ปิยะกมล เมืองแก้ว
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
ชื่อเรื่อง : ดูถัวะ! โคราชบ้านเอง : การรำบวงสรวงคุณย่าโม |
คำอธิบาย : การสร้าง Digital Cotet ภูมิปัญญาท้องถิ่น \\\"การรำบวงสรวงคุณย่าโม\\\" \\\\รายวิชา 412316 : ห้องสมุดดิจิทัล\\จัดทำโดย\\583080053-5 นางสาวชาริสา วรธงไชย\\583080066-6 นางสาวปิยะกมล เมืองแก้ว\\นักศึกษาสาขาสารสนเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น \\วิดีโอนี้จัดทำเพื่อใช้ในการศึกษาเท่านั้น มิได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการแสวงหาผลกำไรใดๆ\\ชื่อภูมิปัญญา รำบวงสรวงคุณย่าโม (ท้าวสุรนารี)\\ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \\ ท้าวสุรนารี หรือคุณหญิงโม วีรสตรีผู้กอบกู้เมืองนครราชสีมา ผู้ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวโคราชทุกคน อนุสาวรีย์ท่านตั้งอยู่ใจกลางเมืองโคราช เป็นที่เคารพสักการะจากผู้คนทั่วทุกถิ่น ที่มากราบไหว้ขอพร เสมือนที่พึ่งทางใจของชาวเมืองจังหวัดนครราชสีมา ในแต่ละปีจะมีการรำบวงสรวงคุณย่าโม ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2477 ถือเป็นการกตัญญูกตเวทิตา เป็นความเชื่อและความศรัทธาของชาวจังหวัดนครราชสีมา เป็นการเชิดชูคุณย่าโม โดยพิธีการดังกล่าวจะจัดในระหว่างวันที่ 23 มีนาคม ถึง 3 เมษายน ของทุกปี หากเป็นในต่างอำเภอทั้ง 32 อำเภอ จะจัดขึ้นหน้าอนุสาวรีย์องค์จำลองของแต่ละอำเภอนั้นๆ และจะทำการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันจัดให้อยู่ในรอบก่อนสงกรานต์\\กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\\ ความรู้ภายใน : การรำบวงสรวงคุณย่าโมในสมัยก่อนยังไม่มีการจัดเป็นพิธีการใหญ่โตเหมือนในปัจจุบัน การรำบวงสรวงในสมัยก่อนนั้นเป็นเสมือนการรำแก้บนของผู้ที่มากราบไว้ ขอพร หรือบนบานศาลกล่าวหน้าอนุสาวรีท้าวสุรนารี อันเนื่องมาจากความเชื่อ ความเลื่อมใส ศรัทธา และถูกถ่ายทอดกันมารุ่นสู่รุ่น ซึ่งต่อมาได้มีการนำความเชื่อ ความศรัทธาเหล่านั้นมาหล่อหลอมให้เป็นหนึ่งเดียวกัน จนนำมาสู่พิธีรำบวงสรวงคุณย่าโม หรือท้าวสุรนารีในปัจจุบัน\\ ความรู้ภายนอก : ปัจจุบันการรำบวงสรวงคุณย่าโมได้มีการจัดเป็นพิธีการที่ใหญ่โต เป็นงานประจำปีของจังหวัดนครราชสีมา เป็นดั่งภูมิปัญญาที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบสานไว้ ทำให้มีผู้คนมากมายทำการศึกษา และนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการรำบวงสรวงคุณย่าโมไว้หลากหลายรูปแบบ อาทิเช่น วิดิโอการสอนการรำบวงสรวงคุณย่าโม วิดิโอนำเสนอพิธีการรำบวงสรวงคุณย่าโม หรือบทความเกี่ยวกับการรำบวงสรวงคุณย่าโม เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อให้บุคคลภายนอกหรือผู้ที่สนใจสามารถศึกษาและเรียนรู้ภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่านี้ได้\\\\การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\\ ขั้นแรกของการรำบวงสรวงคือ การฝึกซ้อมท่ารำ โดยผู้ที่มาฝึกซ้อมให้มักจะเป็นครูนาฏศิลป์ จากวิทยาลัยนาฏศิลป์นครราชสีมา ในการรำบวงสรวง จะมีกระบวนรำอยู่ 3 ส่วนหลัก คือ กระบวนรำนำบท กระบวนรำนำออก และกระบวนเพลงรำบวงสรวง ซึ่งกระบวนรำนำบท จะมีการเปลี่ยนทุกปี โดยจะเปลี่ยนตามความเหมาะสมกับสถานการณ์บ้านเมืองในแต่ละปี ส่วนกระบวนเพลงที่ใช้รำบวงสรวงจะเป็นกระบวนเพลงที่ร้องรำทำนองสรภัญญะ ซึ่งเป็นทำนองพื้นบ้านของชาวอีสานเรา\\ ท่วงท่ารำวิทยาลัยนาฏศิลป์นครราชสีมา เป็นผู้คิดท่ารำอีกเช่นกัน