การทอผ้าไหมแพรวา

863      2,956
 
Creative Commons License
การทอผ้าไหมแพรวา ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.
ชื่อเรื่อง : การทอผ้าไหมแพรวา
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
คำอธิบาย : ชื่อหัวข้อภูมิปัญญา การทอผ้าไหมแพรวาสถานที่ หมู่ 3 บ้านโพน ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา หมู่ 3 ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางบุญรัตน์ ราชติกา อายุ..52..ปี ที่อยู่ หมู่ 3 ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ อาชีพ ทำไร่ อายุการศึกษาภูมิปัญญา ..40..ปี ชื่อภูมิปัญญา การทอผ้าไหมแพรวาประวัติข้อมูลภูมิปัญญา คุณแม่บุณรัตน์เป็นคนภูไทยโดยกำเนิน และคุณแม่ยังได้เล่าย้อนถึงความทรงจำให้ฟังว่า ครอบครัวเป็นเกษตรกร แต่ในส่วนตัวมีความสนใจเรื่องทอผ้ามาตั้งแต่เด็กๆ เห็นกี่ทอผ้าไม่ได้ต้องไปนั่งทอทุกๆ ที่ บางครั้งก็แอบขโมยไปทอของแม่ตัวเองและบ้านญาติ เป็นความสนใจมาตั้งแต่เด็กๆ แต่ก็ได้รับคำชื่นชมเรื่องฝีมือทอผ้าจากผู้ใหญ่มาตั้งแต่ยังเล็กเช่นกัน ชีวิตอยู่กับการทอผ้ามาโดยตลอด แต่ด้วยความพากเพียร และความสนใจเรื่องทอผ้า ได้ยึดถือการทอผ้าไหมแพรวามาตั้งแต่อายุ 12 ปี จนถึงปัจจุบัน ทั้งเป็นผู้รวมกลุ่มภูไทบ้านโพน ร่วมทอผ้าผ้าแพรวา ควบคุมคุณภาพเป็นอย่างดี โดยลายแพรวาที่ทอครั้งแรกคือ ลายนาค ด้วยความชื่นชอบส่วนตัว และเรียนรู้มาเรื่อยๆ โดยเฉพาะคำแนะนำจากพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ แต่ที่ปลาบปลื้มที่สุดของคุณแม่บุญรัตน์คือ การที่ได้เข้าเฝ้ารับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ครั้งเมื่อเสด็จเยี่ยมพสกนิกรเมื่อปี พ.ศ.2520 โดยสมเด็จพระพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้รับผ้าไหมแพรวาเข้ามาพัฒนาส่งเสริมเข้าสู่โครงการศิลปาชีพพิเศษ กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก) เป็นผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งคุณแม่บุญรัตน์เรียนรู้จากบรรพบุรุษตั้งแต่ตอนเป็นเด็กด้วยตนเองจนถึงปัจจุบัน คุณแม่บุญรัตน์ก็ได้เผยแพร่การท่อผ้าไหมโดยการสอนให้เริ่มจากชาวบ้านที่ยุใกล้เคียง นักศึกษาที่มาหาความรู้เพิ่มเติม และองค์กรต่างๆการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)วัสดุอุปกรณ์1. ฟืม (ฟันหวี) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับแยกเส้นไหมยืนให้ออกจากกัน 2. อักอัก ใช้คู่กับกงจะรับเส้นไหมจากกงมาใส่ไว้ใน 3. กง เป็นเครื่องมือสำหรับใส่ไหมที่เป็นปอย (ไน) แล้วนำไปกรอใส่ใน 4. หลอดกรอไหม ใช้สำหรับใส่เส้นไหม 5. กรรไกร ใช้สำหรับตัดตกแต่งผ้าไหม6. ก้านสวย (กระสวย) ใช้คู่กับหลอด 7. กี่ทอผ้า หรือกี่กระตุก เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับทอผ้าให้เป็นผืนสำเร็จออกมา 8. ไม้เหยียบหูก คือ ไม้สองอัน ยาวประมาณ 1 เมตร ที่ใช้เชือกสอดร้อยไว้อยู่ด้านล่างของหูกทอผ้า เพื่อเหยียบยึดเส้นด้ายที่หูกขึ้นลงเป็นจังหวะ เพื่อจะได้สอดกระสวยไปได้ วิธีการทำ1. การเตรียมเส้นไหม 2. การลอกกาวเส้นไหมทั้งเส้นพุ่งเส้นยืน โดยวิธีการใช้สารธรรมชาติ 3. การเตรียมฟืมทอผ้า 4. การย้อมเส้นไหมยืน 5. การเตรียมเส้นยืน 6. การต่อเส้นยืน 7. การเตรียมเส้นพุ่งที่ทำการย้อมสีต่างๆ8. การกรอเส้นพุ่งเข้าหลอด9. การเก็บเขาลาย / การเก็บตะกอลายขัด10. การทอผ้าแพรวาแบบประยุกต์การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)การจัดเก็บความรู้ของเจ้าของภูมิปัญญาเป็นการจดจำข้อมูล จากบรรพบุรุษในการสืบต่อภูมิปัญญาจากรุ่นลูกสู่รุ่นหลาน และเผยแพร่ภูมิปัญญาให้กับผู้ที่สนใจทั่วไปที่ต้องการศึกษาข้อมูล การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร) การทอผ้าไหมแพรวาของคุณแม่บุญรัตน์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสะท้อนให้เห็นแบบแผนการผลิตผ้า โดยการใช้กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดผ่านคติความเชื่อและความสัมพันธ์ในครอบครัว ตลอดจนการค้นพบภูมิปัญญาที่มีในชุมชนและนอกชุมชนมาผสมผสานและประยุกต์ให้เป็นประโยชน์ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต โดยเฉพาะการประดิษฐ์ทางวัฒนธรรมที่มีการสอดแทรกแนวคิดใหม่ๆให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการมาโดยตลอดนั่นเองพิกัด (สถานที่)หมู่ 3 ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นางสาวสมพิศ ผายเตชะ หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน วิทยาลัยการอาชีพคำม่วงอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
คำอธิบาย :
คำสำคัญ : ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ผ้าไหมแพรวา, อุปกรณ์ทอผ้า, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การทอผ้าไหมแพรวา
คำสำคัญ :
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : บุญรัตน์ ราชติกา
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
ผู้แต่งร่วม :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, สมพิศ ผายเตชะ
ผู้แต่งร่วม :  
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
ระดับชั้น :  
มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
ระดับชั้น :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
สาขาวิชาของสื่อ :   ศิลปะ, การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สาขาวิชาของสื่อ :  
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
ลักษณะของสื่อ :   VDO Clip, ใบงาน, รูปภาพ, ข้อมูลปฐมภูมิ
ลักษณะของสื่อ :  
{{setMessages['relation.media']}}
URL : -
URL :
:
บุญรัตน์ ราชติกา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, สมพิศ ผายเตชะ. (2561). การทอผ้าไหมแพรวา, 26 มีนาคม 2562. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/88517
บุญรัตน์ ราชติกา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, สมพิศ ผายเตชะ. (2561). "การทอผ้าไหมแพรวา". https://oer.learn.in.th/search_detail/result/88517. (26 มีนาคม 2562)
บุญรัตน์ ราชติกา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, สมพิศ ผายเตชะ. "การทอผ้าไหมแพรวา". 26 มีนาคม 2562: https://oer.learn.in.th/search_detail/result/88517.

ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง

รีวิว : การทอผ้าไหมแพรวา

ไม่พบข้อมูลการรีวิว