ภาพศีรษะพระครูฤาษี

395
291

ภาพศีรษะพระครูฤาษี ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.
ไฟล์ดิจิทัล
ชื่อเรื่อง : ภาพศีรษะพระครูฤาษี |
ชื่อเรื่อง :
|
คำอธิบาย : หัวโขนไทยแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้แก่ ศีรษะเทพยดา ศีรษะพระครู ศีรษะพระ ศีรษะยักษ์ ศีรษะลิง ศีรษะสัตว์ต่างๆ พระครูฤาษีที่เหล่านาฏศิลป์และคีตศิลป์ยกย่องนับถือจะมีประจำทุกคณะสำหรับกราบไหว้บูชา บางทีเรียกว่า"พ่อแก่" ได้แก่ เทพฤาษีนารท ถือว่าเป็นครู ที่เห็นในภาพยนตร์อินเดียจะสะพายพิณ และร้องว่า "นาร้ายนารายณ์" เป็นลักเพศ เมื่อจะทำพิธีไหว้ครูผู้เป็นผู้ประกอบพิธีจะสวมเหนือศีรษะ (ไม่ครอบหน้าเหมือนกับศีรษะโขนตัวอื่นๆ) และจะยกศีรษะพระครูฤาษีครอบเหนือศีรษะศิษย์ที่เข้าพิธี จึงเรียกว่า "การครอบครู" ผู้ที่ผ่านการครอบครูเท่านั้นจึงจะสวมหัวโขนอื่นๆได้ บทบาทในเรื่องรามเกียรติ์คือเป็นผู้บอกวิธีดับไฟที่ปลายหางหนุมาน (จากการเผากรุงลงกา) ว่าให้ใช้น้ำบ่อน้อยคือน้ำลายโดยการอมปลายหาง (นับว่าตรงกับหลักวิทยาศาสตร์ คือทำให้ขาดก๊าซอ็อกซิเจน) ฤาษีคือผู้ที่ตัดวิสัยทางโลกออกบวช นิยมบูชาไฟ ปฏิบัติสมถะภาวนาจนได้ฌาณ งดมังสะ จนเกิดตบะบารมี ถึงขั้นเพ่งกสิณจนเกิดเปลวไฟ เรียกว่าฤาษีตาไฟ ส่วนใหญ่จะมีอำนาจในการสาปแช่งได้ทั้งเทวดาและมนุษย์ มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น มนี ดาบส โยคี เป็นต้น ฤาษีในเรื่องรามเกียรติ์ที่มีบทบาทอยู่หลายตน เช่น ฤาษีโคดม (เป็นพ่อของนางสวาหะ และเป็นตาของหนุมาน เป็นพ่อเลี้ยงของพาลีและสุครีพ) ฤาษีโคบุตร เป็นอาจารย์ของทศกัณฐ์ และเป็นผู้ถอดดวงใจของทศกัณฐ์เก็บไว้นอกกาย ภายหลังถูกหนุมานกับองคตหลอกเอากล่องดวงใจไปขยี้จนตาย ฤาษีชนกเป็นผู้เก็บนางสีดาจากการถูกลอยน้ำและนำมาเลี้ยง โดยใส่ผะอบฝังดินไว้จนเป็นสาว ต่อมาได้จัดแข่งยกศรจนพระรามชนะและได้อภิเษกกับนางสีดา ฯลฯ |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : หัวโขน, พ่อแก่, พระครูฤาษี |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ศิริพงศ์ พยอมแย้ม |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
|
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป, ผู้ปกครอง, นักเรียน / นักศึกษา, ครู / อาจารย์ |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ : สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ |
สาขาวิชาของสื่อ :
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ : รูปภาพ |
ลักษณะของสื่อ :
|
URL : - |
URL : |
: |
ศิริพงศ์ พยอมแย้ม.
(2562). ภาพศีรษะพระครูฤาษี,
8 มกราคม 2562.
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/113323
ศิริพงศ์ พยอมแย้ม.
(2562). "ภาพศีรษะพระครูฤาษี".
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/113323.
(8 มกราคม 2562)
ศิริพงศ์ พยอมแย้ม.
"ภาพศีรษะพระครูฤาษี".
8 มกราคม 2562:
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/113323.
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง
รีวิว : ภาพศีรษะพระครูฤาษี
ไม่พบข้อมูลการรีวิว