สนามเด็กเล่นตอนที่หนึ่ง

155      103
 
Creative Commons License
สนามเด็กเล่นตอนที่หนึ่ง ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.

 
ชื่อเรื่อง : สนามเด็กเล่นตอนที่หนึ่ง
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
คำอธิบาย : เขียนเรื่องนี้ใกล้กับวันเด็กพอดีเลย ถ้าพูดถึงเด็กผมก็มักคิดถึงหลายๆเรื่อง ที่แวบมาก่อนเพื่อนก็คือ สนามเด็กเล่น\n\nโรงเรียนผมคือ #โรงเรียนวัดพลับพลาศิริวิทยา เป็นโรงเรียนวัดเล็กๆอยู่หลัง #โรงเรียนสตรีนนทบุรี เป็นโรงเรียนวัดที่ล้อมรอบด้วยสุเหร่า คือ นักเรียนนับถือทั้งศาสนาพุทธและอิสลาม ปนกัน โดยมีครูใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ครบถ้วนทุกศาสนา\n\nมีเรื่องให้คิดถึงมากมายที่โรงเรียนนี้ที่ปัจจุบันไม่มีอยู่แล้ว แต่ก่อนผมจะแชเชือนไปมาก ขอกลับมาเรื่องเล่นดีกว่า\n\nเด็กนักเรียนสมัยนั้นยังไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีมือถือ การเล่นของรุ่นเราจึงออกไปทางใช้เรี่ยวแรงกันมากกว่า\n\nและเวลาเด็กเล่น เราก็เล่นกันอย่างจริงจังสุดๆ สนุกเต็มที่ หัวเราะและร้องไห้กันอย่างไม่ต้องอั้น\n\nการละเล่นหลักๆที่เล่นกัน ถ้าของเหล่าเด็กผู้หญิงก็คือ กระโดดหนังยาง พวกหล่อนก็เล่นกันอย่างทุ่มเท ถึงขนาดถอดรองเท้าหรือถุงเท้าโดดกันเลยทีเดียว ไล่ทีละอี (ขออภัยที่ไม่สุภาพ) ไป อย่าง อีตาตุ่ม...อีแข้ง..อีเข่า..อีตะโพก...อีเอว...อีอก...อีคอ...อีหู...อีหัว และ อีชู นอกจากทุ่มเทสุดๆแล้ว พวกหล่อนยังเก่งเสียจนพวกเราผู้ชายยังยอมแพ้\n\nเด็กกลุ่มที่ห้าวหน่อยจะเล่น ‘โบราณเรียกชื่อ’ โดยจะใช้ลูกปิงปองนี่แหละ คนโยนคนแรกก็จะโยนลูกให้สูงที่สุด แล้วตะโกนเรียกชื่อเพื่อน\n\nคนที่ถูกเรียกต้องรีบวิ่งมารับลูกปิงปองให้ได้ก่อนตกถึงพื้น ถ้ารับได้ก็โยนและเรียกชื่อคนอื่นต่อไป\n\nถ้ารับไม่ได้ต้องเอาลูกปิงปองนั้น ปาอัดใส่ใครก็ได้ แล้วคนที่โดนปาก็จะเป็นคนเริ่มใหม่\n\nเป็นการเล่นที่ตื่นเต้นมากและก็เจ็บๆแสบๆคันๆด้วยถ้าโดนลูกปิงปองปาใส่ ไม่รู้ทำไมถึงเรียก ‘โบราณเรียกชื่อ’ เหมือนกัน\n\nที่ฮิตกว่านั้นก็คือ การทอยเส้น ด้วย‘ตุ๊กตุ่น’ ที่ไม่เห็นเด็กสมัยนี้เล่นกันแล้ว\n\n#ตุ๊กตุ่น ก็คือ หุ่นพลาสติกตัวเล็กๆทำเป็นรูปยอดมนุษย์ เช่น ไอ้มดแดง หรือ อุลตร้าแมน ที่ขายตามร้านชำ หรือร้านของเล่นหน้าโรงเรียน มักจะมียี่ห้อเดียวคือยี่ห้อที่ปั๊มตรามดแล้วมีถาษาญี่ปุ่นยึกยือกำกับไว้ ถือเป็นสมบัติอันล้ำค่าของเด็กผู้ชายสมัยนั้นทีเดียว ตุ๊กตุ่นจะมีสองแบบคือ ทำจากพลาสติกสีโปร่งแสงเรียก ตุ๊กตุ่นใส กับแบบทึบแสงที่เราเรียกว่า ตุ๊กตุ่นแข็ง\n\nเวลาใช้ทอยเส้น เราจะใช้ตุ๊กตุ่นใส เพราะว่ากันว่า ‘หนึบดี’ หนึบก็คือได้น้ำหนัก พอปาไปแล้วหยุดอยู่กับที่ ไม่กระเด้งกระดอนไปจากเส้นเป้าหมาย บางคนอยากให้หนึบมากขึ้น ก็จะใช้ลวดพันแขนขาตุ๊กตุ่นไว้อีกด้วย\n\nการทอยเส้น เราก็จะขีดเส้นสองเส้น ห่างกันสัก 5 เมตร ยืนหลังเส้นแรก แล้วก็โยนตุ๊กตุ่นไปให้ใกล้อีกเส้นที่สุด ถ้าทับเส้นเรียกว่า ‘คาบเส้น’ คนที่ทอยใกล้สุดก็จะเอา