แก่น โงนขำ
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
ชื่อเรื่อง : การทอผ้าขาวม้า |
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทอผ้าขาวม้าบ้านแวงน้อย ต.แวงน้อย อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่นข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางแก่น โงนขำ ที่อยู่ 51/1 ม.1 ต.แวงน้อย อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น อาชีพ ทอผ้า อายุการศึกษาภูมิปัญญา 40 ปี \ชื่อภูมิปัญญา การทอผ้าขาวม้าประวัติข้อมูลภูมิปัญญา คุณยายแก่น โงนขำ อายุ 69 ปี อาชีพ ทอผ้า บ้านเลขที่ 51/1 ม.1 ต.แวงน้อย อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ได้เริ่มเรียนรู้การทอผ้าขาวม้าจากในพื้นที่หมู่บ้านของคุณยายเอง ตั้งแต่คุณยายเรียนหนังสือจบชั้น ป.4 ซึ่งคุณยายเห็นและชอบการทอผ้า จึงได้นำกลับมาทำและฝึกฝนที่บ้านโดยอาศัยการจำ ซึ่งไม่มีคนสอน คุณยายเล่าว่าคุณยายไม่ถนัดทำอย่างอื่น และคิดว่าการทอผ้าเหมาะกับตัวคุณยายที่สุดแล้ว เพราะคุณยายบอกว่าไปทำอย่างอื่นแล้วไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร คุณยายจึงทอผ้าเป็นอาชีพหลัก ซึ่งคุณยายได้ยึดอาชีพทอผ้ามายาวนานกว่า 40 ปี ฝึกฝนและพัฒนาฝีมือมาเรื่อยๆ คิดค้นลายเอง ลงมือทำเองเกือบทุกขั้นตอนวิธีและคุณยายได้นำความรู้ที่มีอยู่มาพัฒนาต่อยอด โดยเริ่มจากการทำผ้าขาวม้าก่อน ผ้าถุง ผ้าโสร่ง จากนั้นคุณยายก็เริ่มทำเสือจากกก และปัจจุบันคุณยายได้ทำพรหมเช็ดเท้าขึ้นมาเอง เป็นการต่อยอดความรู้จากการทอผ้า ซึ่งกลายเป็นอาชีพให้คุณยายจนปัจจุบัน \ กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก) คุณยายแก่นได้เริ่มเรียนรู้การทอผ้าขาวม้าจากในพื้นที่หมู่บ้านของคุณยายเอง คุณยายเห็น และได้จดจำแล้วนำกลับมาทำและฝึกฝนที่บ้าน ซึ่งไม่มีคนสอน ทุกกระบวนการคุณยายทำด้วยตัวเอง โดยอาศัยการจดจำทุกขั้นตอน และฝึกฝนพัฒนาฝีมือมาโดยตลอด จนปัจจุบันการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)อุปกรณ์ในการทอผ้าขาวม้า1. กง ใช้พันเส้นด้าย เพื่อเตรียมไจด้ายสำหรับฟอกและย้อม2. อัก ใช้พันเส้นด้าย เพื่อจัดระเบียบ3. กระบอกไม่ไผ่ ใช้สำหรับพันเส้นด้าย ใช้แทนหลอดด้าย4. แกนกระสวย ใช้สำหรับพันด้ายพุ่งเป็นหลอดเล็กๆ5. ไน เป็นเครื่องมือสำหรับกรอด้ายเข้าหลอดด้าย ก่อนที่จะนำไปใส่กระสวย ต้องนำไปใช้ร่วมกับระวิง มีลักษณะด้านหนึ่งเป็นกงล้อขนาดใหญ่มีเพลาหมุนด้าย มีสายพานต่อไปยังท่อเล็กๆ ที่ปลายอีกข้างหนึ่ง6. หลักเปีย (หลักเผีย) โครงไม้สำหรับเตรียมด้ายยืน สามารถเตรียมด้ายยืนยาว 20 – 30 เมตร 7. แปรงหวีด้ายยืนส่วนประกอบของกี่ทอผ้า1. ฟืมหรือฟันหวี (reed) เป็นกรอบไม้แบ่งเป็นช่องถี่ๆด้วยลวดซี่เล็กๆ สำหรับจัดระเบียบเส้นด้ายยืน ตีกระทบเส้นด้ายพุ่งเพื่อให้ผ้ามีเนื้อแน่นเป็นผืนผ้า2. ตะกอหรือเขาหูก (haress) ส่วนใหญ่เป็นตะกอเชือก จัดกลุ่มเส้นด้ายยืนเปิดช่องด้ายยืน สำหรับใส่ด้ายพุ่ง3. แกนม้วนผ้าหรือไม้กำพั่น ใช้ม้วนผ้าที่ทอแล้วใช้ลำต้นไม้ที่มีขนาดสม่ำเสมอ และเหยียดตรง4. แกนม้วนด้ายยืน ใช้ม้วนด้ายยืนขณะทอ5. เท้าเหยียบ ใช้ควบคุมการยกตะกอ6. ที่นั่ง สำหรับนั่งขณะทอผ้า7. กระสวย ใช้สอดใส่ด้ายพุ่งจะมีลักษณะคล้ายเรือ มีร่องใส่แกนกระสวยมีทั้งแบบแกนเดี่ยวและแกนคู่8. ผัง– ไม้เล็ก เรียว ยาวกว่าหน้าผ้าเล็กน้อย ปลาย 2 ข้างเป็นเหล็กแหลม– ใช้สำหรับขึงหน้าผ้าให้ตึง และมีขนาดคงเดิมขณะทอขั้นตอนวิธีการทอผ้าขาวม้า1. การเตรียมด้าย นำด้ายที่เลือกสีไว้แล้วมาใส่ในกง ซึ่งกงเป็นอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ไผ่เหลาเป็นซี่ยาวประมาณ 1 เมตร 8 อัน และนำมาผูกโยงเข้ากันด้านละ 4 อัน ด้วยเชือกและมีแกนกลาง 1 แกน เพื่อจะกวักด้ายใส่ไว้ในอัก เป็นการเตรียมด้ายไว้สำหรับขั้นตอนต่อไป \2. การเตรียมเครือ หรือเส้นยืน ภาษาอีสานเรียกว่า การค้นหูก ในขั้นตอนนี้จะต้องดูว่าฟืมที่ใช้มีความกว้างเท่าใด ในท้องถิ่นอีสานฟืมจะมีหน่วยนับความกว้างเป็น หลบ ฟืมที่ใช้ทอผ้าขาวม้าจะมีขนาดความกว้างต่างกัน ตามขนาดของเส้นด้ายที่ใช้ทอ ถ้าเป็นด้ายเส้นใหญ่ จะนิยมใช้ฟืม 10 หลบ ถ้าเป็นด้านเส้นเล็กจะนิยมใช้ 12-15 หลบ ฟืมจะมีตาหรือรู ซึ่ง 1 รู จะใช้เส้นด้าย 2 เส้น คือ เส้นขึ้นและเส้นลง การขึ้นเครือจะมีวิธีการคำนวณเส้นด้าย ดังนี้ 4 รูฟืม เท่ากับ 1 ควม หรือเท่ากับ 8 เส้นด้าย 10 ควม เท่ากับ 1 หลบ หรือเท่ากับ 80 เส้นด้า ถ้าเป็นฟืม 10 หลบ เท่ากับ 100 ควม หรือ เท่ากับ 800 เส้นด้ายเทคนิคการนับเช่นนี้ ถือเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมโดยแท้ซึ่งการกำหนดลำดับก่อนหลังของลายผ้า สี หรือ ขนาดความกว้างของตาผ้าขาวม้านั้น ชาวบ้านจะนับตามหน่วยข้างต้น \3. เมื่อเตรียมด้ายเส้นยืนหรือค้นหูกได้ตามขนาดความกว้างของฟืมแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การไนด้ายเส้นยืนเข้าฟืม หรือที่เรียกว่า การสืบหูก ฟืมเป็นอุปกรณ์ในการทอผ้าที่มีส่วนประกอบ คือ ตัวฟืม มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีซี่หลาย ๆ ซี่ตรงกลาง และมีเขาฟืมเพื่อดึงเส้นด้ายลายยืนให้ขึ้นลง ขัดกับด้ายลายพุ่งในขั้นตอนการทอ ผ้าขาวม้าจะนิยมใช้ฟืม 2 เขา ซึ่งเป็นลายขัด การสืบหูก คือการนำเครือหรือด้ายเส้นยืนมาต่อเข้ากับด้ายเก่าที่ติดมากับฟืม โดยต้องต่อตามลำดับของลายที่ได้ค้นไว้ทีละเส้น เมื่อต่อเสร็จครบทุกเส้นแล้วจึงนำไปขึ้นกี่เพื่อเตรียมทอต่อไป \4. การเตรียมด้ายพุ่ง คือ การนำด้ายสีเดียวกันกับลายเส้นยืนมาปั่นใส่หลอดกระสวยให้ได้ขนาดของกระสวย โดยใช้หลาเป็นอุปกรณ์ในการปั่นด้ายออกจากอัก \5. ทำการทอผ้า ตามลายที่ขึ้นไว้ จากนั้นก็จะได้ผ้าขาวม้าที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว \การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)ใช้การจดจำจากสิ่งที่เห็นแล้วนำมาปฏิบัติ พร้อมทั้งคิดค้นลายใหม่ๆขึ้นมา และการเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นการสืบทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นหลังการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)ให้ประชาชน คนรุ่นหลัง หรือองค์กรเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้\\พิกัด (สถานที่)บ้านเลขที่ 51/1 ม.1 ต.แวงน้อย อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น\\\\ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นางสาวฐญามน มนตรี หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาลตำบลแวงน้อยอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย |
คำสำคัญ : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การทอผ้า, การทอผ้าขาวม้า |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : แก่น โงนขำ |
เจ้าของผลงานร่วม : ฐญามน มนตรี, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป |
ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย |
สาขาวิชาของสื่อ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ |
ลักษณะของสื่อ : ข้อมูลปฐมภูมิ , ใบงาน, รูปภาพ, VDO Clip |
ผลงานทั้งหมด
2
ผู้เข้าชม
473
ดาวน์โหลด
1,941
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ | |
---|---|
การทอผ้าขาวม้า | 284 |
การทอผ้าขาวม้า | 180 |
ผลงาน 5 อันดับล่าสุด | |
---|---|
การทอผ้าขาวม้า | 26 มีนาคม 2562 |
การทอผ้าขาวม้า | 26 มีนาคม 2562 |
ผลงานทั้งหมด | ||||
---|---|---|---|---|
# | ชื่อเรื่อง | ผู้เข้าชม | ดาวน์โหลด | # |
1 | การทอผ้าขาวม้า | 284 | 996 | |
2 | การทอผ้าขาวม้า | 180 | 945 |