เผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านถังน้ำมัน
884
3,814
เผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านถังน้ำมัน ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.
แสดงในรูปแบบ e-book
- เล่มที่ 1 |
ชื่อเรื่อง : เผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านถังน้ำมัน |
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
|
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาท้องถิ่น : เผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านถังน้ำมัน161/1 หมู่ที่ 17 บ้านหนองแวง ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40260ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางปราณี อนุธรรม ที่อยู่ 161/1 หมู่ที่ 17 บ้านหนองแวง ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40260 อาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา 60 ปี ชื่อภูมิปัญญา เผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านถังน้ำมันประวัติข้อมูลภูมิปัญญา ก่อนที่จะมีเตาแก๊ส ใช้ คนไทยนิยมการหุงต้มด้วย ฟืน ต่อมาพัฒนามาเป็นการใช้ถ่าน เพราะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าคือ ไฟแรง ไม่มีควัน และราคาถูก ต่อมามีปัญหาเรื่องไม้หายากขึ้น ไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้ตะคร้อ ไม้เต็ง ไม้ประดู่ ที่นิยมไปเผาถ่าน กลายเป็นไม้หวงห้าม การเผาถ่าน จึงเป็นอาชีพที่ เกือบจะสูญไปจากภาคอีสาน เพราะผู้คนนิยมใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่เช่น เตาไฟฟ้า เตาแก๊ส และเตาอบชนิดต่างๆ เมื่อน้ำมันขาดแคลน มีราคาแพง ทุกครอบครัวจำเป็นต้องประหยัด ครอบครัวที่ไม่มีฐานะจำนวนมาก หันมาใช้ถ่าน เป็นเชื้อเพลิงการเผาถ่านจึงเป็นอาชีพที่สำคัญอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ ที่บริเวณบ้านหนองแวง ตำบลท่าพระ จังหวัดขอนแก่น มีกลุ่มเกษตรกร ประกอบอาชีพเผาถ่านขายกันหลายหลังคาเรือน มีรายได้เสริมครอบครัวละ ประมาณ 4-9 พันบาทต่อเดือน ซึ่งเป็นรายได้เสริมที่อยู่ในระดับดี สำหรับผู้หาเช้ากินค่ำ และงานที่ไม่หนักเกินไป การเผาถ่านจากเตาเผาถังน้ำมัน เกิดจากการที่ได้ไปเรียนรู้ที่ศูนย์ชุมชนหมู่บ้านหนองแวง จังหวัดขอนแก่น เพื่อหาวิธีการสร้างอาชีพเสริม ลดรายจ่าย จึงได้เรียนรู้วิธีการเผาถ่านแบบประหยัดค่าใช้จ่าย และก่อให้เกิดการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นและถ่ายทอดความรู้ให้กับลูกหลาน ร่วมไปถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน (ปราณี อนุธรรม, พฤศจิกายน 2560 : สัมภาษณ์)กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเผาถ่านจากเตาเผาถ่านถังน้ำมัน ถ่าน หมายถึง ไม้ที่นำผ่านกระบวนการให้ความร้อนโดยอาศัยความร้อนจากเปลวไฟ ในสภาวะที่ปราศจากก๊าซ ออกซิเจนที่เป็นตัวทำให้เกิดการเผาไหม้ การลุกติดไฟ ไม้ที่ได้รับความร้อนจนความชื้น เกิดการละเหยและสลายตัวออกไปจากเนื้อไม้ ซึ่งจะเหลือแต่ส่วนที่เป็นคาร์บอน ไม้จึงเปลี่ยนเป็นสีดำ ซึ่งเก็บไว้ใช้ได้นานไม่มีปัญหาจากปลวกและมอดมากินไม้ เนื่องจากอาหารของปลวกถูกสลายไป สามารถใช้งานเป็นเชื้อเพลิงในด้านต่างๆ รวมทั้งมีคุณสมบัติพิเศษในการใช้งานอื่นๆ ได้อย่างหลากหลายเมื่อมีการเผาด้วยอุณหภูมิสูง ถ่านที่ดีลักษณะภายนอกจะมี ความแข็งแกร่งและหนัก หักแล้วมีความมันวาว เคาะกันแล้วมีเสียงดังกังวาน เมื่อใช้งานจะไม่มีควัน ลักษณะเตาเผาถ่านจากถังน้ำมัน 1.ควรจะเป็นรูปไข่ ซึ่งจะมีผลช่วยให้การกระจายความร้อนเป็นไปได้ดีทั่วกัน 2.ที่ตั้งของเตาเผาถ่าน ไม่ควรอยู่กลางแจ้ง และควรจะอยู่ต่ำกว่าพื้น 3.ปล่องควันไฟในตอนล่าง ควรมีขนาดใหญ่กว่าตอนบน เพื่อป้องกันลมเข้าทางปล่องควันเตา ควรออกแบบให้สามารถควบคุม จำกัดปริมาณของอากาศภายในเตาได้ดี การสร้างเตาเผาถ่านจากถังน้ำมัน 1.นำตัวเตาที่เจาะทั้งด้านหน้า และด้านท้ายของเตาเสร็จแล้วมาวางไว้ตรงกลาง ระหว่างเสาค้ำยัน โดยให้รูกลมที่เจาะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 นิ้ว อยู่ด้านล่าง ใช้อิฐแดงรองถังที่ด้านหน้า ใช้กระเบื้องทำเป็น รั้วกันดินฉนวน โดยมีระยะห่าง 80 ซม 2.