บุญรมณ์ ภารบาล

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  108     675

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
-  File 7
-  File 8
-  File 9
-  File 10
-  File 11
ชื่อเรื่อง :  ศิลปินพื้นบ้านอีสาน
คำอธิบาย :  ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปินพื้นบ้านอีสาน ต.ภูเวียง อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่นข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นายบุญรมณ์ ภารบาล อายุ 66 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 28/1 หมู่ 4 บ้านภูเวียง ตำบลภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อาชีพ นักการภารโรง (เกษียณ) อายุการศึกษาภูมิปัญญา 40 ปี \ชื่อภูมิปัญญา ศิลปินพื้นบ้านอีสาน ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา ประวัติหมู่บ้านภูเวียง ภูเวียงเป็นเมืองเก่ามาแต่โบราณกาล โดยจะเห็นได้ว่าเมื่อแรกตั้ง จังหวัดขอนแก่น มีเพียง 3 เมืองเท่านั้น คือ เมืองชนบท เมืองภูเวียง และเมืองขอนแก่น โดยที่เมืองภูเวียงเป็นเมืองที่อยู่ทางด้านทิศตะวันตก คนทั้งหลายมักจะเรียกเมืองภูเวียงว่าเป็น “หัวเมืองเอกฝ่ายตะวันตก”ตามประวัติมหาดไทยส่วนภูมิภาค ของอำเภอภูเวียง ปรากฏว่าเมืองประมาณ พ.ศ. 2300 มีพรานป่าคนหนึ่งชื่อสิงห์ ภายลังได้รับแต่งตั้งเป็น “กวนทิพย์มนตรี” ได้เข้าไปล่าเนื้อในเขาภูเวียง กวนทิพย์มนตรีเดิมอยู่บ้าข่าเชียงพิณ อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ได้เห็นในวงภูเวียงเป็นทีราบน้ำท่าอุดมสมบูรณ์เป็นทำเลที่เหมาะสมแก่การทำมาหากิน จึงชักชวนพี่น้องเข้าไปตั้งหลักฐานบ้านเรือนครั้งแรก อพยพไปประมาณ 10 ครอบครัว ไปตั้งบ้านบริเวณบริเวณ”ด่านช้างชุม” เพราะที่ตรงนั้นมีโขลงข้างป่ามารวมกันมาก คือ บ้านเมืองเก่าในปัจจุบันขณะนั้นพื้นแผ่นดินภูเวียงขึ้นกับประเทศลาว ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าตากสินมหาราชขอประเทศไทย เมื่อกวนทิพย์มนตรีไปตั้งบ้านเรือน ณ ดังกล่าวและต่อมามีประชาชนเมืองยโสธร นครจำปาศักดิ์ และนครเวียงจันทร์ เข้าไปอยู่จำนวนมาก บ้านเมืองก็ขยายออกไปหลายหมู่บ้าน ทางเจ้าเมืองเวียงจันทร์ได้แต่ตั้งให้กวนทิพย์มนตรีเป็นเจ้าเมืองภูเวียง ส่งผ้าขาวเป็นเครื่องบรรณาการ แก่เมืองเวียงจันทร์ ต่อมากวนทิพย์มนตรีถึงแก่กรรม จึงตั้งท้าวศรีสุธอน้องชาย เป็นเจ้าเมืองแทน ในระหว่างนั้น พระวอพระตาเป็นกบฎต่อเมืองผู้ครองนครเวียงจันทร์ และได้หลบตัวมาอยู่ในเมืองโกมุทไสย์ (จังหวัดหนองบัวลำภู) ต่อมาเจ้านครเวียงจันทร์สั่งให้ทหารจับพระวอพระตา เมื่อพระวอพระตารู้ตัวจึงหลบหนีไปอยู่ดอนมดแดงแขวงเมืองอุบลราชธานี เจ้านครเวียงจันทร์สั่งให้แม่ทัพคุมทหาร ติดตามไปจับพระวอพระตาประหารชีวิต ความทราบถึงพระเจ้าตากสินทราบพิโรธ เห็นเจ้านครเวียงจันทร์ดูหมิ่นพระเดชานุภาพ และรุกล้ำแดนไทย จึงส่งให้เจ้าพระยาจักรี (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และเจ้าพระยาสุรสิห์ (สมเดชกรมพระราชวังบวร) สองพี่น้องยกทัพไปปราบเจ้านครเวียงจันทร์ ปรากฏว่าพระยาจักรีตีนครเวียงจันทร์แตก และเข้ายึดเมืองนครเวียงจันทร์ และหลวงพระบางไว้ได้ ต่อมาท้าวศรีสุธอเจ้าเมืองภูเวียง ซึ่งอยู่ในความปกครองของเจ้าผู้ปกครองนครเวียงจันทร์ไหวตัวทัน จึงยอมอ่อนน้อมต่อพระยาจักรี และพระยาจักรีจึงสั่งให้ท้าวศรีสุธอกลับไปเป็นเจ้าเมืองภูเวียงดังเดิม และให้ขึ้นกับเจ้าเมืองหนองคายซึ่งเป็นเมืองใหญ่ ท้าวศรีสุธอถึงแก่กรรม ทางราชการได้แต่งตั้งเจ้าเมืองต่อจากท้าวศรีสุธอต่อมาอีก 2 คน เมื่อท้าวสุธอที่ 3 ถึงแก่กรรม พระศรีธงชัยเป็นเจ้าเมืองแทนเมื่องพระศรีธงชัยถึงแก่กรรม ข้าหลวงจันทร์มาซึ่งส่งมาจากหนองคายเป็นเจ้าเมืองแทน แล้วจึงยุบภูเวียงเป็นอำเภอ ขึ้นตรงต่อจังหวัดขอนแก่น เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2369 ภูเวียงเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น มีพื้นที่ 621.6 ตร.กม. มีประชากร 72,435 คน (พ.ศ. 2559) ความหนาแน่น 116.52 คน/ตร.กม. รหัสทางภูมิศาสตร์ 4016 รหัสไปรษณีย์ 40150 ประวัติภูมิปัญญาศิลปินพื้นบ้านอีสาน นายบุญรมณ์ ภารบาล อายุ 66 ปี อาชีพ นักการภารโรง (เกษียณ) บ้านเลขที่ 28/1 หมู่ 4 บ้านภูเวียง ตำบลภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เป็นนักดนตรีพื้นบ้านอีสานที่มีความสามารถพิเศษ สามารถเล่นและถ่ายทอดการเล่นดนตรีพื้นบ้านอีสาน ได้เกือบทุกชนิด ทั้ง พิณ แคน ซอ โปงลาง และอื่น ๆ โดยเฉพาะ “พิณ” และ “แคน” นั้น สามารถเล่นและถ่ายทอดการเล่นได้ดีเป็นพิเศษ และที่สำคัญที่สุดคือ เป็นผู้ก่อตั้ง “วงโปงลางศิลป์ภูเวียง” ของโรงเรียนภูเวียงวิทยาคม และเป็นเจ้าของคณะวงกองยาวประยุกต์ “ขวัญใจภูเวียง” โดย นายบุญรมณ์ ภารบาล นั้น เริ่มฝึกฝนการเล่นดนตรีพื้นบ้านอีสานมาตั้งแต่เด็ก ตั้งแต่อายุ 10 ขวบ โดยมีคนเก่าคนแก่ในหมู่บ้านเป็นคนถ่ายทอดวิชาความรู้การเล่นและการประดิษฐ์เครื่องดนตรีพื้นบ้านให้ เครื่องดนตรีชนิดแรกที่หัดเล่น คือ พิณ ลายบรรเลงลายแรกที่สามารถเล่นได้ คือ ลายสร้อย ได้ฝึกฝนพิณจนชำนาญพร้อมทั้งเป่าแคนด้วย เมื่ออายุ 18 ปี ได้มาเป็นนักดนตรีประจำคณะหมอลำ คือ สำนักงานหมอลำบ้านพักทันใจ พ.ศ. 2511-2512 กระทั่งปี พ.ศ. 2532 ได้ประกอบอาชีพเป็นนักการภารโรงที่โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เนื่องจากเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านดนตรีพื้นบ้านอีสาน จึงร่วมกับคณะครูจัดตั้งวงโปงลางขึ้น ชื่อวงโปงลางศิลป์ภูเวียง ในปี พ.ศ. 2534 สามารถทำการแสดงได้ทั้งในและต่างจังหวัดรวมไปถึงการแข่งขันวงโปงลางในหลากหลายเวทีการประกวด และได้ก่อตั้งวงกลองยาวประยุกต์ขึ้นชื่อวงกลองยาวขวัญใจภูเวียง เพื่อรับงานการแสดงเป็นอาชีพเสริม หลังจากเกษียณ ในปี พ.ศ. 2555 เมื่อเวลาว่างการทำไร่นา นายบุญรมณ์ ภารบาล ยังเป็นปราชญ์ชาวบ้านในการถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านดนตรีพื้นบ้านให้กับนักเรียนนักศึกษาและผู้ที่สนใจศึกษาเล่าเรียนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยนายบุญรมณ์ ภารบาล นั้นกล่าวว่าความรู้ ความสามารถของตนเองที่มีอยู่นั้น อยากถ่ายทอดให้ลูกรุ่นใหม่ลูกหลานได้สืบสาน อนุรักษ์ ต่อให้ดนตรีพื้นบ้านอีสานยังคงอยู่ในท้องถิ่นอีสานและประเทศชาติสืบไป (ณิพิสกุญช์ ธนาวุฒิธนภูมิ, 28 พฤศจิกายน 2560 : ผู้สัมภาษณ์)\กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก) การแสวงหาความรู้ด้านดนตรีพื้นบ้านอีสาน นายบุญรมณ์ ภารบาล ได้เริ่มเรียนรู้การเล่นดนตรีพื้นบ้านอีสาน มาจากคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้าน เป็นคนสอนให้รู้จักกับเครื่องดนตรีพื้นบ้าน พิณ แคน ตอนเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยเริ่มท่องโน๊ตลายบรรเลงต่างๆ ไปเรื่อยๆ และเริ่มดีดพิณลายแรกคือลายสร้อย และลายอื่นๆอีกมากมาย ฝึกดีดพิณจนเก่งแล้วจึงเริ่มหัดเรียนเล่นเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ จนเป็นผู้ชำนาญการเรื่องการเล่นดนตรีพื้นบ้านอีสาน\\\\\การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\วัสดุอุปกรณ์ในการถ่ายทอดภูมิปัญญา\1. สมุดลายบรรเลงเพลงต่างๆ\\\\\ \2. เครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน พิณ แคน \\\\\\\\\\ขั้นตอนการถ่ายทอดภูมิปัญญา1. ให้ผู้เรียนฝึกท่องจำโน้ตลายบรรเลงเพลงพื้นบ้านอีสานลายต่างๆจนชำนาญ\• 2. ให้ผู้เรียนจับและวางเครื่องดนตรีให้ถูกวิธี และเรียนรู้คอร์ดโน้ตต่างๆ แคนฝึกการเป่าลมเข้าออก พิณ ดีดสายพิณทุกสายและเช็คดูว่าเสียงโน้ตที่ออกมานั้นตรงหรือเพี้ยนหรือเปล่า• • 3. เริ่มเล่นลายพื้นฐานก่อน คือลาย เต้ยโขง เต้ยธรรมดา และเต้ยพม่า จนเกิดความชำนาญค่อยเริ่มเรียนลายบรรเลงที่มีความยากยิ่งขึ้นไปตามลำดับ\\\\\\• \\ \ การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล) ใช้การจดจำและการเล่าสู่กันฟังเป็นการสืบทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นหลัง\การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร) ให้ประชาชน คนรุ่นหลัง นักเรียนนักศึกษา หรือองค์กรเข้ามาศึกษาเรียนหรือเชิญไปเป็นวิทยากรนอกสถานที่ได้\พิกัด (สถานที่)\\ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นางสาวณิพิสกุญช์ ธนาวุฒิธนภูมิ รูปผู้ศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (8005201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน โรงเรียนภูเวียงวิทยาคมอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\https://youtu.be/jTIhFjELfOk
คำสำคัญ :   ศิลปิน, ศิลปินพื้นบ้าน, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :   บุญรมณ์ ภารบาล
เจ้าของผลงานร่วม :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ณิพิสกุญช์ ธนาวุฒิธนภูมิ
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ระดับชั้น :   ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
สาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ลักษณะของสื่อ :   ข้อมูลปฐมภูมิ , คลิปการเรียนรู้, ใบงาน, รูปภาพ, VDO Clip
ผลงานทั้งหมด
1
ผู้เข้าชม
112
ดาวน์โหลด
675
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
ศิลปินพื้นบ้านอีสาน 108

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
ศิลปินพื้นบ้านอีสาน 26 มีนาคม 2562
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล
ผลงานทั้งหมด   
#    ชื่อเรื่อง    ผู้เข้าชม    ดาวน์โหลด #
1 ศิลปินพื้นบ้านอีสาน 108 675