การเลี้ยงกบ
97
386
การเลี้ยงกบ ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.
แสดงในรูปแบบ e-book
- เล่มที่ 1 |
ชื่อเรื่อง : การเลี้ยงกบ |
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
|
คำอธิบาย : เลี้ยงกบ\n413 หมู่ 13 ต.หนองเรือ อ.หนองเรือ 40210\n\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา\nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณยายสง่า ศรีวิชา\nที่อยู่ 413 หมู่ 13 ต.หนองเรือ อ.หนองเรือ 40210\nอาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา 4 ปี\n\nชื่อภูมิปัญญา การเลี้ยงกบ\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \n คุณยายสง่า ศรีวิชา เกษตรกรที่เดินตามรอยเท้าพ่อหลวง ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งพาตนเอง มีความเชี่ยวชาญในการเลี้ยงกบในบ่อดินที่เลียนแบบธรรมชาติและบ่อปูน ซึ่งในปัจจุบันกบตามธรรมชาติแทบจะไม่มีให้เราได้พบเห็นกัน เนื่องจากกบเป็นสัตว์ที่มีความนิยมในการบริโภคกันมาก จึงทำให้อาชีพจับกบขาย เป็นอาชีพที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ ทำให้กบที่มีในธรรมชาติหมดไป แม้แต่ลูกอ๊อดที่เกิดขึ้นมา ก็ยังไม่มีโอกาสที่โตขึ้นเป็นกบได้ จึงทำให้เกิดอาชีพการเลี้ยงกบขึ้น ทำให้มีผู้คิดค้นหาวิธีการเลี้ยงกบ และพัฒนาการเลี้ยงกบในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงกบในบ่อดิน บ่อปูน หรือการนำเอายางรถยนต์มาทำเป็นที่เลี้ยงกบ ฯลฯ\n\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\n แต่เดิมกบเป็นอาหารตามธรรมชาติของมนุษย์ มักจะเจอตามลำห้วย หนอง บึง ท้องนา แต่ด้วยทุกวันนี้มีการใช้สารเคมีในการเกษตร มีโรงงานเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ระบบนิเวศที่กบเคยอาศัยอยู่ได้เปลี่ยนไป อีกทั้งความต้องการบริโภคกบก็สูงขึ้น ทำให้การจับกบไม่ได้คำนึงถึงว่าจะต้องปล่อยให้ตัวเล็ก ๆ ได้มีโอกาสเติบโตขยายพันธุ์ต่อไป จับมาขายทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ ทำให้จำนวนกบตามธรรมชาติลดน้อยลงเรื่อย ๆ เกษตรกรจึงมองเห็นโอกาสที่จะสร้างรายได้จากความต้องการกบเพื่อการบริโภค เพราะกบเป็นสัตว์เลี้ยงง่าย ใช้เวลาไม่มาก ลงทุนน้อย และคุ้มค่า มีการทำฟาร์มเลี้ยงกบหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเลี้ยงกบแบบธรรมชาติ การเลี้ยงกบในขวด การเลี้ยงกบคอนโด แบบบ่อซีเมนต์ ฯลฯ และก็มีบางส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากยังขาดข้อมูลสำคัญอยู่ เช่น นิสัยใจคอของกบ พื้นที่ที่เหมาะกับการเลี้ยงกบ เป็นต้น\n\nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\nการเพาะพันธุ์กบ\n การเตรียมพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบสามารถทำได้ 2 วิธี คือ หาตามแหล่งน้ำธรรมชาติหรือซื้อจากแหล่งเพาะเลี้ยงกบ และเพาะเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบขึ้นมาเอง สำหรับผู้เริ่มต้นแนะนำให้หาตามแหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งเพาะเลี้ยงพ่อพันธุ์แม่พันธุ์กบ เนื่องจากหาง่าย มีความทนทานโรค และลงทุนน้อยกว่า\n\n\nการเตรียมบ่อเพาะพันธุ์กบ\n ล้างทำความสะอาดบ่อเพาะพันธุ์ เติมน้ำสะอาดใส่บ่อให้ลึกประมาณ 5-7 ซม. และไม่ควรให้ระดับน้ำสูงเกินไปกว่านี้เพราะไม่สะดวกในการที่กบตัวผู้จะโอบรัดตัวเมีย เพราะว่าขณะที่กบตัวเมียเบ่งไข่ออกมาจากท้อง จะต้องใช้ขาหลังยันที่พื้น ถ้าน้ำลึกมากขาหลังจะยันพื้นไม่ถึงและจะลอยน้ำทำให้ไม่มีพลัง เป็นเหตุให้ไข่ออกมาไม่มาก เตรียมฝนเทียม โดยทั่วไปกบจะจับคู่ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝน แต่เราจะเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำท่อ PVC ขนาดครึ่งนิ้ว มาเจาะรูเล็กๆ ตามท่อต่อน้ำเข้าไปและให้น้ำไหลออกได้คล้ายฝนตก แล้วนำท่อท่อนนี้ไปพาดไว้บนปากบ่อหรือหลังคาคลุมบ่อ และเปิดใช้เวลาที่จะทำการผสมพันธุ์กบ \n\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)\nคุณยายสง่า ศรีวิชา ใช้การจดจำและการเล่าสู่กันถ่ายทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นหลัง\n\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\n 1. จัดทำเป็นแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้บุคคลที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้\n 2. สนับสนุนและพัฒนาการเลี้ยงกบให้เป็นเอกลักษณ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้\n 3. พัฒนาให้เกิดรายได้แก่ตนเองและชุมชน\n\nพิกัด (สถานที่)\n\n\n \n\n\n\n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\nชื่อผู้ศึกษา นางสาวธัญพิมล สวัสดิ์ทา\n\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4\nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201)\nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น\nคณะ ศึกษาศาสตร์\nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนหนองเรือวิทยา\nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : การเลี้ยงกบ, กบ, การเพาะเลี้ยงกบ, สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : สง่า ศรีวิชา |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
|
ผู้แต่งร่วม : ธัญพิมล สวัสดิ์ทา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ :
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ :
{{setMessages['relation.media']}}
|
URL : - |
URL : |
: |
สง่า ศรีวิชา, ธัญพิมล สวัสดิ์ทา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
(2561). การเลี้ยงกบ,
26 มีนาคม 2562.
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/121456
สง่า ศรีวิชา, ธัญพิมล สวัสดิ์ทา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
(2561). "การเลี้ยงกบ".
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/121456.
(26 มีนาคม 2562)
สง่า ศรีวิชา, ธัญพิมล สวัสดิ์ทา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
"การเลี้ยงกบ".
26 มีนาคม 2562:
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/121456.
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง
รีวิว : การเลี้ยงกบ
ไม่พบข้อมูลการรีวิว