นำท่องอใยหินประกอบกับตัวถังที่ ช่องด้านท้าย ต่อข้องอด้วยท่อใยหินตรง ปักเสาเพื่อประคองเสา และใช้ดินโคลนยารอยต่อ ระหว่างถังกับข้องอ และข้องอกับท่อตรง 3.ใช้เศษกระเบื้องปิดด้านหัวและท้ายถัง ให้มีลักษณะเป็นกลองและบรรจุดินเพื่อเป็น ฉนวนให้เต็ม ว่างไม้หมอนขวางเพื่อให้เกิด ช่องอากาศด้านล้าง จัดเรียงไม้ที่ต้องการเผาเข้าเตา โดยให้ไม้ท่อนใหญ่อยู่ด้านบน ไม้เล็กอยู่ด้านล่าง 4.ใช้ฝาถังที่ตัดเป็นช่องแล้ว ปิดเตาโดยให้ช้องอากาศอยู่ด้านล้าง ใช้อิฐบล๊อกก่อเป็นช่องอากาศเข้า ยาแนวส่วนต่อทั้งหมด (รวมทั้งฝาถัง) ด้วยดินเหนียว โดยให้อากาศสามารถเข้าได้เฉพาะด้านหน้า และออกได้เฉพาะปล่อง ห้ามมีรอยรั่วการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา) การสร้างเตาเผาถ่านจากถังน้ำมันและวิธีการเผาถ่าน1.ตัดฝาถังด้านบน เพื่อใช้เป็นส่วนของฝาเตาที่สามารถเปิดปิดได้ เพื่อนำไม้เข้าในเตาและนำถ่านออกมาจากเตา2.เจาะรูในส่วนที่เป็นฝาถัง ขนาดประมาณ 20x25 cm. เพื่อทำหน้าที่เป็นปากเตา ใช้สำหรับปล่อยให้อากาศเข้า และเจาะรูด้านก้นถังใหม่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 ซม. เพื่อที่จะสามารถติดตั้งสามทางปูนขนาด 4 นิ้ว ซึ่งจะใช้ต่อกับท่อใยหินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ยาว 1 เมตร3.ขุดหลุมลึกขนาด 1/3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางของถัง เพื่อติดตั้งถังลงในหลุมตามแนวนอนและติดตั้งปล่องควัน และกลบตัวถังด้วยดินหรือทรายเพื่อทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน4.ตัดไม้ที่จะใช้เผาถ่าน มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 ซม. ยาวประมาณ 80 ซม. บรรจุใส่ถังในแนวนอนตามยาวของถังไม้ที่มีขนาดใหญ่ก็ควรจะผ่าเสียก่อน 5.ปิดฝาถังให้แน่นหนาอุดรอยต่าง ๆ ด้วยดินเหนียวไม่ให้เป็นช่องทางให้อากาศเข้าได้ นอกจากทางปากเตา 6.จุดไฟที่ปากเตาเพื่อเริ่มต้นเผาถ่าน ระมัดระวังตำแหน่งของกองไฟหน้าเตาไม่ให้เข้าใกล้เตาจนเกินไป ตำแหน่งที่เหมาะสมคือประมาณ 1 ฟุต ปล่อยให้ไอร้อนเท่านั้นที่ไหลเข้าไปในเตา7.ดักเก็บน้ำส้มควันไม้ทางปล่องที่ควันออก โดยสังเกตจากสีของควัน8.ควันที่เกิดจากการเผาถ่าน จะแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะได้แก่- ควันสีขาว จะเป็นช่วงการระเหยของไอน้ำจากภายในเนื้อไม้- อุณหภูมิที่ปากปล่องช่วงนี้อยู่ระหว่าง 82 – 120 องศาเซลเซียส แต่การดักเก็บน้ำส้มควันไม้- กำหนดให้เก็บในช่วงอุณหภูมิ 82 –120 องศาเซลเซียส ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยจากสารทาร์ (Tar)9.เมื่อเวลาถ่านสุกให้สังเกตว่าไม่มีควัน ออกมาจากปากปล่องอีก ให้ทำการอุดปากเตาและปากปล่องด้วยดินเหนียวรวมทั้งรอยรั่วอื่น ๆ จนควันไม่สามารถเล็ดลอดออกมาได้โดยเด็ดขาด 10.ทิ้งเตาไว้ 1 คืน เตาจะเย็นลงจนสามารถเปิดเตานำถ่านออกมาได้ในเช้าของวันถัดไป 11.ปกติการเผาถ่านด้วยเตาถังแดงนี้จะใช้เวลาประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล) ภูมิปัญญาท้องถิ่น การเผาถ่านด้วยเตาเผาถังน้ำมันนี้ การถ่ายทอดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหมู่บ้านหนองแวง ตำบลท่าพระ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งผู้ใหญ่บ้านได้เรียกประชุม หารือกัน เพื่อร่วมกันสร้างอาชีพเสริม หารายได้จากการเผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านถังน้ำมัน ทำให้ประหยัดต้นทุนและได้ผลิตที่เร็วและกำไรสูง จึงทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขี้น และที่สำคัญได้ส่งเสริมและอนุรักษณ์ภูมิปัญญาของชุมชนต่อไปการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร) การถ่ายทอดการเผาถ่านด้วยเตาเผาถังน้ำมัน เป็นการถ่ายทอดให้กับนักเรียนและประชาชนที่ให้ความสนใจและทำได้ง่ายๆในสถานศึกษา ปลอดภัย