การทอเสื่อจากกก

422      485
 
Creative Commons License
การทอเสื่อจากกก ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.

 แสดงในรูปแบบ e-book

- เล่มที่ 1
 
ชื่อเรื่อง : การทอเสื่อจากกก
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
คำอธิบาย : ชื่อภูมิปัญญา การทอเสื่อจากกกประวัติข้อมูลภูมิปัญญา การทอเสื่อจากต้นกก คุณยายกระเรียน พิมวัน ได้เล่าว่าการท่อเสื่อจะทอหลังจากว่างเว้นจากการทำไร่ ทำนา ทำสวน เสร็จแล้วจะใช้เวลาว่างพากันมาทอเสื่อ การทอเสื่อสมัยก่อนจะพากันจับกลุ่มในการทอเสื่อและการทอเสื่อจะต้องทอเสื่อ 2 คน แต่ปัจจุบันได้ออกแบบฟืม ในการทอเสื่อแค่คนเดียวเพราะบางคนอาจจะไม่ว่างหรือเวลาว่างไม่ตรงกันทำให้ปัจจุบันนิยมทอเสื่อคนเดียวเมื่อมีเวลาว่างก็จะมานั่งทอเสื่อ สมัยก่อนการทอเสื่อจะเป็นการทอจากต้นไหล แต่ปัจจุบันนี้เปลี่ยนมาเป็นทอเสื่อจากต้นกก เนื่องจากต้นไหลมักจะเป็นโรค แมงกิน ไม่มีความทนทาน เหมือนต้นกก ดูแลยาก และเวลาปลูกต้นไหล จะต้องปลูกบ่อยดูแลบ่อย แต่ต้นกกนั้น ปลูกครั้งเดียว ไม่ต้องดูแลมากมาย และเวลาตัดไปทอเสื่อ ก็แค่มาพรวนดินใส่ปุ๋ยนิดหน่อยก็โตไว ใช้ได้อีก ไม่ต้องขุดมาปลูกใหม่ นี่คือข้อแตกต่างและสาเหตุที่เปลี่ยนจาก ต้นไหล มาเป็นต้นกกในปัจจุบันกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก) เป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นจาก พ่อแม่ ปู่ยา ตายาย สืบกันมาเพื่อถ่ายทอดให้คนรุ่นหลังได้มีอาชีพติดตัว และสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและสามารถทอเสื่อเพื่อใช้ในครัวเรื่องการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา) ขั้นตอนและวิธีการทอเสื่อจากต้นกกขั้นตอนที่ 1 นำต้นกกมาจักให้เป็นเส้นแล้วเอาไปตากแดดให้แห้ง ขั้นตอนที่ 2 หลังจากนั้นนำไหลมาสอย เอาไส้ทิ้งเอาแต่เส้น ไหล 1 ลำจะได้ 4 เส้น ขั้นตอนที่ 3 เมื่อสอยไหลแล้วก็จะออกมาเป็นลักษณะแบบนี้ ไหลทั้ง4เส้นจะต้องเท่ากัน ห้ามมีเส้นใดเส้นหนึ่งเล็กและใหญ่กว่า ความหนาบางต้องเท่ากัน 0.5 เซนติเมตร เพื่อทอเสื่อออกมาให้สวยงาม จะได้ 4 เส้น ขั้นตอนที่ 4 นำไหลมาตากให้แห้ง จะย้อมได้สวยตากแดดประมาณ 1 อาทิตย์ขั้นตอนที่ 5 ต้องใช้สมาธิในการจัดเส้น เส้นต้องเสมอกัน จัดให้แน่นเรียบละเอียดขั้นตอนที่ 6 นำกกมาย้อมสีตามที่ต้องการโดยสีที่ย้อมเป็นสีเคมีอย่างดีวิธีการย้อม1.เลือกสีสำหรับย้อมที่มีสีสันสวยงาม เช่น สีแดง สีบานเย็น สีม่วง 2. ก่อไฟแล้วนำปี๊ป หรือกระทะใส่น้ำพอประมาณท่วมเส้นกกนำมาตั้งบนเตารอให้น้ำเดือดก็นำสีที่เลือกมาเทลง จากนั้นกำไหลลงย้อม3.นำเส้นกกที่ย้อมสีแล้วลงล้างในน้ำเปล่าเพื่อให้กกอ่อนนุ่ม ยืดหยุ่น เหนียว และไม่ขาด ซึ่งจะง่ายต่อการทอทอแล้วนำไปตากแดดที่จัดจนแห้ง 4. นำเส้นกกที่ย้อมสีตากแห้งแล้วมากเก็บมัดรวมกัน โดยแยกเป็นสี แต่ละสี ขั้นตอนที่ 7 นำเชือกไนลอนหรือเชือกเอ็นขึงที่โฮมทอเสื่อให้เป็นเส้นตามโฮมและฟืมนำกกสอดเข้ากับไม้สอดเพื่อที่จะสอดเข้ากับโฮมทอเสื่อ เมื่อสอดกกเข้าไปแล้วผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้กกหรือไหลแน่นติดกันขั้นตอนที่ 8 เมื่อสอดกกเข้าไปแล้วผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้กกแน่นติดกันขั้นตอนที่ 9 เริ่มขั้นตอนการทอเสื่อจากต้นกกไปเรื่อยๆขั้นตอนสุดท้ายคือการเย็บขอบเสื่อ ตัดขอบเสื่อกกที่ทอเสร็จแล้วให้เท่ากัน ผ้าที่ใช้ในการเย็บขอบต้องเป็นผ้าร่มเลือกขอบตามที่ต้องการ การเย็บขอบจะต้องใช้เครื่องจักรไฟฟ้า (ในการเย็บขอบเสื่อที่เป็นผ้าแต่ละสีจะต้องไปจ้างผืนละ 50 บาท ค่าเย็บขอบ) สื่อที่ทอออกมาก็จะได้เป็นเส้นเล็กๆสวยงามการทอเสื่อที่สวยงามนั่นต้องใช้คามปราณีตและความอดทนสูงเพราะการทอเสื่อต้องใช้ระยะเวลาในการทอมาก จึงจะได้เสื่อที่สวยงามมาก และอีกอย่างหนึ่งก็คือการใช้สีในการใส่ลวดลายให้เกิดสีสรรค์สวยงามตามใจผู้ทำ (คุณยายทอเสื่อจากกกวันที่ไปสัมภาษณ์คุณยาย ทอสีธรรมชาติของต้นกก แต่คุณยายก็เอาเสื่อที่ลวดลายต่างให้ดู)การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล) การสอบถามภูมิปัญญาท้องถิ่นจากผู้รู้ การจดจำ และการค้นหาข้อมูลตามเอกสารการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)การถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นความรู้ติดตัวและสามารถถ่ายทอดให้ลูกหลานได้สืนทอดต่อไปได้พิกัด (สถานที่) 166 หมู่ที่ 11 บ้านนาเชือกเหนือ ตำบลนาเชือก อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ 46120ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นางสาววุฒิมาศ นาพรมหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4รายวิชา ความเป็นครู (800 5201)เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นคณะ ศึกษาศาสตร์สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน วิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่อาจารย์ผู้สอน 1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
คำอธิบาย :
คำสำคัญ : กก, การทอเสื่อกก, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, หัตถกรรม, การทอเสื่อ
คำสำคัญ :
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : กระเรียน พิมวัน
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
ผู้แต่งร่วม :   วุฒิมาศ นาพรม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่งร่วม :  
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
ระดับชั้น :  
ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
ระดับชั้น :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
สาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาขาวิชาของสื่อ :  
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
ลักษณะของสื่อ :   ข้อมูลปฐมภูมิ, ใบงาน, รูปภาพ, VDO Clip
ลักษณะของสื่อ :  
{{setMessages['relation.media']}}
URL : -
URL :
:
กระเรียน พิมวัน, วุฒิมาศ นาพรม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). การทอเสื่อจากกก, 27 มีนาคม 2562. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/102875
กระเรียน พิมวัน, วุฒิมาศ นาพรม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). "การทอเสื่อจากกก". https://oer.learn.in.th/search_detail/result/102875. (27 มีนาคม 2562)
กระเรียน พิมวัน, วุฒิมาศ นาพรม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. "การทอเสื่อจากกก". 27 มีนาคม 2562: https://oer.learn.in.th/search_detail/result/102875.

ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง

รีวิว : การทอเสื่อจากกก

ไม่พบข้อมูลการรีวิว