อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี
5,270
809
อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มา 3.0 Thailand.
ไฟล์ดิจิทัล
ชื่อเรื่อง : อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี |
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
|
คำอธิบาย : อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา (โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี) อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา อ่านว่า "นะ - รึ - บอ - ดิน - ทระ - จิน - ดา" มีความหมายว่า "อ่างเก็บน้ำที่สร้างขึ้นตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช" มีความจุ ๒๙๕ ล้านลูกบาศก์เมตร เก็บกักน้ำจากแควโสมงไม่ให้ไหลลงสู่อำเภอกบินทร์บุรี ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๕๙ - ปัจจุบัน รวมปริมาณน้ำสะสม ๒๒๗.๗๐ ล้านลูกบาศก์เมตร.........................................................................................................โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ธารน้ำพระทัยอันยิ่งใหญ่ สู่ชาวปราจีนบุรี “น้ำ” ปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของทุกคนและสรรพชีวิต “น้ำ” เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่สามารถขาดได้ ไม่ว่าจะไว้ใช้ในการอุปโภคหรือบริโภคก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริและได้มีโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำขึ้นมากมาย ในทั่วประเทศ เพราะพระองค์ทรงเห็นความสำคัญและความยากลำบาก เมื่อประชาชนขาดแคลนน้ำ หนึ่งในหลายๆ โครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแหล่งน้ำ คือการพระราชทานพระราชดำริสร้างอ่างเก็บน้ำ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก กลาง หรือใหญ่ พระองค์ได้พระราชทานไว้มากมาย หนึ่งในอ่างเก็บน้ำทั้งหลาย คือ โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นโครงการชลประทานขนาดใหญ่ โครงการห้วยโสมงฯ ตั้งอยู่ในเขตตำบลแก่งดินสอ และพื้นที่ชลประทานอยู่ในเขตตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี ตำบลเมืองเก่า ตำบลบ่อทอง และตำบลบ้านนา อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี โครงการห้วยโสมงฯ เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานแนวพระราชดำริเกี่ยวกับโครงการห้วยโสมงครั้งแรกตั้งแต่ เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๒๑ และยังมีพระราชดำริอีกหลายโอกาสระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๔๔ จนกระทั่งปี ๒๕๓๒ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการอนุมัติให้ดำเนินโครงการ ในปี ๒๕๓๘ ได้ทำการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการแล้วเสร็จ ต่อมาได้มีการศึกษาปรับปรุงรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมใหม่อีก ๒ ครั้งแล้วเสร็จในปี ๒๕๔๖ ต่อมาเมื่อ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๘ อุทยานแห่งชาติทับลานและอุทยานแห่งชาติปางสีดาได้รับการประกาศเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ เมื่อ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๔๘ ซึ่งพื้นที่ที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโสมงบางส่วนประมาณ ๒,๗๒๘ ไร่ อยู่ในพื้นที่ของทั้ง ๒ อุทยาน ทำให้โครงการหยุดชะงัก ต้องมีการศึกษาความเหมาะสมโครงการใหม่อีกครั้ง โดยกรมชลประทานได้จ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษาในปี ๒๕๕๐ จนกระทั่งวันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกอนุมัติให้กรมชลประทานใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลานและอุทยานแห่งชาติปางสีดาเพื่อก่อสร้างโครงการได้ และในวันที่ ๒๖ เดือนเดียวกัน คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติมีมติในการประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๕๒ เห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบวงเงินและระยะเวลาดำเนินการก่อสร้าง และในปี ๒๕๕๓ กรมชลประทานก็ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโสมงฯ ขึ้นที่บ้านแก่งยาว ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งจะเป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ประกอบด้วย ๒ ส่วนสำคัญ คือ ส่วนของอ่างเก็บน้ำมีความจุเต็มที่ ๒๙๕ ล้านลูกบาศก์เมตร และส่วนของระบบส่งน้ำให้กับพื้นที่เกษตรกรรม ๑๑๑,๓๐๐ ไร่ ซึ่งใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างตั้งแต่ปี ๒๕๕๓-๒๕๖๑ รวม ๙ ปี ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ๘,๓๐๐ ล้านบาท โครงการห้วยโสมงฯ เกิดขึ้นจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานไว้ ตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรใช้ทำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง และมีน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคตลอดปี และเพื่อสนองพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงห่วงใยเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการ จึงได้พระราชทานพระราชดำริความว่า "การก่อสร้างโครงการที่อยู่ในเขตพื้นที่ป่า ควรมีการฟื้นฟูสภาพป่า พัฒนาอาชีพ ให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ รวมถึงการประชาสัมพันธ์ ให้ทุกฝ่ายรับรู้และเข้าใจโครงการด้วย" ดังนั้น สำนักงาน กปร. กรมชลประทานร่วมกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดปราจีนบุรี ได้ดำเนินการพัฒนาอาชีพให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการห้วยโสมงฯ มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ และในปี ๒๕๕๙ จะขยายพื้นที่ด้านพัฒนาอาชีพให้แก่ราษฎรกลุ่มพื้นที่รับประโยชน์ในเขตชลประทานฝั่งซ้ายและฝั่งขวาต่อไปด้วย ปัจจุบัน กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประกอบด้วย ตัวเขื่อน อาคารระบายน้ำล้น ท่อส่งน้ำฝั่งซ้าย อาคารระบายน้ำลงลำน้ำเดิม มีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ ๖๐ พร้อมกับได้มีการปลูกป่า ฟื้นฟูสภาพพื้นที่รอบโครงการควบคู่กันไปอย่างต่อเนื่อง ตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโดยในอีก ๓ ปีข้างหน้าในปี ๒๕๖๑ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จทั้งโครงการ จะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับราษฎรมีแหล่งน้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ชลประทานในฤดูฝนจำนวน ๑๑๑,๓๐๐ ไร่ และฤดูแล้งจำนวน ๔๕,๐๐๐ ไร่ ในเขตอำเภอนาดี และอำเภอกบินทร์บุรี รวมถึง ช่วยบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำปราจีนบุรีและลุ่มน้ำสาขาที่เกิดขึ้นเป็นประจำในเขตพื้นที่อำเภอนาดี และอำเภอกบินทร์บุรี แม้ปัจจุบันโครงการยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์และจะเป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ให้กับราษฎรใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค ทำการเกษตรกรรมและมีน้ำเพียงพอมาใช้ในการทำการประปาเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังจะสร้างประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำ ช่วยรักษาระบบนิเวศผลักดันน้ำเค็มและน้ำเน่าเสียในแม่น้ำปราจีนบุรี และแม่น้ำบางปะกง เป็นแหล่งน้ำสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกและพื้นที่ใกล้เคียง รวมทั้งพื้นที่อ่างเก็บน้ำยังจะเป็นแนวกันชน หรือ แนวป้องกันการบุกรุกทำลายพื้นป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติทับลานและอุทยานแห่งชาติปางสีดา ช่วยเพิ่มระดับความชุ่มชื้นในพื้นที่ป่า ทำให้โอกาสการเกิดไฟไหม้ป่าลดลงหรือหากเกิดไฟป่า ก็จะมีแหล่งน้ำต้นทุนที่จะสามารถนำน้ำมาใช้ดับไฟป่าได้ ตลอดจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดปราจีนบุรีอีกด้วยรายงานโดย : ณพาภรณ์ ปรีเสม |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา, โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, ปราจีนบุรี, โครงการตามพระราชดำริ |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ศิริพร พงษ์ปัญญา |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
|
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ : สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, การงานอาชีพและเทคโนโลยี |
สาขาวิชาของสื่อ :
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ : รูปภาพ |
ลักษณะของสื่อ :
{{setMessages['relation.media']}}
|
URL : - |
URL : |
: |
ศิริพร พงษ์ปัญญา.
(2559). อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี,
6 พฤศจิกายน 2559.
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/43400
ศิริพร พงษ์ปัญญา.
(2559). "อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี".
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/43400.
(6 พฤศจิกายน 2559)
ศิริพร พงษ์ปัญญา.
"อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี".
6 พฤศจิกายน 2559:
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/43400.
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง
รีวิว : อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี
ไม่พบข้อมูลการรีวิว