วานิช หมื่นไธสง

ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
  783     1,376

-  File 1
-  File 2
-  File 3
-  File 4
-  File 5
-  File 6
-  File 7
-  File 8
-  File 9
-  File 10
-  File 11
ชื่อเรื่อง :  ประเพณีบุญข้าวสาก
คำอธิบาย :  ชาวหนองกุงเซิน\\ประวัติความเป็นมา ตำบลหนองกุงเซิน แบ่งแยกเขตการปกครองเมื่อปี พ.ศ.2518 ออกจากตำบลนาหว้า ปัจจุบันเป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอภูเวียง ประกอบด้วย 9 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านหนองกุงเซิน หมู่ 2 บ้านหนองโน หมู่ 3 บ้านโนนพัฒนา หมู่ 4 บ้านหนองกระเดา หมู่ 5 บ้านหนองกระแหล่ง หมู่ 6 บ้านโนนศิลา หมู่ 7 บ้านโนนม่วง หมู่ 8 บ้านหนองกุงเซิน หมู่ 9 บ้านน้ำเซิน สภาพทั่วไปของตำบล สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ดินเป็นดินร่วนปนทราย ค่อนข้างแห้งแล้งเหมาะแก่การทำการเกษตร อาณาเขตตำบล ทิศเหนือ ติดต่อ ตำบลนาหว้า อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ทิศใต้ ติดต่อ ตำบลกุดขอนแก่น อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ทิศตะวันออก ติดต่อ ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ และ ตำบลบ้านผือ อำหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น ทิศตะวันตก ติดต่อ ตำหนองกุงธนสาร อำภูเวียง จังหวัดขอนแก่น อาชีพของตำบล อาชีพหลัก ทำนา อาชีพเสริม รับจ้างและประมง (บ้านหนองกุงเซิน,2558 : เว็บไซต์)\\ความเชื่อของหมู่บ้าน\\การทำบุญข้าวสาก ทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นการทำบุญไปให้บุพการีที่ล่วงลับไปแล้ว และให้ตนเองมีความสุขความเจริญ ก่อนถึงวันขึ้นทำบุญ ต่างพากันจัดหาของจะทำบุญข้าวสาก เช่น หมาก พลู บุหรี่ และอาหารต่างๆที่มีในหมู่บ้าน พอถึงวันก็จัดทำ สิ่งที่ทำมี 2 ประเภท คือ ห่อข้าวใหญ่ ซึ่งต้องเอาไปถวายพระสงฆ์ เอาใบตองกล้วยห่อข้าวเหนียวนึ่งสุกแล้ว ใบห่อข้าวจะห่อปิ้งปลา และน้ำพริก และห่อข้าวน้อย ซึ่งจะนำไปส่งผีปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว การห่อจะห่อเป็น 2 อย่าง หนึ่งใส่ของรวมกับข้าว มีปิ้งปลา โดยมากเป็นอาหารแห้ง น้ำพริก ปลาร้า รวมทั้งของหวาน อีกส่วนหนึ่งเป็นบุหรี่ หมากพลู แล้วเย็บติดกัน\\(ทองจันทร์ ตรีชาลี,2561 : สัมภาษณ์)\\\\ในการทำบุญข้าวสากนี้เป็นเรื่องที่ คนอีสานใสใจมากกว่าบุญข้าวประดับดิน เพราะว่า เป็นเรื่องของความเชื่อที่ว่า ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันที่ พระยายมภิบาลเปิด ขุมนรกให้สัตว์นรก ได มารับส่วนบุญส่วนกุศลจากญาติพี่น้องที่ อยู่ในมนุษย์โลก ตั้งแต่เที่ยง คืนถึงวันขึ้น 14 ค่ำ ไปจนถึงเที่ยงคืนวันขึ้น 15 ค่ำ เมื่อพวกเปรตหรือสัตว์นรกเหล่านั้นมา รับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ อยู่ในมนุษย์โลก พวกที่ได้รับบุญกุศล พวกที่ เกิดจากการทำบุญข้าวสากนนี้ก็จะอวยพรให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุข มีความอุดมสมบูรณด้วยสิ่งที่ต้องการและ ปรารถนา ในทางตรงข้าม ถาหากว่ามาแล้วเกิดไมไดสวนบุญอะไรเลยก็จะน้อยเนื้อต่ำใจว่า ลูกหลานไมใสใจถึงแม้ว่าผู้อื่นไมใช่ญาติสายโลหิตจะอุทิศแผ่ส่วนบุญไปให้ ก็ได แต่เลีย ใบตองห่อข้าวสากเท่านั้น ซึ่งไมถึงกับ อิ่มท้องอะไรเลยก็ไดสาปลูกแช่งหลานที่ไมเอาใจใส มัวแต่แย่งทรัพย์สมบัติมรดก ที่เขาหามาในขณะยังมีชีวิตอยู่จนกระทั้งลืมผู้มีพระคุณ (พระมหาเปรม โอภาโส. 2541 : 40)\\การทำบุญข้าวสาก\\เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ได้มีการจัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์ทางวัดจะตีกลองให้สัญญาณ ต่างก็จัดสิ่งของต่างๆ ลงในถาด มีห่อข้าวใหญ่ ห่อข้าวน้อย ทุกคนจะนำเอาห่อข้าวใหญ่ไปจัดไว้ที่ถาดใหญ่หรือสำรับรวมกัน แล้วก็เริ่มพิธี มีการไหว้พระสวดมนต์ รับศีลเสร็จ กล่าวคำถวายข้าวสากพอกล่าวจบ พระสงฆ์กล่าวอุปโลกน์ จากนั้นก็มีการแจกห่อข้าวใหญ่แก่ภิกษุสามเณร หลังจากนั้นก็กล่าว คำถวายห่อข้าวน้อย แล้วต่างก็พากันนำเอาห่อข้าวน้อยไปวางตามเจดีย์ ต้นไม้ กิ่งไม้ในบริเวณวัด แล้วต่างก็พากันแย่งชิงเอาห่อข้าวที่ตนวางไว้ เพื่อจะนำเอาไปให้ผีหัวไร่ปลายนาของตน อันเป็นศิริมงคลแก่ไร่นา เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวสาก (สมจิตร หมื่นไธสง,2561 : สัมภาษณ์)\\\\ในการทำบุญข้าวสากนี้เป็นเรื่องที่ คนอีสานใสใจมากกว่าบุญข้าวประดับดิน เพราะว่า เป็นเรื่องของความเชื่อที่ว่า ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันที่ พระยายมภิบาลเปิด ขุมนรกให้สัตว์นรก ได มารับส่วนบุญส่วนกุศลจากญาติพี่น้องที่ อยู่ในมนุษย์โลก ตั้งแต่เที่ยง คืนถึงวันขึ้น 14 ค่ำ ไปจนถึงเที่ยงคืนวันขึ้น 15 ค่ำ เมื่อพวกเปรตหรือสัตว์นรกเหล่านั้นมา รับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ อยู่ในมนุษย์โลก พวกที่ได้รับบุญกุศล พวกที่ เกิดจากการทำบุญข้าวสากนนี้ก็จะอวยพรให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุข มีความอุดมสมบูรณด้วยสิ่งที่ต้องการและ ปรารถนา ในทางตรงข้าม ถาหากว่ามาแล้วเกิดไมไดสวนบุญอะไรเลยก็จะน้อยเนื้อต่ำใจว่า ลูกหลานไมใสใจถึงแม้ว่าผู้อื่นไมใช่ญาติสายโลหิตจะอุทิศแผ่ส่วนบุญไปให้ ก็ได แต่เลีย ใบตองห่อข้าวสากเท่านั้น ซึ่งไมถึงกับ อิ่มท้องอะไรเลยก็ไดสาปลูกแช่งหลานที่ไมเอาใจใส มัวแต่แย่งทรัพย์สมบัติมรดก ที่เขาหามาในขณะยังมีชีวิตอยู่จนกระทั้งลืมผู้มีพระคุณ (พระมหาเปรม โอภาโส. 2541 : 40)\\การทำบุญข้าวสาก\\เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ได้มีการจัดเตรียมเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์ทางวัดจะตีกลองให้สัญญาณ ต่างก็จัดสิ่งของต่างๆ ลงในถาด มีห่อข้าวใหญ่ ห่อข้าวน้อย ทุกคนจะนำเอาห่อข้าวใหญ่ไปจัดไว้ที่ถาดใหญ่หรือสำรับรวมกัน แล้วก็เริ่มพิธี มีการไหว้พระสวดมนต์ รับศีลเสร็จ กล่าวคำถวายข้าวสากพอกล่าวจบ พระสงฆ์กล่าวอุปโลกน์ จากนั้นก็มีการแจกห่อข้าวใหญ่แก่ภิกษุสามเณร