ลิ้นมังกร

6
3

ลิ้นมังกร ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามดัดแปลงและห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.
ชื่อเรื่อง : ลิ้นมังกร |
ชื่อเรื่อง :
|
คำอธิบาย : ลิ้นมังกร (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dracaena trifasciata; อังกฤษ: snake plant, Saint George's sword หรือ mother-in-law's tongue) เป็นพืชในวงศ์ Asparagaceae เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ใบเดี่ยว สีเขียวเข้มแกมเทา อวบน้ำ ดอกช่อ สีขาวมีกลิ่นหอม เป็นพืชท้องถิ่นในแอฟริกาตะวันตกตั้งแต่ไนจีเรียถึงคองโก ใช้เป็นไม้ประดับ ใบใช้ตำละเอียด แก้พิษตะขาบ แมงป่อง เป็นไม้ล้มลุกหลายปี ไม่ผลัดใบ มีไหลใต้ดิน เป็นข้อปล้องสั้นๆ บางครั้งอยู่เหนือพื้นดิน ใบแข็งหนาตั้งตรง รูปใบหอก บางครั้งบิดเล็กน้อยหรือบิดเป็นเกลียว ปลายเรียวแหลม ขอบเรียบ ใบที่โตเต็มที่มีสีเขียวเข้มถึงเขียวอมเทา มีแถบสีเขียวอ่อนหรือสีเทาอมเขียวพาดขวางเป็นระยะตลอดความยาวใบ เป็นลวดลายอยู่ที่แผ่นใบ ในพันธุ์ปลูกต่าง ๆ มีสีและลวดลายที่ต่างกัน บางชนิดมีเส้นใยเหนียวที่ใช้ทำเชือก ใบมักมีความยาวตั้งแต่ 70–90 เซนติเมตร (2.3–3.0 ฟุต) กว้าง 5–6 เซนติเมตร (2.0–2.4 นิ้ว) และอาจยาวได้ถึง 2 เมตร ( 6 ฟุต) หากเติบโตในสภาวะที่เหมาะสม ช่อดอกออกจากซอกกาบใบ มักชูสูงพ้นพุ่มใบ มีหลายรูปแบบ ทั้งช่อเชิงลด (spike) ช่อกระจะ (raceme) ช่อกระจะแยกแขนง (racemose panicle) บางชนิดเป็นช่อกระจุกที่โคนต้น แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ดอกสีขาวถึงสีขาวอมชมพู มีวงกลีบรวมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 กลีบบานจากล่างขึ้นบนในช่วงเย็นถึงช่วงเช้าของวันรุ่งขึ้น และมีกลิ่นหอม[8] กลีบดอก 6 กลีบ เกสรตัวผู้ 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน ผลมีเนื้อนุ่ม เมื่อสุกมีสีแดงอมส้ม ภายในมี 1–2 เมล็ด ลิ้นมังกรเป็นพืชกลางคืน ปิดปากใบเวลากลางวัน เปิดปากใบเฉพาะตอนกลางคืนเท่านั้นเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหยในแสงแดดที่ร้อนจัด และเพื่อดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์พร้อมทั้งคายความชื้นและปล่อยก๊าซออกซิเจนออก พืชจะนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เก็บไว้ในตอนกลางคืนมาใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงในตอนเช้า ซึ่งเรียก กระบวนการสังเคราะห์แสงของกรดคราซุลาเซน (crassulacean acid metabolism, CAM) ซึ่งเป็นลักษณะที่พบได้ทั่วไปในพืชอวบน้ำหลายชนิดที่ต้องทนต่อสภาพแห้งแล้ง ลักษณะกระบวนการสังเคราะห์แสงของพืชกลุ่มนี้จะสลับกับพืชทั่วไป ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางคืนได้ดี จึงทำให้หลายคนนิยมนำเอาพืชกลุ่มนี้มาตกแต่งในอาคาร |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : ลิ้นมังกร |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ปริชญา มุทธากิจ |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
|
ผู้แต่งร่วม : สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา |
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ผู้ปกครอง, นักเรียน / นักศึกษา, ครู / อาจารย์, ทั่วไป |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
ปฐมวัย, ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี |
สาขาวิชาของสื่อ :
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ : รูปภาพ |
ลักษณะของสื่อ :
|
URL : - |
URL : |
: |
ปริชญา มุทธากิจ, สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา.
(2564). ลิ้นมังกร,
23 สิงหาคม 2567.
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/231591
ปริชญา มุทธากิจ, สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา.
(2564). "ลิ้นมังกร".
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/231591.
(23 สิงหาคม 2567)
ปริชญา มุทธากิจ, สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา.
"ลิ้นมังกร".
23 สิงหาคม 2567:
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/231591.
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
รีวิว : ลิ้นมังกร
ไม่พบข้อมูลการรีวิว