ธนดล ศรีชัยปัญญา
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
ชื่อเรื่อง : หมอสูตรสู่ขวัญ |
คำอธิบาย : หมอสูตรสู่ขวัญบ้านยางน้อย ตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคามข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นายทองด้วง สีมาลาโคตร ที่อยู่ บ้านเลขที่71 หมู่ที่1บ้านยางน้อย ตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44140 อาชีพ พิธีกร,โฆษก,หมอสูตรหรือพ่อพราหมณ์ อายุการศึกษาภูมิปัญญา 47ปี \ชื่อภูมิปัญญา หมอสูตรสู่ขวัญประวัติข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติความเป็นมาบ้านยางน้อยบ้านยางน้อยตั้งขึ้นประมาณ พ.ศ. 2410 บุคคลที่มาตั้งครั้งแรกได้แก่ครอบครัวของ นายมหาราช นายสีหาบัณฑิต นายพระศรี และครอบครัวอื่นๆ ประมาณ 10 ครอบครัว บุคคลเหล่านี้อพยพมาจากอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด โดยอพยพครอบครัวมาตั้งอยู่ที่บ้านเขื่อนก่อน จึงอพยพมาตั้งที่บ้านยางน้อยทีละหลัง ในสมัยนั้นบ้านยางน้อยขึ้นอยู่กับตำบลเขื่อน อำเภอท่าขอนยาง(บ้านท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย) จังหวัดกาฬสินธุ์ ประมาณ พ.ศ. 2450 มีการแบ่งเขตการปกครองใหม่ ได้โอนตำบลเขื่อนไปขึ้นกับอำเภอกันทรวิชัยจังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ประมาณ พ.ศ. 2456 จึงโอนตำบลเขื่อนมาขึ้นกับอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ในปี พ.ศ. 2496 แยกตำบลเขื่อนออกเป็น 2 ตำบล โดยแยกที่บ้านยางน้อยอีกตำบลหนึ่ง ชื่อตำบลยางน้อย ปี พ.ศ. 2517 ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ได้แยกตำบลขึ้นมาใหม่ชื่อตำบลแห่ใต้ ที่ตั้งชื่อว่าตำบลยางน้อย เพราะว่ามีต้นยางขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก\กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)ประวัติความเชื่อในพิธีการทำบายศรีสู่ขวัญเชื่อว่าเป็นการส่งเสริมพลังใจให้เข้มแข็ง มีสติและไม่ประมาท เป็นการขับไล่สิ่งที่ไม่ดีออกจากตัวเสริมสิริมงคล ประเพณีสู่ขวัญทำกันแทบทุกโอกาส ทั้งในมูลเหตุแห่งความดีและไม่ดี ชาวอีสานถือว่าเป็นประเพณีเรียกขวัญ ให้มาอยู่กับตัว พิธีสู่ขวัญนี้เป็นได้ทั้งการแสดงความชื่นชมยินดี และเป็นการปลอบใจให้เจ้าของขวัญจากคณะ ญาติมิตรและบุคคลทั่วไป ผู้ได้ดีมีโชคหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือมาเยี่ยมเราก็มีความยินดีเกิดความปิติดีใจเป็นกำลังใจแก่เจ้าของพิธี (ธนดล ศรีชัยปัญญา, ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖0 :สัมภาษณ์ )\การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)ผู้ต่อยอดภูมิปัญญาการบายศรีสู่ขวัญ บ้านยางน้อยคุณตาทองด้วง สีมาลาโคตร ประวัติความเป็นมา คุณตาด้วงเล่าว่าแต่ก่อนสมัยที่คุณอายุได้40ปี คุณมีเครื่องกระจายเสียงเป็นโฆษกอยู่แล้วสมัยไม่มีคนมีเครื่องกระจายมากนักมีแต่คุณตาคนเดียวก็ประกอบอาชีพเป็นโฆษกตามงานต่างๆ มีมาวันหมอพราหมณ์ ที่ทำหน้าเกิดป่วย ผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านยางน้อย *(ผู้เฒ่าผู้แก่ท่านย้ายมาจากอุบล มาตั้งบ้านยางน้อย ตั้งแต่คุณตาครูสอน คุณตาครูมาลี คุณตาเพ็ง คุณตาโทน ท่านมาฝึกสอนให้ตั้งแต่สมัยโบราณตาได้อายุ40ปี ทุกวันนี้น่าจะได้ทำอาชีพบายศรีสู่ขวัญมาแล้ว)* จึงบอกให้คุณตาด้วง ทำไมไม่มาเรียนเป็นการบายศรีสู่ขวัญ ลองดู เพราะเป็นคนที่พูดเก่งอยู่แล้ว เคยบวชเรียนมาแล้ว คุณตาด้วง บอกว่าคนที่จะเรียนการบายศรีสู่ขวัญได้ จะได้เคยบวชมาก่อน นับแต่ได้นั้นมาคุณตาก็ได้เรียนการบายศรีสู่ขวัญจากอาจารย์เฒ่า และพระอาจารย์ วัดศรีชุมพรบ้านยางน้อยตำบล อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และได้ประกอบอาชีพเป็นโฆษกตามงานพิธีต่างๆ (ธนดล ศรีชัยปัญญา, ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖0 :สัมภาษณ์ )\การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\ขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรม \ก่อนที่จะเริ่มพิธีการได้นั้นเจ้าของขวัญหรือเจ้าภาพนั้นจะต้องไปติดต่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดงานและขอวันเวลาที่จะจัดกับหมอสูตรหรือพ่อพราหมณ์ ซึ่งเมื่อได้วันเวลาที่เป็นมงคลแล้ว เจ้าภาพก็จะไปดำเนินการ “บอกบุญ” ให้แก่ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน และคนที่เคารพนับถือ จากนั้นก็จะมีการเตรียมสถานที่ พานบายศรี เครื่องเซ่น และฝ้ายผูกแขน เมื่อถึงวันที่จะจัดพิธีเจ้าของขวัญก็จะต้องไปเชิญพ่อพราหมณ์มาเพื่อที่จะประกอบพิธี ก็ถือว่าทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมแล้ว พิธีการก็จะเริ่มขึ้น ดังนี้ขั้นตอนที่1. พ่อพราหมณ์จะจัดให้เจ้าของขวัญนั่งหันหน้าตามทิศที่เหมาะสม(เจ้าภาพ เกิด วันอาทิตย์วันศุกร์ให้หั่นหน้าไปทางทิศตะวันออก เกิดวันจันทร์วันเสาร์ ให้หั่นหน้าไปทางทิศตะวันตก เกิดวันอังคารวันพุธ ให้หั่นหน้าไปทางทิศใต้ เกิดวันพฤหัสบดี ให้หั่นหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นทิศเสริมดวง เป็นทิศที่ไม่มีเคราะห์) เพื่อเป็นสิริมงคล โดยพ่อพราหมณ์จะนั่งจะนั่งตรงข้ามกับเจ้าของขวัญ ส่วนพ่อแม่จะนั่งทางทิศเหนือของเจ้าของขวัญ และญาติพี่น้องและผู้ร่วมงานจะนั่งล้อมรอบ โดยมีพานบายศรี เครื่องเซ่น พ่อพราหมณ์และเจ้าของขวัญจะนั่งอยู่ตรงกลางขั้นตอนที่2. เจ้าของขวัญจะผูกฝ้ายผูกแขนที่เตรียมไว้ให้แก่พราหมณ์ เพื่อเป็นการบูชาครู โดยฝ้ายที่ใช้ผูกนั้นก็จะมีการมัดธนบัตรเป็นค่าบูชาพราหมณ์ จะจำนวนมากจำนวนน้อยก็แล้วแต่เจ้าของขวัญจะเห็นสมควรขั้นตอนที่3. เมื่อผูกฝ้ายเสร็จแล้ว พ่อพราหมณ์ก็จะคลี่ฝ้ายที่เตรียมไว้ที่พานบายศรี แล้วดึงฝ้ายให้โอบล้อมผู้คนในพิธีทั้งหมดขั้นตอนที่4. จากนั้นเจ้าของขวัญก็จะยกมือไหว้พ่อพราหมณ์ แล้วใช้มือขวาจับพานบายศรีและตั้งจิตอธิษฐานขอให้เทวดาบันดาลให้เป็นไปตามที่พ่อพราหมณ์ พ่อแม่ ญาติพี่น้อง และผู้ร่วมงานก็จะจับฝ้ายแล้วอธิษฐานให้เจ้าของขวัญเช่นกันขั้นตอนที่5. พ่อพราหมณ์ก็จะเริ่มจุดธูปเทียนปักลงในพานบายศรี ยกขัน 5 ขึ้น แล้วกล่าวว่า “นโม...” 3 จบ และกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยต่อขั้นตอนที่6. จากนั้นพ่อพราหมณ์ก็จะทำการป่าวเทวดา (ชุมนุมเทวดา) ซึ่งเป็นการกล่าวคำอัญเชิญเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างร่วมลงมา (สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตราคัจฉันตุ เทวะตา สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง สัคเค กาเม จะ รูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน ทีเปรัฏเฐ จะ คาเมตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเมยักขะคันธัพพะนาคา ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระจะนัง สาธะโว เม สุณันตุ ฯ ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนะกะโล อะยัมภะทันตา ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา ฯ)เป็นเกียรติและเป็นสักขีพยานในพิธี โดยพ่อพราหมณ์จะยกขันน้ำมนต์ขึ้นตั้งข้างหน้าตนเอง แล้วจุดเทียนคีงหรือเทียนที่ใช้เป็นตัวแทนของเจ้าของขวัญแล้วนำไปปักที่ขันน้ำมนต์ พร้อมกับกล่าวคำเชิญเทวดาเป็นภาษาบาลีว่า “สัค เค กา เม จ รูเป ...”