เจนจิรา ห้วยทราย
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด

874 1,978
- File 1
- File 2
- File 3
- File 4
- File 5
- File 6
- File 7
- File 8
- File 9
- File 10
- File 11
ชื่อเรื่อง : การทอเสื่อกก เสื่อผือ |
คำอธิบาย : ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญาชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณแม่หลิด นามเข็มที่อยู่ 209 หมู่ 10 บ้านโนนข่า ต. วังแสง อ. ชนบท จ.ขอนแก่น 40180อาชีพ ทอเสื่ออายุการศึกษาภูมิปัญญา 40 ปีวัตถุดิบ : ต้นกก หรือ ต้นเผือระยะเวลาที่สร้างสรรค์ : 2 ผืน/วันกลุ่มผู้บริโภค : วัดและญาติพี่น้องราคาใบละ : ไม่จําหน่าย ทอเพื่อใช้สอย ถวายวัดเวลาวัดจัดงานบุญ และมอบให้ญาติพี่น้องไว้ใช้สอยเวลา จัดงานพิธีชื่อภูมิปัญญา การทอเสื่อกก เสื่อผือประวัติความเป็นมา การทอเสื่อกกและเสื่อเผือ เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่นบ้านโนนข่า โดย คุณแม่หลิด นามเข็ม และคุณแม่ดุสิต สภา ชาวบ้านบ้านโนนข่า ให้ข้อมูลว่า ได้เรียนรู้ภูมิปัญญามาจากมารดาตั้งแต่สมัยเป็นเด็ก โดยช่วยมารดาทอเสื่อกก เสื่อผือ มาตั้งแต่เด็ก และได้สืบทอดการทอดเสื่อมาจนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา กว่า 40 ปี การเก็บต้นผือมาทอเสื่อ คุณแม่หลิดพายเรือไปเก็บที่ลําแม่น้ำชีท้ายหมู่บ้าน นอกจากนี้แม่หลิดยัง ปลูกต้นกกไว้ข้างบ้าน เนื่องจากบางครั้งทอเสื่อกก บางครั้งทอเสื่อผือ โดยแม่หลิดให้ข้อมูลเปรียบเทียบ ระหว่างเสื่อกกกับเสื่อผือ ว่าเสื่อที่ทําจากต้นกก จะเหนียว แข็งแรง คงทนและสวยงามกว่า แต่เสื่อจะแข็ง นั่งไม่สบายเนื่องจากเจ็บตาตุ่ม ส่วนเสื่อที่ทอจากต้นผือจะนิ่มกว่า แต่เสื่อจะขาดหรือเสื่อมสภาพเร็วกว่าเสื่อกก โดยส่วนตัวแม่หลิดชอบเสื่อผือเนื่องจากนั่งสบายกว่า จึงทอเสื่อผือมากกว่า โดยปกติแม่หลิดจะทอเสื่อ เพื่อใช้สอยหลังจากที่ว่างเว้นจากการทําไร่ทํานา หรือ ทอเสื่อเพื่อมอบให้ญาติพี่น้องและวัดในชุมชนเวลา จัดงานบุญ ไม่ได้ทอจําหน่าย ซึ่งการทอเสื่อหนึ่งผืนใช้เวลาประมาณครึ่งวัน หรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับเวลาว่างและความชํานาญในการสอดเส้นกกหรือเส้นผือเข้าไปในโฮงทอเสื่อและการทอ ซึ่งการทอเสื่อจะใช้คนทอสองคน โดยคนหนึ่งเป็นคนรอสอดเส้นกกหรือเส้นผือ และอีกคนเป็นคนทอ ส่วนลวดลายของเสื่อบางลายแม่หลิด คิดค้นขึ้นมาเอง บางลายก็ได้รับการถ่ายทอดมาจากมารดา สําหรับเครื่องมือที่ใช้ทอเสื่อ ได้แก่ โฮมทอเสื่อ และฟืมทอเสื่อ แม่หลิดให้ชาวบ้านที่เป็นช่างไม้ทําให้ โดยความยาวของฟืมจะเป็นตัวกําหนดด้านกว้างของเสื่อ ส่วนความยาวของเสื่อขึ้นอยู่กับขนาดความยาวของโฮงทอผ้า ซึ่งปัจจุบันหาซื้อโฮงและฟืมทอผ้าได้ยาก แล้ว นอกจากนี้แม่หลิดได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอเสื่อนี้ให้แก่บุตรสาว และหลาน รวมถึงนักเรียนโรงเรียน บ้านโนนข่าและโรงเรียนในละแวกใกล้เคียงที่เข้ามาศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตน\\วัสดุอุปกรณ์1. กรรไกร 2. ต้นกก หรือ ต้นเผือ 3. เชือกไนลอน4. ฟืมทอเสื่อ5. โฮงทอเสื่อ6. ไม้สอด 7. สีสําหรับย้อมกก/ผือ 8. มีดขั้นตอน 1. ใช้มีดกรีดผ่าครึ่งต้นกก หรือต้นผือ 2. นําต้นกก หรือต้นผือไปตากแดดให้แห้ง ระยะเวลาในการตากขึ้นอยู่กับความเข้มของแสง โดยเฉลี่ยแล้วใช้ เวลาตาก 1-2 วัน 3. ย้อมผือที่ตากแห้งแล้วโดยใช้สีสําหรับย้อมผือ ซึ่งปริมาณของสีย้อมที่ใช้ขึ้นอยู่กับผู้ทอว่าต้องการสีสด สี