ซึ่งลักษณะการรำเป็นการรำตีบท รำตีบทหมายความว่า พูดหรือร้องคำไหนก็ ผู้รำก็จะต้องตีบทตามคำนั้น เช่น ท่อน “มารยาหญิงยวนยั่ว” ผู้รำก็จะต้องแสดงท่ามารยาหญิงยวนยั่ว ซึ่งท่ารำเหล่านี้จะเป็นเหมือนกันทุกปี เพียงแต่ตอนหัวก็จะต้องเปลี่ยนตามลักษณะของเนื้อเพลง\\ ขั้นต่อมา เมื่อผู้รำเรียนรู้กระบวนการรำ และท่ารำไปเรียบร้อยแล้ว อีกหนึ่งส่วนที่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการรำบวงสรวงคือ ชุดผู้รำบวงสรวงคุณย่าโม ชุดที่ใช้ในการรำแต่ละปีเหมือนกันทุกปี ยกเว้นสี ชุดนางรำจะต้องเป็นเสื้อแขนกระบอก ผ้าถุงมีจีบหน้านาง และให้นำเสื้อใส่เข้าข้างใน เครื่องประดับจะเหมือนของนางรำทั่วไป และสิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ และมีความสำคัญที่สุดในองค์ประกอบชุดของนางรำ คือ ดอกปีบ ทุกคนจะต้องประดับดอกปีบที่ด้านซ้าย (ของศีรษะ) และทำการเก็บผมทั้งหมด\\ ขั้นสุดท้าย คือ การรำในพิธีจริง ผู้รำจะต้องมีความตั้งใจ ตั้งมั่นในความศรัทธาที่มีต่อคุณย่าโม หรือท่านท้าวสุรนารี เพื่อให้เกิดเป็นสิริมงคลทั้งต่อตนเอง และจังหวัดนครราชสีมา\\การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\\ ปัจจุบันได้มีการจัดเก็บ นำเสนอ และเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการรำบวงสรวงคุณย่าโมไว้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบวิดิโอ บทความ รูปภาพ หรือแม้กระทั่งวิดิโอไลฟ์ (วิดิโอการถ่ายทอดสด) บนสื่อสังคมออนไลน์ และเว็บไซต์ต่างๆ ทั้งนี้ก็เพื่อให้บุคคลภายนอกหรือผู้ที่สนใจสามารถศึกษาและเรียนรู้ภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่านี้ได้\\การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\\ ปัจจุบันผู้หลัก ผู้ใหญ่ในครอบครัวของชาวจังหวัดนครราชสีมายังมีการถ่ายทอดเรื่องความเชื่อ ความเลื่อมใสศรัทธาที่มีต่อคุณย่าโมให้แก่เยาวชนรุ่นหลังอยู่ อีกทั้งบนแหล่งสารสนเทศต่างๆยังมีการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการรำบวงสรวงคุณย่าโมไว้อย่างมากมาย ทำให้พิธีการนี้ยังคงสืบทอด และดำเนินต่อมาจนปัจจุบัน \\ ในส่วนขององค์กรภาครัฐ ทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้มีส่วนเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้พิธีการอันศักดิ์สิทธิ์นี้เป็นไปอย่างเรียบร้อย สมบูรณ์ และคงอยู่ต่อไป\\พิกัด (สถานที่)\\ จัดขึ้นหน้าลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา หรือหากเป็นในต่างอำเภอทั้ง 32 อำเภอ จะจัดขึ้นหน้าอนุสาวรีย์องค์จำลองของแต่ละอำเภอนั้นๆ \\อาจารย์ผู้สอน\\1. ผศ.ดร.กันยารัตน์ เควียเซ่น\\2. นางสาว ยศยาดา สิทธิ์วงศ์ |
คำสำคัญ : รำบวงสรวง, ย่าโม, นครราชสีมา |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ปิยะกมล เมืองแก้ว |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป |
ระดับชั้น : การศึกษาตามอัธยาศัย |
สาขาวิชาของสื่อ : สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ |
ลักษณะของสื่อ : ข้อมูลปฐมภูมิ , รูปภาพ, VDO Clip |
ผลงานทั้งหมด
1
ผู้เข้าชม
80
ดาวน์โหลด
331
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ | |
---|---|
ดูถัวะ! โคราชบ้านเอง : การรำบวงสรวงคุณย่าโม | 78 |
ผลงาน 5 อันดับล่าสุด | |
---|---|
ดูถัวะ! โคราชบ้านเอง : การรำบวงสรวงคุณย่าโม | 26 มีนาคม 2562 |
ผลงานทั้งหมด | ||||
---|---|---|---|---|
# | ชื่อเรื่อง | ผู้เข้าชม | ดาวน์โหลด | # |
1 | ดูถัวะ! โคราชบ้านเอง : การรำบวงสรวงคุณย่าโม | 78 | 331 |