การทอผ้ามัดหมี่

137
156

การทอผ้ามัดหมี่ ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.
แสดงในรูปแบบ e-book
- เล่มที่ 1 |
ชื่อเรื่อง : การทอผ้ามัดหมี่ |
ชื่อเรื่อง :
|
คำอธิบาย : ชื่อหัวข้อภูมิปัญญา : การทอผ้ามัดหมี่ \nสถานที่ : บ้านสวนฟรุ๊ตการ์เด้น \nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา : คุณแม่เกียง ที่รัก ที่อยู่ บ้านค้อ หมู่ 7 ตำบลโคกสะอาด อำเภอลา ปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ อาชีพ ทำนาและทอผ้า อายุการศึกษาภูมิปัญญา 30 ปี \n \nชื่อภูมิปัญญา : การทอผ้ามัดหมี่\n ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \n คุณแม่เกียงได้รับแรงบันดาลใจมากจากคุณแม่ ตั้งแต่สมัยเด็กๆ แม่เกียงจะเห็นคุณแม่กับ คุณยายทอผ้าไหมและผ้ามัดหมี่ใช้เองและขายในช่วงที่ไม่ได้ทำนา จึงเกิดความสนใจเรียนรู้การทอผ้ามา ตั้งแต่อายุ14-15 ปี และเริ่มที่จะทอผ้าขายเป็นอาชีพอดิเรกตอนอายุ 25-30 ปี ในปัจจุบันแม่เกียงอาย ุ60 ปี ซึ่งแม่เกียงและชาวบ้านส่วนหนึ่งได้เข้ามาทอผ้าไหมและผ้ามัดหมี่ที่บ้านสวนฟรุ๊ตการ์เด้น เป็นการทอผ้า ตามออเดอร์บ้านสวนฟรุ๊ตการ์เด้นสั่งทำให้ไม่ต้องลงทุนในเรื่องต้นทุนและนำผ้าไปขายเอง มีรายได้ผืนละ 500-1000 บาท ใช้เวลาในการทอ 2-5 วัน \nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก) : ปัจจุบันแม่เกียงและชาวบ้านได้ประยุกต์การทอผ้าให้มีลวดลายที่แปลกใหม่ ทันสมัยและ สวยงามขึ้นเพื่อให้ก้าวทันยุคสมัย เช่น ลายมังกร ลายกระต่าย ลายสายการบิน เป็นต้น แต่ก็ยังไม่ทอดทิ้ง การทอผ้าลายดังเดิม เช่น ลายตะขอ ลายสายฝน เป็นต้น \nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา) :\nกระบวนการทอผ้ามัดหมี่ \nขั้นตอนการผลิตผ้ามัดหมี่ ขั้นตอนการผลิตจะต้องมีการจัดเตรียมหาอุปกรณ์ในการทอผ้าให้เรียบร้อย ซึ่งประกอบด้วย \n- โฮงค้นหมี่ เพื่อการค้นเส้นหมี่หรือจัดระเบียบการเรียงเส้นหมี่เพื่อการทา หัวหมี่ \n- โฮงมัดหมี่ เพื่อการขึงหวัดหมี่ที่ไดม้าจากโฮงค้นหมี่ เพื่อทา การขึงตึงหัวหมี่ในการเตรียมพร้อมที่จะมัดย้อมลวดลาย \n- อักหรือกวัก เป็นอุปกรณ์สา หรับการกรอเส้นหมี่ \n- กง เป็นอุปกรณ์สำหรับใส่ไจหมี่เพื่อทำการกรอเข้าไปใส่อัก \n- ไน เป็นอุปกรณ์ใช้สำหรับการกรอเส้นหมี่เข้าหลอดเพื่อนำไปใส่ในกระสวยสำหรับการทอผ้า - หลอด สำหรับใส่เส้นหมี่ที่ใช้ไนกรอ เป็นเส้นพุ่ง \n- กระสวย ใช้ใส่หลอดเส้นที่กรอเส้นหมี่ใส่แล้ว เพื่อการทอผ้า \n- กี่ทอผ้า ประกอบด้วยโครงสี่เหลี่ยม และเป็นที่ตั้งฟืมที่เก็บตะกอเรียบร้อยแล้ว - ฟืม เป็นอุปกรณ์ที่ใชใ้นการจัดเรียงเส้นหมี่ให้เป็นระเบียบ \n- หลักเฝือ เป็นอุปกรณ์ในการค้นเครือเส้นยืน\n ในปัจจุบันมีการขายเส้นหมี่ที่มัดย้อมเป็นลวดลายสำเร็จรูปขายตาม้ทองตลาด ซึ่งคุณแม่เกียง ที่รัก ได้ใช้เส้นหมี่มัดย้อมสำเร็จรูปมาทอเป็นลวดลาย เพื่อประหยัดเวลาในการทอผ้าหมี่มัดย้อมและความสะดวก