ตุ๊กตุ่นของตน ปาให้โดนของเพื่อน เรียกว่า ‘เตี๊ยม’ ใครเตี๊ยมโดนก็ได้กินไป ซึ่งก็จะกินหรือจ่ายกันด้วย ตุ๊กตุ่นทึบ ใครเตี๊ยมไม่โดนก็อดกิน ต้องให้คนที่ใกล้เส้นที่สุดคนถัดไปเตี๊ยม เพื่อกินคนอื่นแทน\n\nและเรื่องหลักของวันนี้คือ #ดีดลูกหิน\n\nลูกหินก็คือ ลูกทรงกลมป๊อก ทำจากอะไรก็ได้มีหลายแบบ ราคาก็ตั้งแต่ ลูกหินดินเผาธรรมดาๆราคา 50 สตางค์ไปจนถึงลูกสีขาวจั๊วที่เราเรียกว่าลูกหินอ่อนราคา 2 บาท\n\nวิธีเล่นก็คือใช้ส้นเท้ากดไปในดินให้เป็นหลุมสวย หลังจากนั้นก็ต่างคนทอยลูกหินของตนให้ใกล้หลุมที่สุด\n\nคนใกล้สุดจะได้ดีดลูกหินของตนไปกระแทกของคนไกลกว่าถัดไปเรื่อยๆ โดยทุกครังที่จะดีดลูกที่อยู่ไกลมาก เราสามารถย่นระยะด้วยการดีดลูกหินเราให้ลงหลุม เรียกว่า การหยอด\n\nเรื่องก็คือ ผมมีลูกหินราคาถูกๆอยู่ลูกนึง แต่เป็นลูกหินคู่มือที่แทบไม่เคยพ่ายแพ้ใคร เป็นลูกหินที่รักและมั่นใจมาก\n\nวันนึงเพื่อนคนนึงเอาลูกเหล็กขนาดค่อนข้างใหญ่มาเล่น ซึ่งมันคงเคยเป็นลูกปืนรถยนต์ที่อยู่ในล้อรถเพื่อลดการเสียดทานน่ะ\n\nด้วยความมั่นใจ ผมท้าทายให้เค้าดีดลูกเหล็กนั่นใส่ลูกหินของผมเต็มแรง ซึ่งเค้าก็รับและดีดลูกหินสุดรักของผมไปเสียจนไกลริบ\n\nด้วยความเป็นห่วง ผมรีบวิ่งไปดูลูกหินของผม ปรากฏว่า สิ่งที่เหลือคือ ซากที่แตกกระจัดกระจายเป็นเสี่ยงๆของลูกหินของผมเอง\n\nแม้จะเป็นฝ่ายท้าทายเค้าเอง และตัวผมเองก็ไม่เป็นคนที่พูด ‘มึงๆกูๆ’ แต่วินาทีนั้นด้วยน้ำตาที่เอ่อท้น ความคิดของผมมันพูดขึ้นว่า ‘มึงใช้ลูกเหล็ก มึงโกงกู’\n\nขออภัยที่วันนี้อาจยาวหน่อยเพราะต้องเลคเชอร์กติกาให้ฟังกันทีละการละเล่น นี่ยังไม่นับโปลิศจับขโมย หรือซ่อนแอบ ที่เด็กสมัยนี้ยังเล่นกันอยู่\n\nยังมีการละเล่นอื่นอีกบ้าง ไว้ต่อในตอนที่สองเมื่อโอกาสอำนวยนะฮะ
คำอธิบาย :
คำสำคัญ : ภาพวาด, วิถีชีวิต, ห้องครัว, บ้านสวน, งานศิลปะ, วิถีชาวบ้าน, สนามเด็กเล่น, เด็ก, นักเรียน
คำสำคัญ :
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : เพจเด็กบ้านสวน
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
ผู้แต่งร่วม :  
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
ระดับชั้น :  
ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
ระดับชั้น :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
สาขาวิชาของสื่อ :  
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
ลักษณะของสื่อ :  
{{setMessages['relation.media']}}
URL : -
URL :
:
เพจเด็กบ้านสวน. (2563). สนามเด็กเล่นตอนที่หนึ่ง, 7 เมษายน 2563. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/178967
เพจเด็กบ้านสวน. (2563). "สนามเด็กเล่นตอนที่หนึ่ง". https://oer.learn.in.th/search_detail/result/178967. (7 เมษายน 2563)
เพจเด็กบ้านสวน. "สนามเด็กเล่นตอนที่หนึ่ง". 7 เมษายน 2563: https://oer.learn.in.th/search_detail/result/178967.

ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง

รีวิว : สนามเด็กเล่นตอนที่หนึ่ง

ไม่พบข้อมูลการรีวิว