หลังจากนั้นก็กล่าว คำถวายห่อข้าวน้อย แล้วต่างก็พากันนำเอาห่อข้าวน้อยไปวางตามเจดีย์ ต้นไม้ กิ่งไม้ในบริเวณวัด แล้วต่างก็พากันแย่งชิงเอาห่อข้าวที่ตนวางไว้ เพื่อจะนำเอาไปให้ผีหัวไร่ปลายนาของตน อันเป็นศิริมงคลแก่ไร่นา เป็นเสร็จพิธีทำบุญข้าวสาก (สมจิตร หมื่นไธสง,2561 : สัมภาษณ์)\\\\ในบางท้องถิ่น จะมีการทำข้าวสากหรือฉลากภัตรนี้เป็นลักษณะห่อ ด้วยใบตองกล้วย เอาไม กลัดหัวกลัดท้ายมีรูปลักษณ์คล้ายๆ กลีบข้าวต้ม แต่ไมพับสันตอง เหมือนการห่อข้าวต้ม แล้วเย็บติดกันเป็นชุดๆ ภายในห่อนั้น บางห่อบรรจุหมาก พลูบุหรี่ ข้าวต้มข้าวสาร ปลา เนื้อ เป็นต้น ซึ่งแต่ละห่อนั้นไม่ซ้ำกัน แล้วนำไปแขวนห้อยไว้ ตามต้นไม้หรือบริเวณวัด ในตอนเช้าดึกของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 เสร็จแล้วจะมีการตีโปงกลอง ฆ้องระฆัง เป็นสัญญาป่าวร้องให้เปรตมารับเอา พิธีเช่นนี้เรียกว่า แจกข้าวสาก หลังจากนั้นเป็นเรื่องของชาวบ้านที่จะเก็บคืนมา ในบางที่มีการแย่งกันเป็นที่สนุกสนาน ซึ่งตอนนี้ เรียกว่า ชิงเปรต หรือ แย่งข้าวสาก โดยมีความเชื่อถ้องถิ่นที่ผู้เฒ่าผู้แก่ ได้เล่าให้ฟังว่า ผู้ใดแย่งข้าวสากกากเดนเปรตมากินจะเป็นคนที่อ้วนท้วนสมบูรณ์ ปราศจากโรคพยาธิต่างๆ ใบตองที่ห่อข้าวสากก็เอามาเก็บไว้ตามไร่นาตากล้า (สถานที่เพาะข้าวกล้าก่อนปักดำ) เชื่อว่าจะทำให้ข้าวกล้าในนาอุดมสมบูรณ์ดีฉะนั้น การทำบุญข้าวสากจึงเป็น ช่วงที่กำลังอุดมสมบูรณ์ สมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ ธัญญาหาร\\(พวงพิกุล มัชฌิมา, ม.ป.ป : 66)\\อ้างอิง\\\\พระมหาเปรม โอภาโส (กองคำ). (2541). ศึกษาวิเคราะห์ศรัทธาของชาวพุทธไทยในปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ : \\หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย.\\พวงพิกุล มัชฌิมา. (2537). บุญข้าวประดับดินและบุญข้าวสากบ้านกุดรัง ตำบลกุดรัง อำเภอบรบือ จังหวัด\\มหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ : การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ \\มหาสารคาม.\\บ้านหนองกุงเซิน. (2558). ค้นเมื่อ 26 เมษายน 2561, จาก http://www.thaitambo.com\\ทองจันทร์ ตรีชาลี. (25 เมษายน 2561). สัมภาษณ์. ชาวบ้านหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น\\สมจิตร หมื่นไธสง. (25 เมษายน 2561). สัมภาษณ์. ชาวบ้านหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ :   ข้าวสาก, บุญข้าวสาก, งานบุญอีสาน, ความเชื่อ, ทำบุญหาคนตาย, บุญแจกข้าว
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :   วานิช หมื่นไธสง
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
ระดับชั้น :   ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
สาขาวิชาของสื่อ :   สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ลักษณะของสื่อ :   ใบงาน
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ
จำนวนข้อมูลจำแนกตามระดับชั้น
จำนวนข้อมูลจำแนกตามประเภทบุคคล