การทำขนมไหว้ แบ๊งห์ จึง (Bánh chưng)
872
2,865
การทำขนมไหว้ แบ๊งห์ จึง (Bánh chưng) ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.
ชื่อเรื่อง : การทำขนมไหว้ แบ๊งห์ จึง (Bánh chưng) |
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
|
คำอธิบาย : การทำขนมไหว้ แบ๊งห์ จึง (Bánh chưng)สถานที่ ร้านแม่โต๋นรวย ถนนตำรวจ อำเภอหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานีข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา การทำขนมไหว้ แบ๊งห์ จึง (Bánh chưng) ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางหทัยภรณ์ ดวงอภินันท์ อายุ ๕๙ ปี ที่อยู่ ร้านแม่โต๋นรวย ถนนตำรวจ อำเภอหมากแข้ง จังหวัดขอนแก่น อาชีพ ค้าขาย อายุการศึกษาภูมิปัญญา ๔๐ ปี ชื่อภูมิปัญญา การทำขนมไหว้ แบ๋งห์ จึง (Bánh chưng)ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา “Bánh Chưng” (อ่านว่า “แบ๊งห์จึง”) เป็นอาหารพื้นเมืองอย่างหนึ่งของเวียดนามที่คนไทยได้รู้จักในชื่อ “ขนมข้าวต้มมัดใหญ่เวียดนาม” ซึ่งในตำนานได้เล่าว่า แบ๊งห์จึง มีมาตั้งแต่สมัยบรรพกษัตริย์หุ่ง โดยมีความหมายเป็นตัวแทนของเจ้าพระธรณีและสะท้อนให้เห็นถึงความกตัญญูของลูกหลานต่อพ่อแม่และบรรพบุรุษ นอกจากนี้ การห่อ แบ๊งห์จึง ก็เป็นโอกาสสร้างความอบอุ่นระหว่างสมาชิกทุกคนในครอบครัว ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนต่างคิดถึงเมื่ออยู่ไกลบ้านเกิดในวันตรุษเต็ตประเพณี (ที่มา :VOVworld)กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก) ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีการอพยพของชาติพันธุ์ต่างๆ เข้ามาที่เมืองไทย ผ่านช่องทางธรรมชาติ คือ แม่น้ำโขง บางกลุ่มเดินทางเข้ามาโดยเรือ บางกลุ่มข้ามแม่น้ำโขงด้วยการเดินข้าม หรือว่ายน้ำข้ามมาก็มี โดยเฉพาะชาวเวียดนาม ที่สมัยนั้น คนเวียดนามส่วนใหญ่ เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานโดยเลี้ยงชีพด้วยการทำเกษตรกรรม และการเลี้ยงสัตว์ จังหวัดอุดรธานี ก็มีชาวเวียดนามลี้ภัย อพยพเข้ามาเช่นเดียวกับบุคคลสำคัญคนหนึ่งของเวียดนาม ครั้งหนึ่งเคยเข้ามาอาศัยอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี และได้ตั้งคณะทำงานอย่างลับๆ ในการกอบกู้บ้านเมืองจากการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส จากช่วงสงครามโลก และได้มีการมาตั้งรกราก ฐิ่นฐานที่จังหวัดอุดรธานี ทำให้ชุมชนแห่งนี้มีกลิ่นอายของการดำรงซึ่งวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นการไหว้บรรพบุรุษ การทำขนมไหว้ แบ๋งห์ จึง (Bánh chưng) ก็ได้สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา) คุณแม่หทัยภรณ์ ดวงอภินันท์ หรือชื่อเดิมคือ Hao (หาว) อาชีพค้าขาย อาศัยอยู่ที่ร้านแม่โต๋นรวย ถนนตำรวจ ตำบลหมวกแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ได้รู้จักขนมไหว้ แบ๊งห์ จึง ตั้งแต่สมัยเด็กๆ โดยเล่าว่า เมื่อช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีน