือโครงกี่ ประกอบด้วยเสา 4 ต้น มีรางหูกหรือรางกี่ 4 ด้าน ทั้งด้านบนและด้านล่าง เสาแต่ละด้ายมีไม้ยึดติดกันเป็นแบบดั้งเดิมที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน2.ฟืม หรือ ฟันหวี มีฟันเป็นซี่ คล้ายหวี ใช้สำหรับสอดเส้นไหมยืนเพื่อจัดเส้นไหมให้อยู่ห่างกัน และใช้กระทบไหมเส้นพุ่งให้สานขัดกับไหมเส้นยืนที่อัดแน่นเป็นเนื้อผ้า ฟันฟืมอาจจะทำด้วยไม้ หรือเหล็ก หรือสแตนเลสก็ได้ มีหลายขนาด ขึ้นกับว่าผู้ใช้จะต้องการผ้ากว้างขนาดเท่าใด เช่น ฟืมอาจมี 35-50 หลบ หรือมากกว่านี้ แต่ละหลบมี 40 ช่องฟัน แต่ละช่องจะสอดเส้นไหมยืน 2 เส้น ดังนั้นการทอผ้าครั้งหนึ่ง ๆ อาจจะใช้เส้นไหมยืนประมาณ 2800-4000 เส้น ชาวบ้านสมพรรัตน์จะนิยมใช้ฟืม 50 หรือ 603.เขาหูก หรือตะกอ คือ เชือกทำด้วยด้ายไนลอนที่ร้อยคล้องไหมยืน เพื่อแบ่งเส้นไหมเป็นหมวดหมู่ตามที่ต้องการเมื่อยกเขาหูกหรือตะกอขึ้น ก็จะดึงเส้นไหมยืนเปิดเป็นช่อง สามารถพุ่งกระสวยเข้าไปให้เส้นไหมพุ่งสานขัดกับเส้นไหมยืนได้ เวลาสอดเส้นไหมยืนต้องสอดสลับกันไปเส้นหนึ่งเว้นเส้นหนึ่ง และมีเชือกผูกเขาหูกแขวนไว้กับโครงกี่ด้านบนสามารถเลื่อนไปมาได้ ส่วนด้านล่างผูกเชือกติดกับคานเหยียบ เมื่อต้องการดึงแยกเส้นไหมให้เป็นช่องจะใช้เท้าเหยียบที่คานเหยียบทำให้เขาหูกเลื่อนขึ้น-ลง เกิดเป็นช่องสำหรับใส่เส้นไหมพุ่ง หากต้องการทอผ้าเป็นลวดลายที่งดงาม จะต้องใช้ตะกอและคานเหยียบจำนวนหลายอัน วิธีการเก็บตะกอหรือเก็บเขาจะแตกต่างกันไปตามลักษณะของผ้าและลวดลายของผ้าที่จะทำ การทอผ้าของชาวบ้านสมพรรัตน์ส่วนใหญ่จะใช้แบบ 2 ตะกอ4.กระสวย ใช้บรรจุหลอดเส้นไหมพุ่ง มีหลายแบบ อาจจะทำจากไม้ไผ่ ไม้เนื้อแข็ง หรือพลาสติกให้มีน้ำหนักพอประมาณจะได้ไม่พลิกเวลาพุ่งกระสวย มีความลื่นและไม่มีเสี้ยน ขนาดกว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร เจาะรูตรงกลาง ทำปลายทั้งสองด้านให้งอนเล็กน้อย เพื่อให้ลอดผ่านเส้นไหมยืนได้ง่ายขึ้น5.ไม้หน้าหูก คือ ไม้ที่อยู่ส่วนหน้าสุดของหูก สำหรับผูกขึงลูกตุ้งทำด้วยไม้ไผ่ทั้งลำ6.ไม้รางหูก คือ ไม้ที่พาดขวางโครงหูก ส่วนบนทำด้วยไม้ไผ่ทั้งลำมี 3-4 ท่อน ใช้สำหรับผูกแขวนลูกตุ้ง ไม้ข้างเขา และฟืม7.กระดานม้วนหูก เป็นไม้กระดานที่ใช้สำหรับม้วนปลายด้านหนึ่งของเส้นไหมยืน ซึ่งม้วนเก็บและจัดเส้นยืนให้เป็นระเบียบ นอกจากนี้ยังช่วยให้เส้นไหมในหูกตึง โดยที่ปลายอีกด้านหนึงผูกติดหรืิือพันไว้กับม้วนผ้า8.ลูกตุ้ง คือไม้ที่สอดค้างกระดานม้วนหูก มี 2 ลูก ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ส่วนหัวของลูกตุ้งเจ้าสำหรับแขวนไว้กับรางหูกและต้องผูกยึดติดลูกตุ้งไว้กับไม้หน้าหูก เพื่อไม่ให้ไม้ลูกตุ้งแกว่งไปมา9.ไม้ค้างเขาหรือไม้ค้างตะกอ เป็นไม้ 2 อันสำหรับแขวนเขาหูกหรือตะกอ ส่วนปลายทั้งสองด้าน จะเจาะรูผูกเชือกแขวนไว้กับไม้ที่พาดขวางรางหูก10.คานแขวน เป็นไม้หาบหูก โดยสอดกับเชือกที่ผูกกับเขาด้านบน เพื่อให้หูกยึดติดกับกี่ โดยไม้หาบหูกจะมีอันเดียวไม่ว่าจะใช้ฟืมที่มีเขา 2 เขา 3 เขา หรือ 4 เขา11.ตีนฟืม หรือตีนเหยียบ หรือคานเหยียบ คือ ไม้ 2-4 อัน ขึ้นกับจำนวนเขาหรือตะกอ โดยตีนเหยียบนี้จะผูกเชือกเชื่อมโยงกับเขาหูก เพื่อใช้สำหรับเหยียบดึงเขาหูก 2-4 ตับ ให้รั้งเส้นไหมยืนขึ้นหรือลงสลับกันและเปิดช่องว่างให้กระสวยพุ่งผ่าน ตีนฟืมจะมีลักษณะกลม ยาวประมาณ 1.5-2 เมตร และจะวางขวางกับโครงหูก12.