ม้านั่งก้านตาล

300      2,740
 
Creative Commons License
ม้านั่งก้านตาล ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.
ชื่อเรื่อง : ม้านั่งก้านตาล
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาท้องถิ่น ม้านั่งก้านตาล\ต.บ้านสามสวน อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ\ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา รูปภาพ\\\ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นายอุทิศ แนวไพรบูลย์ \ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๒๒ หมู่ ๑๔ ตำบลบ้านสามสวน อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ๓๖๑๐๙ \อาชีพ ทำนา อายุการศึกษาภูมิปัญญา ๑๐ ปี \\\ชื่อภูมิปัญญา ม้านั่งก้านตาล บ้านสามสวนกลาง\ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \ประวัติหมู่บ้านสามสวนกลาง (บริบทพื้นที่ของหมู่บ้าน)\ บ้านสามสวน ตั้งอยู่บริเวณลุ่มน้ำพรม เป็นดินแดนที่มีความอุดมสมบูรณ์ก่อนที่จะมีคนอพยพมาอาศัยอยู่ สันนิษฐานว่าเคยเป็นที่อยู่ของขอมโบราณ เนื่องจากมีโบราณสถานที่เก่าแก่หนึ่งแห่งตั้งอยู่ คือ วัดพระธาตุเจดีย์ ในปัจจุบัน ระยะต่อมามีข้าหลวงและคนพื้นเมืองจากจังหวัดชัยภูมิ อพยพถิ่นฐานที่อยู่ใหม่ มาพบลุ่มน้ำพรมจึงได้พัก และตั้งบ้านเรือนทำมาหากิน ตอนแรกตั้งเป็นบ้านเรือนบริเวณป่าช้าสาธารณะประโยชน์ จึงให้ชื่อว่า “บ้านโพนเพ็ก” เนื่องจากมีต้นเพ็กอยู่บริเวณนั้น ต่อมามีการเคลื่อนย้ายผู้คนลงมาทางลุ่มแม่น้ำพรม จึงตั้งถิ่นฐานที่อยู่ใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านโพธิ์งาม” เนื่องจากมีต้นโพธิ์ที่สวยงาม หลังจากนั้นมีคนอพยพมาเพิ่มเติมอีกจากบ้านมะเกลือเก่า จังวัดนครราชสีมา, จากเมืองสองคอน จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นบ้านเรือนสามกลุ่มด้วยกัน ตามบรรพบุรุษที่อพยพมาเพื่อทำไร่ทำนา ประมาณสมัยรัชการที่ ๕ ได้ทรงตราพระราชบัญญัติชื่อ “สามส่วน” และเปลี่ยนมาเป็น “สามสวน” ในปัจจุบัน บ้านสามสวนประกอบด้วย บ้านสามสวนเหนือ บ้านสามสวนกลาง และบ้านสามสวนใต้ \ บ้านสามสวนกลาง มีผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจ ได้แก่ ข้าวอินทรีย์, ม้านั่งก้านตาล, ย่ามลายขิด, ผ้าไหมมัดหมี่, และเสื่อกก แต่อาชีพหลักของคนในหมู่บ้านคือ ทำนา (มุจลินทร์ ยะตัน, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๐: สัมภาษณ์) \\\\\\\\\\\\กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\ประวัติการกำเนิดม้านั่งก้านตาล บ้านสามสวนกลาง \ ม้านั่งก้านตาลเกิดจาก ผู้เฒ่าผู้คุมขัง ซึ่งเป็นเพื่อนต่างหมู่บ้านของพ่ออุทิศ ผู้เฒ่าทำม้านั่งก้านตาลมานานกว่า ๑๐ ปี พ่ออุทิศจึงได้รับการถ่ายทอดความรู้มา จากนั้นพ่ออุทิศได้ถ่ายทอดต่อให้ชาวบ้านสามสวนอีกประมาณ ๑๐ คน และได้รวมตัวกันทำเป็นผลิตภัณฑ์ของหมู่บ้าน แต่ในปัจจุบัน เหลือผู้สืบทอดภูมิปัญญาเพียง ๓ คน เนื่องจากเสียชีวิตไป