การทอผ้าคลุมไหล่
832
2,739
การทอผ้าคลุมไหล่ ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.
ชื่อเรื่อง : การทอผ้าคลุมไหล่ |
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
|
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านวังอาบช้าง หมู่ที่5 ต.เขาแก้ว อ.เชียงคาน จ.เลยข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา : นางสังวาล ชุมพล ที่อยู่ : บ้านวังอาบช้าง หมู่ที่ 5 ต.เขาแก้ว อ.เชียงคาน จ.เลย อาชีพ : เกษตรกร อายุศึกษาภูมิปัญญา 38 ปี ชื่อภูมิปัญญา : การทอผ้าคลุมไหล่ ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา ผ้าพื้นบ้าน ผ้าทอด้วยกี่หรือหูกพื้นบ้าน ตามกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ มักทอด้วยฝ้ายหรือไหม ผ้าพื้นบ้านหรือผ้าทอมือมีกรรมวิธีการทอต่างๆกัน เช่น ทอเรียบๆไม่มีลาย เรียกผ้าพื้น ทอเป็นลวดลายเรียก ผ้ายก ทอเป็นลวดลายด้วยการจก เรียก ผ้าจก ผ้าทอเป็นลวดลายโดยการขิด เรียก ผ้าขิด ทอเป็นลวยลายด้วยการมัดย้อม เรียก ผ้ามัดหมี่ เป็นต้น ผ้าพื้นบ้านของไทยในภาคต่างๆ มีกรรมวิธีการย้อม การทอสอดคล้องกับขนบประเพณี และวิถีชีวิตของแต่ละกลุ่มชน ซึ่งมีรูปแบบและการใช้สอยต่างๆกัน เช่น ผ้าซิ่น ผ้าเบี่ยง ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน ผ้าขาวม้า ย่าม เป็นต้นนางสังวาล ชุมพล ปราชญ์ทอผ้าบ้านวังอาบช้าง ประธานกลุ่มทอผ้า บ้านวังอาบช้าง ต.เขาแก้ว อ.เชียงคาน จ.เลย เล่าให้ฟังถึงภูมิปัญญาที่นับวันจะสูญหายไป กลุ่มทอผ้าพื้นเมืองบ้านวังอาบช้าง หมู่ที่ ๕ ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย การทอผ้าพื้นเมืองของบ้านวังอาบช้าง เป็นการทอผ้าที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษดั้งเดิม มีการทอผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ผ้าถุง โดยทำการทอไว้เพื่อการสวมใส่ และได้มีการสืบทอดต่อๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน และชาวบ้านได้รักษา ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไว้ และได้รับความนิยมมากขึ้น ในปัจจุบันได้นิยมตัดชุดผ้าทอมือใส่กันมากมาย ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนารูปแบบเนื้อผ้าให้มีหลากหลายสีสัน มีความทันสมัย ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นและเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก(ภัครกร วางอภัย, 6 พฤศจิกายน 2560 : สัมภาษณ์)ภาพ แผนที่หมู่บ้านวังอาบช้างผู้ต่อยอดภูมิปัญญาการทอผ้า คุณป้าสังวาล ชุมพล อายุ 58 ปี อาชีพทำนา บ้านเลขที่ 37 หมู่ 5 บ้านวังอาบช้าง หมู่ที่ 5 ต.