ขั้นตอนการทอผ้ามัดหมี่\n นำหลอดด้ายออกจากเชือกที่เรียงร้อยไว้มาทีละหลอด เพื่อนนำไปใส่ในกระสวย แล้วเริ่มทำการทอผ้า มัดหมี่ด้วยกี่ทอผ้าแบบพื้นบ้านตามลวดลายที่ได้ออกแบบ โดยทอสลับกับการทอสอดเส้นด้ายสีต่างๆเพื่อ คั่นลายและเพิ่มสีสันให้เกิดสวยงามในลวดลายบนผืนผ้าโดยใช้วิธีการทอแบบทอค้ำเพลา ขั้นตอนการทอ สอดเส้นด้ายจะต้องมีการทอสลับกับทอขัดเพื่อช่วยทำให้ผ้าแน่น เส้นไม่หลุดลุ่ย ส่วนขั้นตอนการทอแบบค้ำ เพลาจะทอสลับกับลายบนผืนผ้าเพื่อเพิ่มสีสัน และความสวยงาม เมื่อทอจนหลอดด้ายที่เรียงไว้หมดก็จะได้ ผ้ามัดหมี่ลายสายฝน 1 ผืน การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล) ใช้การจดลายการมัดหมี่ การย้อมผ้า และลวดลายต่างๆของการทอผ้ามัดหมี่ด้วยความจำ การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร) ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคคลที่สนใจศึกษาเรียนรู้ สามารถเข้ารับชมและสอบถามข้อมูลได้ที่บ้านสวนฟรุ๊ตการ์เด้น (แหล่งเรียนรู้และสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร) \n \nพิกัด (สถานที่) : บ้านสวนฟรุ๊ตการ์เด้น บ้านหวัยมะไฟ ตำบลเมืองแฝก อำเภอลา ปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 31130 โทร 0948421111 \nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560 : ชื่อผู้ศึกษา นางสาวดิศรินทร์ พยฆักุล รูปผู้ศึกษา\n หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (8005201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สถานที่ทำงาน โรงเรียนเมืองแฝกพิทยาคม \nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน) \n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ \n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา \n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์ \n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำ ซาว \n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : การทอผ้ามัดหมี่, บ้านสวนฟรุ๊ตการ์เด้น, ภูมิปัญญา, หัตถกรรม |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : แม่เกียง ที่รัก |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
|
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ :
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ :
|
URL : - |
URL : |
: |
แม่เกียง ที่รัก.
(2561). การทอผ้ามัดหมี่,
27 มีนาคม 2562.
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/102867
แม่เกียง ที่รัก.
(2561). "การทอผ้ามัดหมี่".
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/102867.
(27 มีนาคม 2562)
แม่เกียง ที่รัก.
"การทอผ้ามัดหมี่".
27 มีนาคม 2562:
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/102867.
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง
รีวิว : การทอผ้ามัดหมี่
ไม่พบข้อมูลการรีวิว