ผู้สืบทอดภูมิปัญญาในปัจจุบัน ได้แก่ พ่ออุทิศ แนวไพรบูรณ์, พ่ออำพร ควงเศส และพ่อประเสริฐ วรรณกาล ในสมัยก่อนจะใช้ไม้ไผ่ทำม้านั่ง แต่เปลี่ยนมาเป็นก้านตาล เนื่องจากมีความเหนียว, วัตถุดิบหาง่ายมีในท้องถิ่น, ปลวกไม่กินเนื้อไม้ และม้านั่งก้านตาลนี้จะยิ่งมีความมันเงามากขึ้นตามการใช้งานโดยไม่ต้นฉีดพ่นสารเคมีเคลือบเงาใดๆ \การต่อยอดภูมิปัญญาการทำม้านั่งก้านตาล บ้านสามสวนกลาง\ พ่ออุทิศ แนวไพรบูลย์ อาชีพ ทำนา บ้านเลขที่ ๒๒ หมู่ ๑๔ ตำบลบ้านสามสวน อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ ได้เริ่มหัดทำม้านั่งก้านตาลกับผู้เฒ่าผู้คุมขัง เมื่อ ๑๐ กว่าปีก่อน จุดประสงค์เพื่อใช้ในครัวเรือน หลังจากนั้นก็มีผู้คนให้ความสนใจ จึงทำขาย และได้ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้ที่สนใจซึ่งเป็นเพื่อนบ้านกับพ่ออุทิศ การทำเก้าอี้ก้านตาลนั้นจะทำหลังฤดูเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว โดยหาก้านตาลได้จากต้นตาลที่อยู่ในทุ่งนาของตนเอง แต่หลักการเลือกต้นตาล คือ จะต้องเลือกต้นที่อยู่โนนสูงๆ เนื่องจากเวลาหักเอาก้านตาลมาจะได้ไม่ล้มทับข้าวเสียหาย แต่ปัจจุบันก้านตาลเริ่มหายากขึ้น จึงต้องรับซื้อมาจากจังหวัดนครราชสีมา ราคาก้านละ ๒ บาท ซึ่งเก้าอี้ ๑ ตัวจะใช้ทั้งหมด ๑๐ ก้าน \ การได้ถ่ายทอดภูมิปัญญานี้ให้แก่ นักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพแก้งค้อ จังหวัดชัยภูมิ โดยทำการสาธิตวิธีการทำม้านั่ง และเคยได้รับทุนสนับสนุนต่อยอดผลิตภัณฑ์ จาก อบต. สามสวน นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของพ่ออุทิศ แนวไพรบูลย์ อย่างมาก \ นอกจากม้านั่งก้านตาลแล้ว พ่ออุทิศยังสามารถทำผลิตภัณฑ์อื่นๆจากก้านตาลได้อีก เช่น โต๊ะ, ที่ใส่ดินสอ และชั้นวางของ เป็นต้น ราคาของม้านั่งก้านตาลที่พ่ออุทิศขาย อยู่ที่ประมาณ ๕๐๐ บาท แต่ถ้าเป็นม้านั่งที่พับได้ จะมีราคาอยู่ที่ประมาณ ๗๐๐ บาท (มุจลินทร์ ยะตัน, ๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๐: สัมภาษณ์)\\\\\\\\\ \\\ภาพทางไปบ้าน คุณพ่ออุทิศ แนวไพรบูลย์\การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\วัสดุอุปกรณ์ในการทำม้านั่งก้านตาล\ ๑. ก้านตาลตัดให้มีความยาว ดังนี้\ - ที่รองศรีษะ ความยาว ๖๐ เซนติเมตร จำนวน ๑ ก้าน\ - ที่วางแขน ความยาว ๙๕ เซนติเมตร จำนวน ๒ ก้าน\ - ตัวเก้าอี้ ความยาว ๑๐๐ เซนติเมตร จำนวน ๒๒ ก้าน\ - ขาหลัง ความยาว ๖๗ เซนติเมตร จำนวน ๒ ก้าน\ - ขาหน้า ความยาว ๔๗ เซนติเมตร จำนวน ๒ ก้าน\ ๒. ไม้ไผ่ดามโคลงเก้าอี้ \ - ความยาว ๑๐๐ เซนติเมตร จำนวน ๔ อัน\ - ความยาว ๕๕ เซนติเมตร จำนวน ๔ อัน\ ๓. ตะปูเข็ม ขนาด ๑.