ไม้ม้วนผ้า หรือไม้พันผ้า หรือไม้ค้ำพัน คือ ไม้ที่ใช้ผูกปลายด้านหนึ่งของไหมยืน ซึ่งสอดผ่านฟันหวีแล้วใช้ผ้าไหมที่ทอเป็นเนื้อผ้าแล้ว โดยส่วใหญ่ไม้ม้วนผ้าทำด้วยไม้เหลี่ยมยาวประมาณ 120-180 เซนติเมตร13.บ่ากี่ คือไม้ที่ใช้รองรับส่วนปลายสองด้านของไม้ม้วนผ้ามี 2 หลัก แต่ละหลักมีระยะห่างกันตามความกว้างของหูก14.ไม้นั่ง เป็นไม้กระดานที่ใช้สำหรับนั่งทอผ้า ความยาวของไม้นั่งเท่ากับความกว้างของโครงหูก15.ผัง เป็นไม้ที่ใช้ขึงไว้ตามความกว้างของริมผ้าที่ทอ เพื่อให้หน้าผ้าตึงพอดีกับฟืม ปลายทั้งสองของผังอาจเหลาแหลมเป็น 2 แฉกหรือเป็นทองเหลืองที่มี 2 แฉกสวมทั้งสองข้าง\\\\\ขั้นตอนการทอผ้าพันคอแพรวาหลักการทำงานของกี่ทอผ้านวลแข ปาลิวนิช ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการทำงานของกี่ทอผ้าไว้ ดังนี้1.ทำให้เกิดช่องว่าง (sheddig) โดยสับตะกอยกแล้วแยกไหมเส้นยืนออกเป็น 2 หมู่ โดยหมู่หนึ่งขึ้นและหมู่หนึ่งลงเพื่อให้เกิดช่องว่างให้สอดเส้นไหมพุ่งผ่าน2.การสอดไหมเส้นพุ่ง (pickig) จะใช้กระสวยส่งไหมเส้นพุ่ง สอดไหมเส้นพุ่งให้พุ่งผ่านช่องว่างที่เปิดเตรียมไว้3.การกระทบไหมเส้นพุ่ง (batterig) เมื่อสอดไหมเส้นพุ่งผ่านแล้วจะต้องใช้ตัวฟืมกระทบไหมเส้นพุ่งให้เรียงสานขัดกับไหมเส้นยืนชิดติดกันแน่นเป็นเนื้อผ้า4.การเก็บและม้วนผ้าเก็บ (takig up ad lettig of) เมื่อทอผ้าได้จำนวนหนึ่งแล้วจะต้องมีการม้วนผ้าเก็บเข้าแกนม้วน โดยจะต้องมีการปรับไหมเส้นยืนให้หย่อนก่อนจึงม้วนผ้าเก็บ\ขั้นตอนการทอผ้าคือ การเอาเส้นไหมมากกว่า 2 เส้นขึ้นไปมาขัดสลับกัน ซึ่งมีวิธีการทอเป็นขั้น ๆ ดังนี้1.เมื่อเตรียมไหมเส้นพุ่งและไส้หูกเรียบร้อยแล้ว นำเอาเส้นหูกอันใหม่สืบต่อกับไส้หูกที่ค้างอยู่ในเขาหูกและร่องฟันฟืมเดิม กางกี่หรือหูกให้เรียบร้อย2.เอาหลอดไหมเข้าร่องกระสวย ร้อยไหมจากหลอดผ่านรูเล็ก ๆ ข้างกระสวย หากเส้นไหมหมดจากหลอดแรก ต้องเอาหลอดที่ 2,3... ตามลำดับหลอดที่ร้อยไว้ บรรจุเข้ากระสวยและทอตามลำดับ3.คล้องเชือกจากเขาหูกอันหนึ่งเข้ากับไม้คันเหยียบข้างใดข้างหนึ่งและคล้องเชือกเขาหูกที่เหลืออีกอันเข้ากับไม้คันเหยียบอีกอัน เมื่อเหยียบไม้คันเหยียบข้างหนึ่ง ไส้หูกกางออกเป็นช่องเนื่องจากการดึงของเขาหูก พุ่งกระสวยผ่านช่องว่างนั้น แล้วดึงฟึมกระทบเส้นฝ้ายที่ออกมาจากกระสวยเข้าไปเก็บไว้ เหยียบไม้คันเหยียบอีกอัน พุ่งกระสวยผ่านช่องว่าง กลับมาทางเดิม ดึงฟืมกระทบเส้นฝ้ายเข้าเก็บ เหยียบไม้คันเหยียบอีกอัน พุ่งกระสวย ดึงฟืมกระทบ เหยียบไม้คันเหยียบ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ จนได้ผืนผ้าเกิดขึ้นยากมากแล้ว จึงพันผืนผ้าไว้ด้วยไม้กำพั้นปัญหาในการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปะผ้าไทยมีอะไรบ้างศิลปะผ้าทอไทยอันมีประวัติยาวนานและมีความมั่งคั่งหลากหลาย ซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณจนทุกวันนี้ ตกอยู่ในมือของคนรุ่นเราและรุ่นหลังจะรักษาต่อไป หน่วยงานหลาย ๆ หน่วยงานทั้งของรัฐบาลและเอกชนต่างก็ช่วยกันดำเนินการรับสนองพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในเรื่องการศึกษา ส่งเสริมและพัฒนาศิลปะผ้าทอของไทย อย่างไรก็ตามเท่าที่ได้มีการศึกษา สำรวจปัญหาต่าง ๆ พบว่ายังมีปัญหาในการส่งเสริมและพัฒนาศิลปะการทอผ้าไทยอยู่ดังนี้\๑. ศิลปหัตถกรรมในหลาย ๆ ท้องถิ่นยังถูกละเลย การผลิตศิลปหัตถกรรมกระจัดกระจายอยู่ทั่วไปไม่มีแหล่งรวมในบางท้องถิ่น๒. ขาดการกระตุ้นหรือประกวดให้ผลิตผลงานที่มีคุณภาพมาก ๆ ขึ้น๓. ผู้มีฝีมือเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอย่างอื่น๔. ไม่รักษาคุณภาพให้สม่ำเสมอ เมื่อผ้าทอมือขายดีจะผลิตผ้าที่ด้อยฝีมือมาขายแทน ช่างทอก็มีคุณภาพด้อยลง และมีจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ๕. ช่างฝีมือคุณภาพดีมักทำงานได้ช้าขายยาก เพราะต้องขายราคาแพงให้คุ้มกับเวลา หมดกำลังใจ ขาดการส่งเสริม ช่างทอฝีมือดี หลายคนยังไม่มีคนรู้จักและเห็นคุณค่า๖. ช่างฝีมือขาดการแข่งขันทางความคิด๗. การถ่ายทอดทำกันในวงจำกัด ขาดตัวผู้สืบทอดอย่างจริงจังและกว้างขวางสรุปการทอผ้าเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง ที่คนไทยรุ่นปัจจุบันต้องช่วยกันอนุรักษ์ไว้ในสมัยก่อน ผู้หญิงไทยจะทำเครื่องใช้ต่างๆ ในบ้านเอง งานสำคัญอย่างหนึ่งคือการทำเสื้อผ้า ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ไว้ใช้กันในครอบครัว ในพิธีกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการเกิด การบวช การแต่งงาน การตาย ก็ต้องใช้ผ้า ผ้าทอจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตคนไทย\\\\\\\\\\ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\ \ชื่อผู้ศึกษา : นางสาวศิริวรรณ คำจูหลักสูตร : ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูรายวิชา : ความเป็นครูคณะ : ศึกษาศาสตร์สถานที่ศึกษา : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน : โรงเรียนบ้านทรายมูล\\\\ \ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องการทอผ้าพันคอแพรวาวิชาความเป็นครู\เสนออาจารย์บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\จัดทำโดยนางสาวศิริวรรณ คำจูรหัส 6080110119 เลขที่ 29กลุ่มเรียนที่ 4 รุ่นที่ 4\\หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ :   การทอผ้าพันคอแพรวา, ผ้าไหมแพรวา, ผ้าพันคอ, ผ้าแพรวา, ภูมิปัญญาไทย, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาอีสาน, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :   แดง วงษาธรรม
เจ้าของผลงานร่วม :   ศิริวรรณ คำจู, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ระดับชั้น :   ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
สาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ
ลักษณะของสื่อ :   ข้อมูลปฐมภูมิ , ใบงาน, รูปภาพ, VDO Clip
ผลงานทั้งหมด
1
ผู้เข้าชม
328
ดาวน์โหลด
1,586
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
การทอผ้าพันคอแพรวา 326

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
การทอผ้าพันคอแพรวา 26 มีนาคม 2562
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล
ผลงานทั้งหมด   
#    ชื่อเรื่อง    ผู้เข้าชม    ดาวน์โหลด #
1 การทอผ้าพันคอแพรวา 326 1,586