ชนิภรณ์ สัตยากุมภ์

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  204     1,419

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
-  File 7
-  File 8
-  File 9
-  File 10
-  File 11
-  File 12
-  File 13
-  File 14
-  File 15
-  File 16
-  File 17
ชื่อเรื่อง :  การจักสานไม้ไผ่
คำอธิบาย :  ชื่อหัวข้อภูมิปัญญาการจักสานไม้ไผ่บ้านห้วยผึ้ง ต.บ้านโปร่ง อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานีข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา รูปภาพชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณตาสุดตา บรมโคตรอายุ 79 ปี ที่อยู่ 53 หมู่ 2บ้านห้วยผึ้ง ต.บ้านโปร่ง อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี อาชีพ เกษตร อายุการศึกษาภูมิปัญญา40 ปี \ชื่อภูมิปัญญา การจักสานไม้ไผ่ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา เครื่องจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน เครื่องจักสานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น ที่ใช้ภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีประโยชน์ในการดำรงชีวิต จะเห็นได้ว่าหัตถกรรมเครื่องจักสานมีมานานแล้วและได้มีการพัฒนามาตลอดเวลาโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง การดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เอาการรู้หนังสือมาเกี่ยวข้อง การเรียนรู้ต่างๆ อาศัยวิธีการฝึกหัดและบอกเล่าซึ่งไม่เป็นระบบในการบันทึก สะท้อนให้เห็นการเรียนรู้ ความรู้ที่สะสมที่สืบทอดกันมาจากอดีตมาถึงปัจจุบันหรือที่เรียกกันว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นกระบวนถ่ายทอดความรู้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นคงอยู่ต่อเนื่องและยั่งยืน จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจทำการศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาหัตถกรรมเครื่องจักสาน ซึ่งมีความสำคัญยิ่งที่จะให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องจักสานนั้นๆคงอยู่ตลอดไป ซึ่งผลจากการศึกษากระบวนถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องจักสานนั้น จะนำไปเป็นข้อมูลที่จะนำไปไปพัฒนากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาในชุมชนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และดำรงอยู่คู่สังคมสืบต่อไป\กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)คุณตาสุดตา บรมโคตร อายุ 79 ปี อาชีพ เกษตร บ้านเลขที่ 53 หมู่ 2 บ้านห้วยผึ้ง ต.บ้านโปร่ง อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี ได้เริ่มเรียนรู้การจักสานจากไม้ไผ่ในพื้นที่ และการจักสานไม้ไผ่เป็นประโยชน์ในครอบครัว และสามารถเป็นอาชีพอีกอย่างหนึ่งเลยก็ว่าได้ และก็พัฒนาสืบทอดมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบันและสามารถเป็นอาชีพเสริมของคนในปัจจุบัน\การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)อุปกรณ์ในการทำตะกร้า1. ไม้ไผ่2. มีด3. ไม้หวาย4. เข็ม5. เล็กเกอร์วิธีการทำตะกร้า1. ตัดไม้ไผ่แก่มาผ่าซีกและผ่าแบ่งเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ ขนาดประมาณ ๑ ซม. และอีกส่วนหนึ่งผ่าประมาณ ๑ นิ้ว เพื่อใช้ทำขอบปากตะกร้าและมือจับ\\\\\2. นำแต่ละชิ้นที่ผ่าไว้ ลอกใช้แต่ส่วนเปลือก โดยใช้มีดคม ๆ เหลาหรือขูดเนื้อไม้ออกและเหลือแต่ส่วนเปลือกบาง ๆ และเหนียว\\\\\\3. เริ่มต้นสานตะกร้า โดยเริ่มที่ก้นก่อน โดยใช้ส่วนที่แข็งกว่าและหนากว่าสานที่ก้น ความยาวของไม้ตามขนาดของตะกร้า เส้นที่แข็งกว่าสานขึ้นตามแนวตั้ง ความห่างเท่า ๆ กัน ส่วนเส้นไม้ไผ่ที่บาง นิ่ม สานตามขวางชั้นมาเรื่อย ๆ แน่น มีลักษณะเป็นวงกลมแต่ปากตะกร้าจะกว้างกว่าก้นตะกร้า พอได้ขนาดตามต้องการใช้ไม้ไผ่ขนาด ๑ นิ้ว ทำให้เป็นวงกลมและวางไว้ที่ขอบปากตะกร้า ใช้ไม่ไผ่ส่วนที่ตั้งขึ้น พัน หรือ บิดลงไปด้านล่าง สานลงไปประมาณ ๑ นิ้ว จนแน่นไม่หลุด ตัดเศษที่เหลือทิ้ง ตกแต่งให้สวยงาม\\\\\\\\\\\\\4. ใส่หูหรือที่หิ้ว ซึ่งทำจากไม้ไผ่และโค้งงอได้ ใช้เชือกหรือหวายพันให้แน่น หรือใช้เชือกที่เป็นสีพันที่มือจับจนมิด นำไปใช้งานหรือขายได้\\\\\\\ 5. หากต้องการเก็บไว้ใช้งานได้นาน ทาเล็กเกอร์เคลือบไม้ไผ่ทั้งด้านในและด้านนอก แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง\\\\\\\การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)การเล่าสู่กันฟังของคนสมัยก่อนการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)ให้ประชาชนคนรุ่นหลังได้เรียนรู้และสืบทอดต่อไป สามารถเป็นรายได้เสริมในครอบครัวพิกัด (สถานที่)53 หมู่ 2 บ้านห้วยผึ้ง ต.บ้านโปร่ง อ.ศรีธาตุ จ.อุดรธานี\\\\\\\\ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\ชื่อผู้ศึกษา นางสาวชนิภรณ์ สัตยากุมภ์ รูปผู้ศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (8005201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านห้วยผึ้งอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง(ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
คำสำคัญ :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การจักสานไม้ไผ่, การจักสาน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :   สุดตา บรมโคตร
เจ้าของผลงานร่วม :   ชนิภรณ์ สัตยากุมภ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ระดับชั้น :   มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
สาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ศิลปะ
ลักษณะของสื่อ :   ข้อมูลปฐมภูมิ , ใบงาน, รูปภาพ, VDO Clip
ผลงานทั้งหมด
1
ผู้เข้าชม
207
ดาวน์โหลด
1,419
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
การจักสานไม้ไผ่ 204

ผลงาน 5 อันดับล่าสุด
การจักสานไม้ไผ่ 26 มีนาคม 2562
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล
ผลงานทั้งหมด   
#    ชื่อเรื่อง    ผู้เข้าชม    ดาวน์โหลด #
1 การจักสานไม้ไผ่ 204 1,419