๕ นิ้ว\ ๔. ไม้รู (ใช้แทนตลับเมตร) \ ๕. เชือก (ใช้ต้นกก)\\\แหล่งวัสดุที่ใช้ทำม้านั่งก้านตาล มีแหล่งที่มา ๓ แห่ง คือ\ ๑. หาซื้อได้จากตลาด ได้แก่ ตะปู\ ๒. แหล่งที่ได้จากทุ่งนาในหมู่บ้านสามสวน ได้แก่ ก้านตาล ไม้ไผ่ และต้นกก\ ๓. แหล่งที่ได้จากจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ ก้านตาล จะซื้อมาเมื่อก้านตาลในหมู่บ้านขาดแคลน\\\ขั้นตอนการทำม้านั่งก้านตาล\ ขั้นตอนที่ ๑: การเตรียมก้านตาล \ เมื่อหักก้านตาลมาจากทุ่งนาแล้ว นำมาแช่น้ำเปล่าไว้เป็นเวลา ๑ เดือน เพื่อให้ไม้มีความนิ่มและอ่อนตัว เมื่อครบหนึ่งเดือนนำก้านตาลมาตากให้แห้ง แล้วนำไปเผาไฟเพื่อให้เกิดความมันเงา และในขณะที่ก้านตานร้อน จะใช้เท้าเหยียบเพื่อดัดให้ก้านตาลเกิดความโค้งงอตามต้องการ\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\ การเตรียมต้นกก\ ต้นกกที่เก็บได้จากทุ่งนา นำมาผ่าเป็นเส้นยาวเล็กๆ แล้วนำไปตากแดดจนกว่าจนเปลี่ยนสีจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาล\\\\\\\\\\\\ \ ขั้นตอนที่ ๒: การประกอบม้านั่ง\ นำไม้ไผ่ที่เหลาแล้ว มาสร้างเป็นโคลงม้านั่ง จากนั้นนำก้านตาลมาประกอบใส่กับโคลงไม้ไผ่ที่สร้างไว้ โดยการตอกตะปูเข็ม ขนาดแต่ละส่วนของม้านั่งแสดงไว้ในหัวข้อวัสดุอุปกรณ์ \\\\ \\\\\\\\\ \\\\ ขั้นตอนที่ ๓: การร้อยเชือกกก\ เมื่อประกอบก้านตาลจากโคลงไม้ไผ่เรียบร้อย นำเหล็กแหลมเผาไฟให้ร้อนจี้บริเวณ ตัวม้านั่งให้เป็นรู แล้วนำเชือกกกที่เตรียมไว้ร้อยใส่รูที่เจาะไว้\\\\\\\\\\\\ \ ขั้นตอนที่ ๔: การประกอบที่วางแขน และที่รองศีรษะ\ เมื่อทำตัวม้านั่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะนำก้านตาลสำหรับใช้ทำที่รองศีรษะ และที่รองแขนประกอบเข้ากับตัวม้านั่งโดยการใช้หัวสว่านเจาะก้านตาลให้เป็นรูแล้วใช้ค้อนตอกใส่กับไม้ไผ่ที่ทำเป็นโคลงม้านั่ง แล้วเลื่อยโครงไม้ไผ่ส่วนที่เกินออก จะได้ม้านั่งก้านตาลตามต้องการ\\\\\\ \\\\\\\ \\\การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)\สรุป\ ก้านตาลแต่ละก้านจะมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น รูปร่าง ความเหนียว สี และความแข็ง การเลือกลักษณะของก้านตาลจะต้องคำนึงถึงลักษณะการใช้งานในแต่ละส่วนของม้านั่ง เช่น การเลือกก้านตาลสำหรับทำที่รองศีรษะ ต้องมีความหนา และรูปร่างโค้งสวยงาม ซึ่งส่วนรองศีรษะจะหาก้านตาลที่เหมาะสมยากกว่าส่วนอื่นๆ นอกจากนี้สีของก้านตาลก็มีส่วนสำคัญ เพราะม้านั่งจะต้องมีสีที่กลมกลืนกันเพื่อความสวยงาม ดังนั้น จะต้องเลือกสีของก้านตาลที่มีสีคล้ายกันมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์\ ดังนั้น การทำม้านั่งก้านตาล ของพ่ออุทิศ เกิดจากภูมิปัญญาที่ได้รับการสืบทอดมาจากผู้รู้ โดยการนำต้นตาลที่มีในแหล่งชุมชนมาเพิ่มมูลค่า \ เป้าหมายของการทำม้านั่งก้านตาล คือ การทำใช้ในครัวเรือน การทำเพื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพื่อจำหน่าย และเพื่อสืบทอดภูมิปัญญานี้ไว้ โดยพ่ออุทิศ เคยถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่นักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพแก้งค้อ และนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิค จังหวัดชัยภูมิ นอกจากนี้ภูมิปัญญานี้ยังเคยได้รับทุนสนับสนุนเพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์จาก อบต.