\ขั้นตอนที่7. เมื่อทำการป่าวเทวดาเสร็จ พ่อพราหมณ์ก็จะเริ่มทำการสูตรขวัญ โดยจะใช้คำสูตรขวัญประเภทอะไร ก็ให้เลือกเอาตามความเหมาะสมของพิธีที่จัด เช่น เป็นบายศรีสู่ขวัญแต่งงาน ก็จะต้องใช้คำสูตรขวัญแต่งงาน การกล่าวใช้คำสูตรขวัญโดยคำที่ดีเป็นมงคล เช่น(ให้ผัวเมียคู่นี้มีอายุยืนนาน ให้รักกันยืนนาน การหาซื้อหาขายให้หาง่าย ให้สุขสุขภาพแข็งแรงตลอดปีตลอดไป ให้เจริญรุงเรืองสืบต่อไป)ในการใช้คำสูตรขวัญของคุณตาทองด้วง จะไม่มีบทตายตัว แต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน แล้วแต่ลักษณะเจ้าภาพและสถานที่รวมองค์ประกอบในงานหลายๆอย่าง การใช้คำสูตรขวัญของคุณตา นั้นจะกล่าวในทางอวยพร เพราะคุณตาจะคิดคำสูตรในขณะนั้นเลย จากประสบการณ์ที่มีมานานกว่า47ปี (ธนดล ศรีชัยปัญญา, ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖0 :สัมภาษณ์ ) การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)สรุปการบายศรีสู่ขวัญประกอบ1.พ่อพราหมณ์ , หมอพราหมณ์ , หมอบายศรี2.พานบายศรีเมื่อทั้ง 2 องค์ประกอบจึงดำเนินพิธีกรรมการบายศรีสู่ขวัญเชื่อว่าเป็นการส่งเสริมพลังใจให้เข้มแข็ง มีสติและไม่ประมาท เป็นการขับไล่สิ่งที่ไม่ดีออกจากตัวเสริมสิริมงคล ประเพณีสู่ขวัญทำกันแทบทุกโอกาส ทั้งในมูลเหตุแห่งความดีและไม่ดี ชาวอีสานถือว่าเป็นประเพณีเรียกขวัญ ให้มาอยู่กับตัว พิธีสู่ขวัญนี้เป็นได้ทั้งการแสดงความชื่นชมยินดี และเป็นการปลอบใจให้เจ้าของขวัญจากคณะ ญาติมิตรและบุคคลทั่วไป ผู้ได้ดีมีโชคหรือผู้หลักผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือมาเยี่ยมเราก็มีความยินดีเกิดความปิติดีใจเป็นกำลังใจแก่เจ้าของพิธี\\\\\พิกัด (สถานที่)\ บ้านยางน้อย ตำบลยางน้อย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44140\ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นายธนดล ศรีชัยปัญญา หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านยางน้อยอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย |
คำสำคัญ : หมอสูตร, หมอสูตรสู่ขวัญ, สู่ขวัญ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ทองด้วง สีมาลาโคตร |
เจ้าของผลงานร่วม : ธนดล ศรีชัยปัญญา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป |
ระดับชั้น : ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย |
สาขาวิชาของสื่อ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ |
ลักษณะของสื่อ : คลิปเสียง, ข้อมูลปฐมภูมิ , ใบงาน, รูปภาพ, VDO Clip |
ผลงานทั้งหมด
1
ผู้เข้าชม
251
ดาวน์โหลด
1,366
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ | |
---|---|
หมอสูตรสู่ขวัญ | 245 |
ผลงาน 5 อันดับล่าสุด | |
---|---|
หมอสูตรสู่ขวัญ | 26 มีนาคม 2562 |
ผลงานทั้งหมด | ||||
---|---|---|---|---|
# | ชื่อเรื่อง | ผู้เข้าชม | ดาวน์โหลด | # |
1 | หมอสูตรสู่ขวัญ | 245 | 1,366 |