สนามหลวง

52
78

สนามหลวง ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.
ไฟล์ดิจิทัล
ชื่อเรื่อง : สนามหลวง |
ชื่อเรื่อง :
|
คำอธิบาย : #สนามหลวง #เด็กบ้านสวนสถานที่ไกลที่สุดที่ผมเคยไปเที่ยวสมัยก่อน ก็คงเป็นที่ #สนามหลวง นี่แหละฮะผมเคยมาที่นี่เพียง 2-3 ครั้งเท่านั้น ครั้งนึงแค่ผ่านๆ เพราะพ่อแม่พามาที่บางลำภู รู้สึกเป็นที่ที่เจริญมากๆ เป็นเมืองอย่างเต็มรูปแบบยิ่งกว่าในตัวตลาดนนท์เสียด้วยซ้ำ ตอนนั้นยังมีเพียงสามห้างสรรพสินค้าที่ผมรู้สึกว่า ล้ำยุคสุดๆเพราะมีบันไดเลื่อนด้วย คือ ห้างบางลำภู ตั้งฮั่วเส็ง และ ห้างแก้วฟ้าพลาซ่า ส่วนห้างนิวเวิลด์ นี่ผมไม่แน่ใจว่าตอนนั้นมีหรือยัง ปัจจุบันนี้เหลือเพียง ตั้งฮั่วเส็ง เท่านั้นอีกครั้งที่เข้าไปสัมผัสสนามหลวงด้วยตนเอง คือ ตอนเรียน มัธยม คุณครูให้ไปซื้อหนังสือ หรือโปสเตอร์ประกอบการศึกษา จากที่นั่นมาประกอบการเรียน แหละฮะหลายท่านคงจำภาพ #สนามหลวง สมัยนั้นได้ว่าครึกครื้นและแออัดขนาดไหน มากกว่าในภาพที่ผมเขียน 3-4 เท่าเลยแหละฮะ ถ้าว่ากันตามจริงภาพนี้ เราคงเห็นแต่ทิวร่มกันแดด และผ้าใบหลังคาร้านค้า เต็มพรืดสุดลูกหูลูกตาไปหมดทั้งสนามหลวงเลยครับทุกวันเสาร์อาทิตย์ รอบๆสนามหลวงจะกลายเป็นตลาดนัดขนาดมหึมา มีของทุกอย่างตั้งแต่ของมือสองถูกๆ เสื้อผ้า ไปจนถึงของสะสมจากต่างประเทศถนนภายในรอบสนามหลวงที่ท่านเห็นทุกวันนี้ จะเป็นร้านค้าที่มาจากทุกที่ในประเทศไทย สินค้าเกษตรตรงจากแหล่ง ทั้งไข่ เป็ด ไก่ ผักปลา ข้าวสารอาหารแห้ง หอมกระเทียม มาจากผู้ผลิตโดยตรงกันเลยทีเดียว ก็คงคล้ายๆงานเกษตรสมัยนี้แหละครับด้านในสนามหลวงด้านทิศเหนือที่หันมาทาง กรมประชาสัมพันธ์นั้น จะมีเต๊นท์มากมายกางไว้ขายของจำพวกสัตว์เลี้ยงต่างๆ ทั้งหมาแมว และปลาสวยงาม ซึ่งถ้านึกภาพจริงไม่ออก ก็ให้นึกถึงจตุจักร เพราะว่าใกล้เคียงที่สุดส่วนทางด้านทิศใต้ ก็จะเป็นพื้นที่โล่ง ไว้ให้คนวิ่งว่าว เช่าเสื่อปูกินอาหาร โดยมีพ่อค้าแม่ค้าหาบของมาขายกันถึงเสื่อทีเดียว และมีกิจการเช่าจักรยาน ปั่นเล่นกันด้วยนะฮะสมัยนั้นส่วนถนนผ่ากลางสนามหลวงที่อยู่ระหว่าง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับ ศาลฎีกา ก็จะเป็นที่ตั้งร้านค้าของกินหลากหลายมากมาย ทั้งรถเข็นที่เอาโต๊ะเก้าอี้มาตั้ง มีทุกอย่างให้เลือกสรรกินเอา อีกทั้งยังมีหาบของกินตั้งแต่ขนมจีน ของปิ้งย่าง ข้าวเหนียวส้มตำที่นั่งกินกันตรงหาบนั่นแหละฮะ คึกคักสนุกดีเหลือเกินสำหรับนักชอปปิ้งสมัยนั้นส่วนรอบๆพระแม่ธรณีบีบมวยผม จะเป็นแหล่งของแผงหนังสือ ทั้งมือหนึ่งมือสอง แหล่งขายงานศิลปะโปสเตอร์ ภาพวาดและแสตมป์ครับตรงด้านหลังศาลฎีกา จะเป็นเหล่าร้านต้นไม้มากมาย โดยพ่อค้าแม่ค้าจะเอาต้นไม้ใส่เรือพายเข้ามาในคลองหลอด แล้วเอาขึ้นมาตั้งขายกันตรงข้างๆและข้างหลังศาลนั่นแหละฮะทุกท่านคงจำกันได้ถึง ‘หมอดูต้นมะขาม’ สมัยก่อน จริงๆยังมีอีกอย่างที่เป็นอาชีพน่ารักน่าสนุกทีเดียว อยู่ในภาพ ผมเขียน‘ปาหี่งูกับพังพอน’ และ ‘ปาหี่อับดุลรู้หมด’อยู่ด้วย ลองหากันดูเล่นๆนะฮะสมัยก่อนมักมีมิจฉาชีพวิ่งราวกระเป๋ากันเนืองๆ ผมก็เขียนไว้ด้วย ท่านผู้อ่านจะเห็นมั้ยเอ่ยหลังจากนั้นไม่นาน ประมาณปี 2525-26 ท่านนายกฯเปรม ก็ให้ย้ายสนามหลวงไปอยู่ ตลาดจตุจักรอย่างที่ทราบกัน ท่ามกลางการประท้วงของพ่อค้าแม่ค้าอยู่เนืองๆ ทยอยๆไปทีละส่วน โดยที่ไปหลังใครสุดก็คือเหล่าแผงหนังสือตรงรอบพระแม่ธรณีฯแหละฮะเป็นบรรยากาศกรุงเทพฯที่เคยเป็นอีกอย่างหนึ่งที่ผมอดคิดถึงไม่ได้ ถ้าภาพไม่ละเอียดพอผมก็ขออภัยนะที่นี้นะฮะ เพราะการอัดสนามหลวงทั้งสนามไว้ในกระดาษ A4 เนี่ย มันถือเป็นอะไรที่ใหญ่เกินตัวผมเหมือนกันครับ |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : วิถีชีวิต, ห้องครัว, ภาพวาด, งานศิลปะ, วิถีชาวบ้าน, สนามหลวง, บ้านสวน |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : เพจเด็กบ้านสวน |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
|
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป, ครู / อาจารย์, ผู้ปกครอง |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ : ศิลปะ, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
สาขาวิชาของสื่อ :
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ : รูปภาพ |
ลักษณะของสื่อ :
|
URL : https://www.facebook.com/dekfarmhouse/ |
URL : |
: |
เพจเด็กบ้านสวน.
(2563). สนามหลวง,
24 กรกฎาคม 2563.
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/185985
เพจเด็กบ้านสวน.
(2563). "สนามหลวง".
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/185985.
(24 กรกฎาคม 2563)
เพจเด็กบ้านสวน.
"สนามหลวง".
24 กรกฎาคม 2563:
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/185985.
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง
รีวิว : สนามหลวง
ไม่พบข้อมูลการรีวิว