บ้านสามสวน และออกแสดงตามงานเทศกาลต่างๆ รวมถึงสหกรณ์ของอำเภอบ้านแท่นอีกด้วย\พิกัด (สถานที่)\\\\\\\\\\\\\\\\ แผนที่หมู่บ้านสามสวน\\\ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐\ชื่อผู้ศึกษา นางสาวมุจลินทร์ ยะตัน รูปผู้ศึกษา\\\หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น ๔ \รายวิชา ความเป็นครู (๘๐๐ ๕๒๐๑) \เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \คณะ ศึกษาศาสตร์ \สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\สถานที่ทำงาน โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย ๒\อาจารย์ผู้สอน\๑ รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\๒ อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\๓ อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\๔ อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\๕ อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\๖ อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
คำอธิบาย :
คำสำคัญ : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ม้านั่งก้านตาล, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาท้องถิ่น ม้านั่งก้านตาล
คำสำคัญ :
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : อุทิศ แนวไพรบูลย์
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
ผู้แต่งร่วม :   มุจลินทร์ ยะตัน, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่งร่วม :  
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
ระดับชั้น :  
มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
ระดับชั้น :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
สาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สาขาวิชาของสื่อ :  
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
ลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, รูปภาพ, ใบงาน, ข้อมูลปฐมภูมิ
ลักษณะของสื่อ :  
{{setMessages['relation.media']}}
URL : -
URL :
:
อุทิศ แนวไพรบูลย์, มุจลินทร์ ยะตัน, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). ม้านั่งก้านตาล, 26 มีนาคม 2562. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/88499
อุทิศ แนวไพรบูลย์, มุจลินทร์ ยะตัน, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). "ม้านั่งก้านตาล". https://oer.learn.in.th/search_detail/result/88499. (26 มีนาคม 2562)
อุทิศ แนวไพรบูลย์, มุจลินทร์ ยะตัน, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. "ม้านั่งก้านตาล". 26 มีนาคม 2562: https://oer.learn.in.th/search_detail/result/88499.

ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง

รีวิว : ม้านั่งก้านตาล

ไม่พบข้อมูลการรีวิว