อภิวัฒน์ พำนัก

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  564     3,009

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
-  File 7
-  File 8
-  File 9
-  File 10
-  File 11
-  File 12
-  File 13
-  File 14
-  File 15
-  File 16
-  File 17
-  File 18
-  File 19
-  File 20
-  File 21
ชื่อเรื่อง :  การทอเสื่อกก
คำอธิบาย :  ชื่อหัวข้อภูมิปัญญา การทอเสื่อกก \\สถานที่ 58/13 ต.กุดบง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย 43120\\ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา การทอเสื่อกก\\ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางบัวแวง เเสนทิพย์\\ที่อยู่ 58/13 ต.กุดบง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย 43120\\อาชีพ เกษตรกร\\อายุการศึกษาภูมิปัญญา 35 ปี\\ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา\\ การทอเสื่อกก เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้น ย้อมสี แล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน เพื่อนำมาใช้ปูลาดรองนั่งหรือนอน หรือทำธุรกรรมต่างๆ ตลอดจนทำพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อ\\ เสื่อกก เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ทั้งนี้เพราะต้นกกเป็นพืชธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาค และภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่นำต้นกกมาแปรสภาพก็มีลักษณะคล้ายกัน หรือได้อิทธิพลทางความคิดจากกันและกัน ทำให้เสื่อกกถูกจัดได้ว่าเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างหนึ่ง ต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในอดีต\\ ที่ตำบลกุดบง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย คือภูมิภาคหนึ่งที่มีการสืบสานภูมิปัญญาทางด้านการทอเสื่อกกนี้มายาวนาน จนปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อื่นเข้ามาทดแทนการใช้เสื่อกกมากมายให้เลือก นับตั้งแต่เสื่อน้ำมัน พรม กระเบื้องปูพื้น และอื่นๆ ทำให้กระแสความนิยมในการใช้เสื่อกกลดลง และคนรุ่นใหม่ก็สนใจในภูมิรู้ด้านนี้น้อย\\ การศึกษาข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกกของชุมชนนี้ ก็เพื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางภูมิปัญญาของท้องถิ่น และปัญหาที่เสี่ยงต่อการสูญสิ้นของภูมิปัญญานี้ ว่ามีมากหรือน้อย และด้วยปัจจัยหรือองค์ประกอบใด เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์หรือแก้ไข สำหรับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโอกาสต่อไป\\กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\\กก เป็นไม้ล้มลุกในวงศ์ Cyperaceae ขึ้นในที่ชุมแฉะ มีหัวเหมือนข่าแต่เล็กกว่าและแตกแขนงเป็นต้น คำเรียกพื้นเมืองมักเรียกตามลักษณะลำต้นว่า กกเหลี่ยม กกกลม ชนิดลำต้นกลมนิยมใช้ในการทอเสื่อ เพราะผิวจะเหนียวและอ่อนนุ่ม เมื่อทำเป็นเสื่อแล้วจะนิ่มนวลน่าใช้ หากขัดถูก็จะเป็นมันน่าดู ส่วนกกเหลี่ยมลำต้นมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยม ผิวของกกชนิดนี้จะแข็งกรอบและไม่เหนียว ไม่นิยมนำมาใช้ทำเสื่อเพราะไม่ทน\\ การทอเสื่อกก ก็เป็นเช่นเดียวกับการสร้างสรรค์สิ่งอื่นๆ ด้วยภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นที่มีพืชชนิดนี้ขึ้นอยู่ ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั่วไปทุกภูมิภาค จนยากที่จะระบุได้ว่าเสื่อผืนแรกของโลกถูกทอขึ้นเมื่อไร หรือชนชาติไหนเป็นชาติแรกที่ทอเสื่อขึ้นใช้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการทอเสื่อกกได้กลายเป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นต่างๆ ในประเทศไทย และได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบแปรรูป ให้มีลักษณะต่างๆ และใช้นอกเหนือไปจากการปูนั่งหรือนอน เช่นในอดีตที่ผ่านมา\\ ส่วนการทอเสื่อกกของชาวบ้านตำบลกุดบง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ก็ถูกจัดนับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านของท้องถิ่นนี้ ที่มีการทำและสืบทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งสู่คนรุ่นต่อมาอย่างสืบเนื่องยาวนาน จนการทอเสื่อกกกลายเป็นวิถีชีวิตในยามว่างจากงานเกษตรกรรม เพื่อทำขึ้นใช้เองในครัวเรือน และซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นรายได้เสริม\\ ยิ่งได้รับการส่งเสริมพัฒนาจากหน่วยงานของรัฐ ก็สามารถพัฒนาคุณภาพของวัตถุดิบ และฝีมือการทอ จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถทำรายได้ให้แก่กลุ่มแม่บ้านที่รวมตัวขึ้นเพื่อประกอบการทอเสื่อตามแนวนโยบายธุรกิจชุมชน จนมีความเข้มแข็ง และอยู่รอดได้ท่ามกลางกระแสความผันแปรของวัฒนธรรม และค่านิยมในการใช้สอย\\การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\\ขั้นตอนการทอเสื่อกก\\- นำกกมาตัดให้เท่ากัน กกที่นำมาตัดนั้นจะต้องเป็นลำที่สวยงาม ไม่แก่มาก และไม่อ่อนมากจนเกินไป\\- หลังจากนั้นนำกกมาสอย เอาไส้ทิ้งเอาแต่เส้น กก 1 ลำ จะได้ 4 เส้น\\- เมื่อสอยกกแล้วก็จะออกมาเป็นลักษณะแบบนี้ กกทั้ง4เส้นจะต้องเท่ากัน ห้ามมีเส้นใดเส้นหนึ่งเล็กและใหญ่กว่า ความหนาบางต้องเท่ากัน 0.5 เซนติเมตร เพื่อทอเสื่อออกมาให้สวยงาม\\- นำกกมาตากให้แห้ง จะย้อมได้สวยตากแดดประมาณ 1 อาทิตย์\\- ต้องใช้สมาธิในการจัดเส้น เส้นต้องเสมอกัน จัดให้แน่นเรียบละเอียด\\- นำกกมาย้อมสีตามที่ต้องการโดยสีที่ย้อมเป็นสีเคมีอย่างดี\\วิธีการย้อม\\1. เลือกสีสำหรับย้อมที่มีสีสันสวยงาม เช่น สีแดง สีบานเย็น สีม่วง \\2. ก่อไฟแล้วนำปี๊ป หรือกระทะใส่น้ำพอประมาณท่วมเส้นกกนำมาตั้งบนเตารอให้น้ำเดือด\\ก็นำสีที่เลือกมาเทลง จากนั้นกำกกลงย้อม\\3.นำเส้นกกที่ย้อมสีแล้วลงล้างในน้ำเปล่าเพื่อให้กกอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น เหนียว และไม่ขาด ซึ่งจะง่ายต่อการทอ \\4. ทอแล้วนำไปตากแดดที่จัดจนแห้ง\\5. นำเส้นกกที่ย้อมสีตากแห้งแล้วมากเก็บมัดรวมกัน โดยแยกเป็นสี แต่ละสี\\6. นำเชือกไนลอนหรือเชือกเอ็นขึงที่โฮมทอเสื่อให้เป็นเส้นตามโฮมและฟืมนำกกหรือไหลสอดเข้ากับไม้สอดเพื่อที่จะสอดเข้ากับโฮมทอเสื่อ เมื่อสอดกกเข้าไปแล้วผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้กกแน่นติดกัน เป็นลายต่าง ๆ\\7. ขั้นตอนสุดท้ายคือการเย็บขอบเสื่อ ตัดขอบเสื่อกกที่ทอเสร็จแล้วให้เท่ากัน ผ้าที่ใช้ในการเย็บขอบต้องเป็นผ้าร่มเลือกสีขอบตามที่ต้องการ การเย็บขอบจะต้องใช้เครื่องจักรไฟฟ้า\\เสื่อที่ทอออกมาก็จะได้เป็นเส้นเล็กๆสวยงามการทอเสื่อที่สวยงามนั่นต้องใช้ความปราณีตและความอดทนสูงเพราะการทอเสื่อ ต้องใช้ระยะเวลาในการทอมาก จึงจะได้เสื่อที่สวยงามมาก และอีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้สีในการใส่ลวดลายให้เกิดสีสันสวยงามตามใจผู้ทำ\\การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\\ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทอเสื่อกกนี้ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับลูกหลานชาวบ้านกุดบง นักเรียน นักศึกษา จึงทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขึ้น และที่สำคัญได้ส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนต่อไป\\\\ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทอเสื่อกกนี้ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับลูกหลานชาวบ้านกุดบง นักเรียน นักศึกษา จึงทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขึ้น และที่สำคัญได้ส่งเสริมและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนต่อไป\\การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร) \\ 1. การทอเสื่อของชาวตำบลกุดบงนี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตที่ดำเนินสืบต่อกันมาเป็นปกติวิสัย คือเมื่อมีเวลาว่างก็ทอเพื่อใช้หรือขายเป็นรายได้เสริม แม้บางช่วงเวลาและโอกาส อาจทำรายได้มากกว่าอาชีพหลัก แต่ก็ไม่ทำให้วิถีชีวิตของผู้ประกอบการเปลี่ยนไปตามกระแสธุรกิจ หรือกระแสค่านิยมในเรื่องหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือการท่องเที่ยว ชาวบ้านก็ยังมีชีวิตตามปกติเหมือนเดิม ยังอนุรักษ์และสืบทอดเหมือนที่ผ่านมา\\ 2. แม้คนรุ่นใหม่ของชุมชนจะมีค่านิยมในการประกอบอาชีพเปลี่ยนไปตามกระแสของสังคม คือเข้าสู่โรงงาน แต่พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ยังคงเป็นเกษตรกรที่ทำนา เลี้ยงสัตว์ เมื่อมีเวลาว่างก็ทอเสื่อตามปกติ ปัญหาขาดผู้สืบทอดดูมิใช่ปัญหา เพราะลูกหลานกลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้ ล้วนซึมซับรับรู้การทอเสื่ออยู่เต็มตัวตั้งแต่เล็ก ซึ่งเมื่อไรที่โรงงานปิดตัวลงหรือคนรุ่นใหม่มีอายุมากขึ้น และเบื่อชีวิตโรงงาน ก็สามารถหันกลับมาจับงานเกษตรกรรม และใช้เวลาว่างทอเสื่อได้ทุกเวลา\\ 3.ด้านเยาวชนในชุมชน ภูมิปัญญานี้ได้ถูกปลูกฝังด้วยระบบของการศึกษาที่กลุ่มแม่บ้านออกไปเป็นวิทยากรสอนแก่นักเรียนและผู้สนใจ นอกเหนือจากการปลูกฝัง ความรู้ทางระบบครอบครัวอีกทางหนึ่ง\\ 4. ปัจจุบันการทำนากก เพื่อขายต้นกกสดหรือเส้นกกแห้งให้เป็นวัตถุดิบแก่ผู้ทอ นับเป็นการช่วยย่นระยะเวลาของผู้ประกอบการ ไม่ต้องมาเสียเวลาทำนากก สามารถซื้อเส้นกกไปใช้ขายได้เลย ทำให้การทอเสื่อยังคงดำรงอยู่ได้อีกรูปแบบหนึ่งแต่อาจก่อปัญหาในภูมิปัญญาการทำนากกในวันข้างหน้า แก่คนรุ่นใหม่ได้\\ 5. เส้นทางของการทอเสื่อนอกจากทำเป็นแผ่นผืนไว้ใช้สอยแล้ว ยังมีอีกในการประยุกต์ผืนเสื่อแปรเป็นรูปผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น กระเป๋า ซองจดหมาย จานรอง รองเท้า ฯลฯ ซึ่งผู้ประกอบการในชุมชนนี้ยังก้าวมาไม่ถึง จึงนับว่ายังมีช่วงเวลาของการสืบสานภูมิปัญญาในการทออีกระยะหนึ่ง กว่าจะถึงจุดเปลี่ยนของภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ธุรกิจชุมชนและการตลาด\\ 6. ตราบใดที่ภูมิปัญญาท้องถิ่นยังเป็นเรื่องของวิถีชีวิตในชุมชน ตราบนั้นภูมิปัญญายังอยู่ได้เพราะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน แต่ถ้าตราบใดภูมิปัญญาท้องถิ่นถูกผลักดันให้เป็นจุดนำวิถีชีวิต เพื่อหวังผลในเชิงธุรกิจและผลประโยชน์แล้ว อันตรายของภูมิปัญญาคือการถูกตีค่าเป็นเรื่องของวัตถุ มิใช่มีผลต่อจิตใจตราบนั้นความเสื่อมสูญก็จะเร่งวันให้ผันแปรไปตามกระแสทันที\\ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\\ชื่อผู้ศึกษา นายอภิวัฒน์ พำนัก\\หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4\\รายวิชา ความเป็นครู (800 5201)\\เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น\\คณะ ศึกษาศาสตร์\\สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\\สถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านนิคมดงบัง\\อาจารย์ผู้สอน\\ 1. รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\\ 2. อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\\ 3. อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\\ 4. อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\\ 5. อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\\ 6. อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
คำสำคัญ :   การทอเสื่อกก, การทอเสื่อ, กก, หัตถกรรม, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :   บัวแวง เเสนทิพย์
เจ้าของผลงานร่วม :   อภิวัฒน์ พำนัก, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ระดับชั้น :   ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
สาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี
ลักษณะของสื่อ :   ข้อมูลปฐมภูมิ , ใบงาน, รูปภาพ, VDO Clip
ผลงานทั้งหมด
1
ผู้เข้าชม
557
ดาวน์โหลด
3,009
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
การทอเสื่อกก 564

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
การทอเสื่อกก 27 มีนาคม 2562
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล
ผลงานทั้งหมด   
#    ชื่อเรื่อง    ผู้เข้าชม    ดาวน์โหลด #
1 การทอเสื่อกก 564 3,009