หรือตรุษเวียดนาม พ่อแม่ คุณยาย จะช่วยกันเตรียมของ วัตถุดิบในการทำขนมไหว้บรรพบุรุษนี้ โดยคืนก่อนถึงวันไหว้บรรพบุรุษ คุณแม่หทัยภรณ์ จะช่วยคุณยายเช็ดใบตอง และช่วยคุณยายมัดข้าวต้ม และคุณยายของคุณแม่หทัยภรณ์ ก็จะคอยบอกกรรมวิธีในการทำ โดยเฉพาะเทคนิคการนึ่ง และการวางเรียงของข้าวต้มมัดใหญ่ ที่ทำให้ข้าวต้มมัดใหญ่นี้สุกเสมอกันทั้งก้อน หลังจากได้ข้าวต้มมัดใหญ่แล้ว เมื่อถึงวันไหว้ ก็จะทำพิธี ไหว้บรรพบุรุษ โดยมีข้ามต้มมัดใหญ่ หรือแบ๊งห์ จึงนี้ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้อย่างหนึ่งในการไหว้ นอกจากความเชื่อที่ว่า แบ๊งห์ จึง เป็นตัวแทนของเทพเจ้าแล้ว ชาวไทยเชื้อสายเวียดนาม ยังมีประเพณี การแจกข้าวต้มมัดใหญ่ให้แก่ญาติสนิท มิตรสหาย เพื่อเป็นศิริมงคลในชีวิตอีกด้วย แม้ในสมัยใหม่ คนไทยเชื้อสายเวียดนามนิยมซื้อแบบสำเร็จ ไม่ค่อยนิยมทำข้าวต้มไหว้บรรพบุรุษนี้เอง แต่ขนมไหว้แบ๊งห์จึง ก็ไม่เคยหายไปจากพิธีกรรม หรือการไหว้บรรพบุรุษของคนไทยเชื้อสายเวียดนามที่อาศัยอยุ่ในจังหวัดอุดรธานี (หทัยภรณ์ ดวงอภินันท์, ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ : สัมภาษณ์ )วัตถุดิบและวิธีทำการทำขนมไหว้ แบ๊งห์ จึงวัตถุดิบ๑. ข้าวเหนียว๒. ถั่วเหลือง๓. เนื้อหมูสามชั้น ๔. ใบตองจิง สำหรับห่อข้าวต้ม๕. เกลือ ๖. พริกไทย ๗. หอมแดง ๘. น้ำเปล่า๙. ผงชูรส๑๐. ตอกสำหรับมัด วิธีการทำ๑. แช่ข้าวเหนียวไว้ 1 คืน และซาวข้าวขึ้นหลังจากข้าวอ่อนได้ที่ ๒. ล้างถั่วเหลืองให้สะอาด โดยแช่น้ำทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง๓. นำข้าวเหนียวที่ได้รินน้ำออกให้สะเด็ดน้ำ และนำเกลือที่เตรียมไว้มาคลุก ตั้งพักไว้๔. นำถั่วเขียวที่แช่น้ำไปนึ่งให้สุก หลังจากนั้นบดถั่วให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันและปั้นให้เป็นก้อน พักไว้ ๕. นำหมูสามชั้นไปต้มให้สุก หลังจากนั้นหั่นเป็นชิ้นบางๆ ขนาดความยาวพอดี นำไปคลุกเกลือ พริกไทย และหอมแดง๖. เช็ดใบตองให้สะอาด นำวัตถุดิบที่เตรียมไว้มาห่อ ชั้นแรกคือข้าวเหนียวที่คลุกเกลือ ตามด้วยถั่ว เหลืองบดปั้นเป็นก้อนกลม และหมูสามชั้น ๒-๓ ชิ้น และใส่ถั่วเขียวอีกชั้นหนึ่ง และชั้นสุดท้าย โปะด้วยข้าวอีกครึ่งถ้วย และแต่งทรงใบตองให้เป็นสี่เหลี่ยมรูปผืนผ้า แล้วใช้ตอกมัดให้แน่น เพื่อใม่ให้ข้าวแตกตอนนึ่ง๗. เรียงใบตองจิงที่ก้นหม้อต้ม จากนั้นนำขนมไหว้ที่ห่อไว้เรียง โดยให้ตั้งขนมเป็นแนวตั้ง เติมน้ำให้ท่วมขนม ต้มทิ้งไว้ประมาณ ๑๒ ชั่วโมง และคอยดูน้ำในหม้อว่าแห้งหรือไม่ หลังจากนั้น ตากไว้ให้แห้ง และสะเด็ดน้ำ การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร) ร้านของคุณแม่หทัยภรณ์ เป็นร้านที่มีชื่อเสียงในอำเภอเมืองอุดรธานี ด้านการทำขนมไหว้แบ๊งห์ จึงโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลตรุษจีน หรือตรุษญวณ จะมีลูกค้าที่เป็นคนไทยเชื้อสายเวียดนามมาสั่งจองขนมไหว้แบ๊งห์ จึง ด้วยเอกลักษณ์ของขนมที่รสชาติกลมกล่อม นอกจากกลุ่มลูกค้าขาประจำที่มาสั่งขนม