เขาแก้ว อ.เชียงคาน จ.เลย ได้เริ่มทอผ้า โดยการจับกลุ่มและจัดตั้งกลุ่มทอผ้าขึ้น เกิดขึ้นจากนโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนให้ประชาชนมีงานทำ และรวมกลุ่มสร้างอาชีพ จึงรวมกลุ่มกันทำผ้าทอมือแบบโบราณ โดยช่วงแรก ๆ ทอใช้กันเองในครอบครัวในชุมชนก่อน แต่พอมีคนสนใจมากขึ้น เราก็เห็นว่ามันเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าก็มารวมกลุ่มกันทำ จึงตั้งเป็นกลุ่มทอผ้าบ้านวังอาบช้าง จากนั้นก็มีหน่วยงานภาครัฐเข้ามาช่วยดูแลช่วยเหลือผลักดัน อย่างกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมดูแลการผลิตไม่ทำลายธรรมชาติองค์ประกอบของกี่ทอผ้า 1. โครงหูก หูกประกอบด้วยเสา 4 ต้น มีราวหูกหรือราวกี่กระหนาบทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้านบนและล่าง บางหูกอาจมีราวกระหนาบกลางโดยรอบ เพื่อทำให้หูกแข็งแรงยิ่งขึ้น 2. ตะกอหรือเขา ทำด้วยเส้นด้ายที่มีความเหนียวพิเศษคล้องอยู่กับด้ายยืนทุกเส้น ประโยชน์ของตะกอ คือช่วยทำให้ด้ายยืนถูกแบ่งเป็นสองส่วนเมื่อคนทอเหยียบไม้เท้าเหยียบ ตะกอจะแยกด้ายยืนออกเป็นช่องหรือเป็นแผ่นด้านล่างและด้านบนแล้วจึงสอดด้ายพุ่งไปตามช่องด้ายยืนนั้น และเมื่อสลับเท้าเหยียบตะกอบจะสลับด้ายยืนจากด้านล่างขึ้นบนและบนลงล่างเพื่อขัดเส้นพุ่งไว้ในขณะทอผ้า 3. ไม้นัดหวีหรือนัด ไม้นัดเล็กหรือไม้ขัดด้าย เป็นไม้ 2 อันที่ใช้สอดในเส้นไหมยืนซึ่งขัดกัน เพื่อสะดวกในการสอดไหมยืนเข้าฟันฟืม และทราบตำแหน่งเส้นที่ขาดเมื่อเวลาทอผ้า ไม้นัดหวีทำด้วยไม้แบนๆ ส่วนปลายด้านที่ใช้สอดมีลักษณะมนแหลมเล็กน้อย ไม้นัด มีสองชนิดคือ "นัดใจ" กับ "นัดสอด" ทำด้วยไม้แผ่นบาง ๆ อย่างละหนึ่งแผ่นหัวท้ายมนใช้สำหรับพุ่งสอดระหว่างเส้นด้วย 4. ไม้ลูกพันหรือลูกพัน แผ่นไม้อยู่ตอนหัวสุดของเครื่องทอและอยู่ตรงที่หน้าตักของคนทอ ใช้สำหรับพันเส้นด้ายที่จะทอและพันผืนผ้าที่ทอเสร็จแล้ว 5. ไม้ม้วนผ้าหรือไม้พันผ้า ไม้ที่ใช้ผูกปลายด้านหนึ่งของไหมยืนซึ่งสอดผ่านฟันหวีแล้วใช้พันผ้าไหมที่ทอเป็นเนื้อผ้า ไม้ม้วนผ้าทำด้วยไม้เหลี่ยม 6. ไม้ตระกรอหรือไม้ลูกเขา ไม้ที่ใช้ผูกเส้นเชือก ตระกอหรือเขาหูกทำด้วยไม้เหลากลม 7. ไม้ก่อตระกอหรือไม้ก่อเขา ไม้แบบที่ใช้ในการผูกเชือกตระกอ เพื่อให้เส้นเชือกตระกอที่ร้อยควบไหมยืนแต่ละเส้นนั้นมีระยะเท่ากัน ไม้ก่อตระกอหรือไม้ก่อเขาของกี่พื้นเมืองจะไม่เหมือนกับไม้ก่อตระกอของกี่กระตุก - ผ้าที่ทอยกดอกด้วยหูก จะมีไม้ก่อตระกอหรือไม้ก่อเขา 2 ชนิด ได้แก่ ไม้ก่อตระกอเนื้อหรือไม้ก่อเขาเนื้อผ้า และไม้ก่อตระกอดอก หรือไม้ก่อเขาดอก ทำด้วยไม้ลักษณะแบนคล้ายกัน - ส่วนผ้าที่ทอด้วยกี่กระตุก จะมีไม้ก่อตะกอที่เรียกว่า “ไม้ก้ามปู” ซึ่งทำด้วยไม้มีลักษณะคล้ายก้ามปู คือ มีด้ามถือเดียวกันแต่ส่วนปลายสองข้างแยกจากกัน 8. ตีนฟืม ตีนฟืม ตีนเหยียบ หรือคานเหยียบ คือไม้ 2 อันที่ผูกเชือกเชื่อมโยงกับเขาหูก ซึ่งเป็นเขาเนื้อหรือตระกอขัด เพื่อใช้สำหรับเหยียบดึงเขาหูก 2 ตับให้รั้งไหมยืนขึ้นลงสลับกันและเปิดเป็นช่อง เมื่อพุ่งกระสวยไหมพุ่งเข้าไปในช่องดังกล่าว เส้นไหมทั้ง 2 ชนิดจะสานขัดกันเป็นเนื้อผ้า ตีนฟืมทำด้วยไม้มี 2 คานลักษณะกลมไม่ใหญ่นัก ความยาวประมาณ 95 เซนติเมตร จำนวนและลักษณะการวางตีนฟืมของหูกและกี่กระตุกไม่เหมือนกัน คือ ตีนฟืมของหูกมี 2 คานและวางขวางตามความกว้างของโครงหูก ส่วนตีนฟืมของกี่กระตุกมี 2-4 คานจะวางทอดไปตามส่วนยาวของโครงกี่กระตุก 9. กระดานม้วนหูกหรือระหัด เป็นไม้กระดานที่ใช้ม้วน ปลายด้านหนึ่งของเส้นไหมยืน ซึ่งม้วนเก็บจัดเรียงเส้นเป็นระเบียบแล้ว นอกจากนี้ยังช่วยให้เส้นไหมยืนในหูกขึงตึงโดยปลายอีกด้านหนึ่งผูกติดหรือพันไว้กับไม้ม้วนผ้า ส่วนกี่กระตุกมีแกนไม้สำหรับม้วนไหมยืน เรียกว่า “ระหัด” 10. ไม้นัดลาย ไม้ที่ใช้สอดในระหว่างเส้นไหมยืน เมื่อยกตระกอลายขึ้นเพื่อทำให้เกิดช่องว่าง สำหรับพุ่งกระสวยไหมหรือดิ้นที่ใช้ทอยกดอก ทำให้ลวดลายปรากฏบนเนื้อผ้า ไม้นัดลายทำด้วยไม้หลาวชะโอน ลักษณะแบนๆ ปลายหนี่งมนแหลมเล็กน้อย มี 2 ขนาดคือไม้นัดลายใหญ่ (ใช้สำหรับการทอผ้าไหมยกดอกตลอดผืน) และไม้นัดลายเล็ก (หรือไม้นัดท่อน ใช้สำหรับการทอยกดอกเฉพาะเชิงผ้า หรือการทอยกดอกที่ไม่มีลวดลายซับซ้อนนัก) 11. ผัง เป็นไม้ที่ใช้ขึงไว้ตามความกว้างของริมผ้าที่ทอ เพื่อทำให้หน้าผ้าตึงพอดีกับฟืม และเพื่อทำให้ลายผ้าตรงไม่คดไปคดมาตอนทอผ้า ส่วนปลายทั้งสองของผังจะผูกเข็มไว้ใช้สอดริมผ้าทั้ง 2 ด้านเครื่องมือเตรียมด้าย 1. ไน เครื่องมือกรอเส้นฝ้ายหรือไหมเข้าหลอด ลักษณะเป็นวงล้อ อาจทำด้วยไม้ไผ่หรือหวาย แต่ปัจจุบันมีการใช้ล้อรถจักรยานที่ถอดยางออกแทนที่ได้ ฐานของไนทำด้วยไม้ สำหรับตั้งแกนของวงล้อและแกนหลอด ระหว่างวงล้อและแกนหลอดมีเส้นเชือกที่เชื่อมโยง เมื่อหมุนวงล้อก็จะทำให้แกนหลอดหมุนไปด้วย เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับปั่นฝ้ายหรือไหมให้เป็นเกลียวแน่นจนเป็นเส้นด้าย หรือใช้กรอเส้นด้ายเข้าไส้หลอดสำหรับเป็นเส้นพุ่ง โดยไนใช้คู่กับระวิง โดยการนำด้ายที่ผ่านการล้อหรือดิ้วจนเป็นหลอดแล้ว มาจ่อที่ไนแล้วหมุนวงล้อ ในขณะที่วงล้อหมุนไนก็จะหมุนตาม เกิดเป็นแรงเหวี่ยงที่ดึงม้วนด้ายที่จ่อไว้ตีเป็นเกลียว ให้ใช้มือที่ถือหลอดม้วนด้ายดึงออกจากไนจะทำให้เกิดเป็นเส้นด้าย