ซึ่งถือเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับนักเรียนที่อยู่แถวชนบทการจุดไฟหน้าเตา- ก่อไฟหน้าเตาเพื่อให้ไอร้อนไหลเวียนเข้าไปในเตาซึ่งขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนของการอบไม้ในเตาให้แห้ง- เพื่อให้ไม้ในเตาถูกอบให้แห้งอย่างทั่วถึง พร้อมเพรียงกันการให้ความร้อนจากหน้าเตาจึงควรค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร่งรัดโหมไฟจนเกินไป- ช่วงจุดไฟหน้าเตานี้ควรจะใช้เวลาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง สังเกตควันที่ปากปล่องจะมีสีขาว เนื่องจากเป็นการระเหยของความชื้นจากเนื้อไม้มาเป็นไอน้ำการควบคุมเตา- เมื่อไม้ภายในเตาเริ่มลุกไหม้ เรียกได้ว่าเป็นขั้นตอนที่ไม้กลายเป็นถ่าน ควรหยุดเติมไฟจากภายนอก ลดช่องอากาศที่เข้าทางหน้าเตาให้เล็กลง ปล่อยให้เตาเผาไหม้ต่อไปด้วยความร้อนจากภายในเตาเท่านั้น- ช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณ 3 – 4 วัน สังเกตดูจะเห็นว่าควันที่ปากปล่องเป็นสีเหลืองเป็นช่วงที่น้ำส้มควันไม้จะระเหยออกมาเหมาะสมที่จะดักเก็บน้ำส้มควันไม้ ถ้าอุณหภูมิที่ปากปล่องอยู่ราว ๆ 82 องศาเซลเซียสการปิดเตา- เมื่อถ่านเริ่มสุก ควันที่ปากปล่องจะเปลี่ยนสีอีกครั้งที่ไม้กำลังกลายเป็นถ่านอย่างสมบูรณ์ อุณหภูมิที่ปากปล่องจะสูงเกิน 120 องศาเซลเซียส- เมื่อควันที่ปากปล่องหมดไป เหลือแต่เพียงไอร้อน แสดงว่าถ่านสุกหมดแล้วจะต้องปิดปากเตาปล่องควันและรอยรั่วอื่น ๆ ให้แน่นหนา ไม่ให้อากาศเข้าไปในเตาได้โดยเด็ดขาดพิกัด (สถานที่) หมู่บ้านหนองแวง ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40260 ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นางสาวศุภาวีร์ ปิยพัศพงศ์ รหัสนักศึกษา 6080110120 ห้อง/เลขที่ Section 4 เลขที่ 30 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (8005201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านหนองบัวดีหมี (คุรุสามัคคี๓) ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่นอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลยhttps://youtu.be/yA0V1mhz5mkhttps://youtu.be/e8Gwu4FUVZg |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : เตาเผาถ่าน, เผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านถังน้ำมัน, เผาถ่าน, ภูมิปัญญาอีสาน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ภูมิปัญญาไทย, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ปราณี อนุธรรม |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
|
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ศุภาวีร์ ปิยพัศพงศ์ |
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ : สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, การงานอาชีพและเทคโนโลยี |
สาขาวิชาของสื่อ :
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ : รูปภาพ, VDO Clip, คลิปการเรียนรู้, ข้อมูลปฐมภูมิ |
ลักษณะของสื่อ :
{{setMessages['relation.media']}}
|
URL : - |
URL : |
: |
ปราณี อนุธรรม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ศุภาวีร์ ปิยพัศพงศ์.
(2561). เผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านถังน้ำมัน,
26 มีนาคม 2562.
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/89397
ปราณี อนุธรรม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ศุภาวีร์ ปิยพัศพงศ์.
(2561). "เผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านถังน้ำมัน".
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/89397.
(26 มีนาคม 2562)
ปราณี อนุธรรม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ศุภาวีร์ ปิยพัศพงศ์.
"เผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านถังน้ำมัน".
26 มีนาคม 2562:
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/89397.
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง
รีวิว : เผาถ่านด้วยเตาเผาถ่านถังน้ำมัน
ไม่พบข้อมูลการรีวิว