แล้ว ยังมีกลุ่มคณะ หรือโรงเรียนที่เรียนเกี่ยวกับคนไทยเชื้อสายเวียดนาม มาขอสัมภาษณ์และความรู้ เกี่ยวกับวิธีการทำ ขนมไหว้นี้กับคุณแม่หทัยภรณ์อยู่บ่อยครั้ง ในการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นครั้งนี้ ผู้ศึกษาภูมิปัญญาเห็นว่า การศึกษาเรื่องการทำขนมไหว้แบ๊งห์ จึง เป็นสิ่งที่มีคุณค่าควรรักษาไว้ซึ่งขนมธรรมเนียม การได้ทำขนมไหว้ในคืนก่อนไหว้บรรพบุรุษ ทำให้สมาชิกในครอบครัวที่ไม่ได้พูดคุยกัน ได้กลับมาร่วมทำกิจกรรม หรือพูดคุยกัน และนอกเหนือจากนั้น การสอบขนมไหว้ให้กันในวันตรุษญวณ ถือเป็นมงคลอีกอย่างหนึ่งแก่ผู้ที่ได้รับอีกด้วยพิกัด (สถานที่)ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐ชื่อผู้ศึกษา นางสาววีริยา ภูถาวร หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น ๔ รายวิชา ความเป็นครู (๘๐๐๕๒๐๑) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล จังหวัดอุดรธานีอาจารย์ผู้สอน๑ รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)๒ อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ๓ อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา๔ อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์๕ อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว๖ อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : ภูมิปัญญาท้องถิ่น, Bánh chưng, การทำขนมไหว้ แบ๊งห์ จึง (Bánh chưng), มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : หทัยภรณ์ ดวงอภินันท์ |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
|
ผู้แต่งร่วม : วีริยา ภูถาวร, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ : สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, การงานอาชีพและเทคโนโลยี |
สาขาวิชาของสื่อ :
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ : รูปภาพ, ใบงาน, VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ |
ลักษณะของสื่อ :
{{setMessages['relation.media']}}
|
URL : - |
URL : |
: |
หทัยภรณ์ ดวงอภินันท์, วีริยา ภูถาวร, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
(2561). การทำขนมไหว้ แบ๊งห์ จึง (Bánh chưng),
26 มีนาคม 2562.
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/88515
หทัยภรณ์ ดวงอภินันท์, วีริยา ภูถาวร, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
(2561). "การทำขนมไหว้ แบ๊งห์ จึง (Bánh chưng)".
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/88515.
(26 มีนาคม 2562)
หทัยภรณ์ ดวงอภินันท์, วีริยา ภูถาวร, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
"การทำขนมไหว้ แบ๊งห์ จึง (Bánh chưng)".
26 มีนาคม 2562:
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/88515.
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง
รีวิว : การทำขนมไหว้ แบ๊งห์ จึง (Bánh chưng)
ไม่พบข้อมูลการรีวิว