จากนั้นให้ผ่อนแรงมือเส้นด้ายก็จะม้วนอยู่กับไน ทำเช่นนี้จนใกล้หมดม้วนด้ายก็นำม้วนด้ายใหม่ต่อเนื่องกันไปเป็นเส้นด้ายเดียวกันจนเต็มไน 2. ระวิง เครื่องปั่นไหม มีลักษณะเหมือนกังหัน 2 ดอก ทำด้วยไม้หรือไม้ไผ่เหลาแบนๆ ดอกละ 3 อัน ระหว่างกังหันทั้งสองมีแกนและเส้นดายหรือไนล่อนเชื่อมโยงสำหรับรองรับเข็ดไหม ฐานของระวิงทำด้วยไม้ ระวิงใช้คู่กับไน เมื่อต้องการกรอเส้นไหมยืนหรือเส้นไหมพุ่งเข้าหลอดโดยจะสวมหลอดค้นหรือหลอดพุ่งที่แกนหลอดของไน แล้วนำกลุ่มไหมที่ต้องการกรอสวนที่ระวิงและดึงเส้นไหมจากนั้นผูกติดกับหลอดค้นหรือหลอดพุ่ง เมื่อหมุนวงล้อของไน แกนหลอดก็จะหมุนทำให้หลอดค้นหรือหลอดพุ่งที่สวมติดอยู่หมุนดึงเส้นไหมจากระวิง พันติดไปหลอดนั้นด้วยระวิงจะหมุนตาม ช่วยคลายเส้นไหมจากเข็ดไหม ทำให้เส้นไหมไม่ยุ่งพันกัน 3. หลอดค้น หลอดด้ายค้น หรือหลอดด้ายยืน หลอดที่ใช้สำหรับพันเส้นยืน สมัยก่อนทำด้วยไม้ไผ่ ลำขนาดเล็กตัดเป็นท่อนๆ แต่ปัจจุบันใช้หลอดด้ายหรือพลาสติก เพื่อใช้สวมกับแกนหลอดของไนหรือแกนของรางค้นได้เมื่อต้องการกรอไหมเข้าหลอดหรือด้นไหมยืนการทอผ้า การทอผ้าเป็นการสานขัดระหว่างเส้นด้ายยืนและเส้นด้ายพุ่งจำนวนมากจนเกิดเป็นเนื้อผ้าการทอเนื้อผ้า มีขั้นตอน ดังนี้สับตะกอ โดยใช้เท้าเหยียบคานเหยียบที่ 1 รั้งตะกอขัดที่ 1 ลง ซึ่งจะดึงด้ายยืนกลุ่มที่ 1 ตามลงมาด้วย ตะกอขัดที่ 2 ก็จะยกเส้นด้ายยืนกลุ่มที่ 2 ขึ้น เกิดเป็นช่องว่างระหว่างเส้นด้ายทั้ง 2 กลุ่มพุ่งกระสวยด้ายพุ่งเข้าไปในช่องด้ายยืนจากด้านขวาไปทางซ้ายใช้มือซ้ายรับกระสวยทำให้เส้นด้ายพุ่งสอดเข้าไปสานขัดกับด้ายยืน (กรณีกี่กระตุก ดึงสายกระตุกให้กระสวยพุ่งสอดไปในระหว่างด้ายยืน)กระทบฟืม หรือฟันหวี เพื่ออัดเส้นด้ายพุ่งให้ชิดกันเป็นเส้นตรงโดยใช้ฟืมกระแทกเส้นด้าย 1-2 ครั้งสับตะกอ โดยใช้เท้าเหยียบคานเหยียบที่ 2 ตะกอขัดที่ 2 จะรั้งเส้นด้ายยืนกลุ่มที่ 2 ลง และตะกอขัดที่ 1 จะดึงเส้นด้ายยืนกลุ่มที่ 1 ขึ้น เปิดเป็นช่องระหว่างเส้นด้ายทั้ง 2 กลุ่มแต่ตำแหน่งของเส้นด้ายยืนจะสลับกัน คือ เส้นด้ายยืนกลุ่มที่ 2 ซึ่งเดิมอยู่ข้างบนจะเปลี่ยนลงล่าง ส่วนด้ายยืนกลุ่มที่ 1 ซึ่งอยู่ล่างจะเปลี่ยนกลับขึ้นบนพุ่งกระสวยด้ายพุ่งเข้าไปในช่องด้ายยืนจากด้านซ้ายกลับมาทางด้านขวา ใช้มือขวารับกระสวย ทำให้เส้นด้ายพุ่งสอดเข้าไปสานขัดกับด้ายยืนกระทบฟืม หรือฟันหวี เพื่ออัดเส้นด้ายพุ่งให้ชิดกันเป็นเส้นตรงโดยใช้ฟืมกระแทกเส้นด้าย 1-2 ครั้ง การสับตะกอและพุ่งกระสวยกลับไปกลับมาและกระทบฟืมและฟันหวีหลาย ๆ ครั้งจะปรากฏเป็นผ้าผืนขึ้น เมื่อทอผืนผ้าได้ความยาวระยะหนึ่งให้ปลดเส้นด้ายยืนที่ขึงให้หย่อนก่อน