เข้มเพียงมด โดยปกติใช้สีย้อมผือ 1 ซองต่อผือ 2 มัด แต่หากไม่ต้องการเสื่อที่มีสีสัน ก็สามารถนําผือที่ตาก แห้งแล้วมาทอได้เลย 4. เตรียมโฮงทอเสื่อ ฟืม และเชือกไนลอนสําหรับการทอเสื่อ โดยสอดเชือกในลอนเข้าไปในรูของฟืม แล้วยึด เชือกไว้กับโฮงทอเสื่อ 5. ก่อนนําเส้นกก หรือเส้นผือที่ตากแห้งแล้วมาทอ ต้องพรมน้ำผือที่ตากแห้งเล็กน้อยเพื่อให้เส้นกก เส้นผือมี ความอ่อน และเส้นไม่กรอบเกินไป เพื่อไม่ให้เส้นแตกหักระหว่างการทอ และง่ายต่อการทออีกด้วย 6. สอดเส้นกก หรือเส้นเผือเข้าไปในช่องว่างระหว่างเชือกไนล่อน โดยคนทอจะคว่ำสลับหงายฟืมทอเสื่อเพื่อ เปิดช่องในการสอดขึ้นบน หรือลงล่าง หลังทอเสร็จ 1 เส้น ต้องถักเพื่อมัดปลายเส้นกกหรือเส้นผือ บริเวณขอบเสื่อของทั้งสองข้างให้แน่น เพื่อ ป้องกันไม่ให้เสื่อหลุดรุ่ยเวลาใช้สอย 7. ทอจนด้านที่เริ่มต้นจรดด้านปลายของเสื่อ เป็นอันเสร็จขึ้นตอนการทอ แล้วปลดเสื่อออกจากโฮงทอเสื่อ 8. ตัดปลายเส้นกกหรือเส้นผือที่ยื่นออกมาจากเสื่อเพื่อความเรียบร้อยสวยงาม\การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์1.แม่หลิด นามเข็ม เรียนรู้และได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาการทอเสื่อมาจากมารดาตั้งแต่วัยเด็ก โดยเรียนรู้ จากการปฏิบัติจนเกิดความชํานาญ และได้สืบทอดการทอเสื่อจากต้นกกและต้นผือมาจนถึงปัจจุบัน2. แม่หลิดได้ถ่ายทอดความรู้ให้ลูกสาวและหลานสาว รวมถึงนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนข่าและโรงเรียนใน ละแวกใกล้เคียงที่มาศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาในท้องถิ่นในฐานะวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่นข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นางสาวเจนจิรา ห้วยทรายหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4รายวิชา ความเป็นครู (8005201)เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นคณะ ศึกษาศาสตร์สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทํางาน โรงเรียนบ้านโนนข่าอาจารย์ผู้สอน 1. รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน) 2. อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ 3. อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา 4. อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์ 5. อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว 6. อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย |
คำสำคัญ : เสื่อกก, เสื่อผือ, การทอเสื่อ, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, หัตถกรรม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : หลิด นามเข็ม |
เจ้าของผลงานร่วม : เจนจิรา ห้วยทราย, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ผู้ปกครอง |
ระดับชั้น : ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย |
สาขาวิชาของสื่อ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
ลักษณะของสื่อ : ข้อมูลปฐมภูมิ , ใบงาน, รูปภาพ, VDO Clip |
ผลงานทั้งหมด
0
ผู้เข้าชม
167
ดาวน์โหลด
46
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ | |
---|---|
การทอเสื่อกก เสื่อผือ | 874 |
ผลงาน 5 อันดับล่าสุด | |
---|---|
การทอเสื่อกก เสื่อผือ | 27 มีนาคม 2562 |
ผลงานทั้งหมด | ||||
---|---|---|---|---|
# | ชื่อเรื่อง | ผู้เข้าชม | ดาวน์โหลด | # |
1 | การทอเสื่อกก เสื่อผือ | 874 | 1,978 |