แล้วจึงม้วนผ้าเข้าไปในไม้ม้วนผ้าให้ตึง ทําแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั่งทอเสร็จแล้วจึงเอาม้วนผ้าที่ทอได้ออก การทอผ้าทุกลายจะต้องทอลายริมผ้าซึ่งริมผ้านี้มีสองด้านซึ่งเป็นลายขัดก่อนจึงจะทอลายดอกตามสูตรผลิตภัณฑ์ที่ได้จาการทอผ้าข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นางสาวภัคกร วางอภัยหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่นที่ 4รายวิชา ความเป็นครู (8005201)เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นคณะ ศึกษาศาสตร์สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาล๒ (เทศบาลตำบลเชียงคาน)อาจารย์ผู้สอน1. รองศาสตราจารย์สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย,ศิลปินมรดกอีสาน)2. อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3. อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4. อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5. อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6. อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : ผ้าคลุมไหล่, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ผ้าทอ, ผ้าทอคลุมไหล่, การทอผ้าคลุมไหล่ |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : สังวาล ชุมพล |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
|
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภัคกร วางอภัย |
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ศิลปะ, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
สาขาวิชาของสื่อ :
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ : รูปภาพ, ใบงาน, ข้อมูลปฐมภูมิ |
ลักษณะของสื่อ :
{{setMessages['relation.media']}}
|
URL : - |
URL : |
: |
สังวาล ชุมพล, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภัคกร วางอภัย.
(2561). การทอผ้าคลุมไหล่,
26 มีนาคม 2562.
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/89462
สังวาล ชุมพล, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภัคกร วางอภัย.
(2561). "การทอผ้าคลุมไหล่".
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/89462.
(26 มีนาคม 2562)
สังวาล ชุมพล, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภัคกร วางอภัย.
"การทอผ้าคลุมไหล่".
26 มีนาคม 2562:
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/89462.
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง
รีวิว : การทอผ้าคลุมไหล่
ไม่พบข้อมูลการรีวิว