ยาฝนสมุนไพรต้านโรค
194
1,595
ยาฝนสมุนไพรต้านโรค ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.
แสดงในรูปแบบ e-book
- เล่มที่ 1 |
ชื่อเรื่อง : ยาฝนสมุนไพรต้านโรค |
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
|
คำอธิบาย : ชื่อหัวข้อภูมิปัญญา ยาฝนสมุนไพรต้านโรคสถานที่ บ้านเลขที่ 277 หมู่ที่10 บ้านเก่าใหม่ ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคามข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางสำราญ ด้วงชะรา ที่อยู่ บ้านเลขที่ 277 หมู่ที่10 บ้านเก่าใหม่ ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม อาชีพ ทำนา อายุการศึกษาภูมิปัญญา .......30........ปี ชื่อภูมิปัญญา ยาฝนสมุนไพรต้านโรคประวัติข้อมูลภูมิปัญญา เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมา คนชนบทสมัยก่อนเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆมากมาย เมื่อเกิดโรคระบาดแต่ละครั้ง ทำให้คร่าชีวิตชาวบ้านเป็นจำนวนมาก เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่มีความยากจน อาชีพทำไร่ ทำนา หาเช้ากินค่ำ ใช้ชีวิตแบบถ้อยทีถ้อยอาศัย สินค้าอาหาร ได้มาจากการแลกเปลี่ยน หรือจากการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้ตัวแปรอย่างเช่น เงิน ทอง ไม่ได้มีบทบาทในคนรุ่นก่อนมากนัก ทำให้เครื่องมือแพทย์ ยารักษาโรค ยาทางการแพทย์แผนปัจจุบันเข้าถึงได้ยาก เพราะจะสามารถหาซื้อได้ในหมู่คนมีฐานะเท่านั้น และโรงพยาบาลอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้าน ทำให้เมื่อเกิดโรคระบาด หาทางรักษาไม่ได้ ก็จะต้องมีการอพยพบ้านเรือนเพื่อหนีโรค ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ต้องเลือกวิธีการรักษาเอง พึ่งหมอบ้าน พึ่งยาสมุนไพรในการรักษาโรคต่างๆให้หายเอง อีกทั้งยังช่วยยับยั้งการเกิดโรคได้อีกด้วย ทำให้ยาสมุนไพรมีบทบาท มีความจำเป็นต่อชาวบ้านในสมัยก่อนเป็นอย่างมาก จึงถือเป็นความรู้ที่น่าสนใจ และน่าค้นคว้าในเรื่องยาสมุนไพรอย่างยิ่ง เพราะยาสมุนไพรในสมัยก่อนนั้น ได้มีการรักษา ยับยั้ง บรรเทาโรค ยาวนานจนถึงปัจจุบัน ได้มีการสืบทอดภูมิปัญญานี้จากรุ่นสู่รุ่น เกิดการค้นพบตัวยาอื่นๆเพิ่มขึ้น ทำให้รักษาโรคได้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น มีการดัดแปลง และเกิดการต่อยอดทางภูมิปัญญา จนเป็นที่ยอมรับให้เป็นยาแผนโบราณ (สำราญ ด้วงชะรา,๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐:สัมภาษณ์)กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)ความรู้ภูมิปัญญา ในเรื่องของยาฝนสมุนไพรต้านโรคนั้น คุณแม่ติ๋มเล่าว่า เป็นการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่ง คุณแม่ติ๋มคือรุ่นที่3 ที่ได้รับยาสมุนไพรมารักษาอาการของคนในครอบครัวและชาวบ้านต่อ ใครที่มีอาการไข้มีผดผื่น ตุ่มขึ้นตามตัว หรืออาการอีสุกอีใส ก็นำยาฝนสมุนไพรนี้ไปรับประทาน คุณแม่ติ๋มไม่ใช่หมอ ไม่ได้มีความรู้ในเรื่องของตัวยาลึกซึ้งมากนัก และไม่ได้แอบอ้าง หรือบังคับใครให้มาดื่มยาฝนสมุนไพรนี้ แต่ใครที่มีอาการเมื่อได้ดื่ม ต่างก็บอกว่าอาการดีขึ้น จึงเป็นการเล่าขานจากปากต่อปากนั่นเอง หากยาสมุนไพรตัวใดที่ใกล้จะหมด คุณแม่ติ๋มก็จะนำตัวยานั้นๆ ไปที่ร้านขายยาสมุนไพร เพื่อให้หมอยาจัดการหายาตัวนั้นให้ ทำให้ ณ ปัจจุบัน ห่อยาสมุนไพรยาฝนนี้ ก็ยังคอยรักษาอาการเหล่านี้เรื่อยมา (สำราญ ด้วงชะรา,๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐:สัมภาษณ์)การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)ขั้นตอนการทำยาฝนสมุนไพร๑. เตรียมน้ำเปล่า/น้ำต้ม ประมาณ ครึ่งขัน หรือ กระติกน้ำ๒. ล้างหินลับมีดให้สะอาดก่อนการทำยาสมนุไพร๓. ใช้ยาสมุนไพรต่างๆ ที่มี ถูกับกับหินลับมีด ลงในน้ำที่เตรียมไว้ จนครบทุกตัวยา๔. จากนั้นนำไปดื่มเพื่อรักษา การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล) คุณแม่ติ๋ม ได้รวมรวมข้อมูลภูมิปัญญานี้ มีการรักษาอาการจนถึงปัจจุบัน และได้มีการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลในด้านยาสมุนไพรเพิ่มเติม จากหมอบ้าน ผู้มีความรู้ในเรื่องยาสมุนไพร รวมไปข้อมูลจากร้านขายยาสมุนไพรต่างๆ เพื่อให้ทราบถึงสรรพคุณของยาสมุนไพรแต่ละตัว การเก็บรักษา และยังศึกษาหาความรู้จากตัวยาสมุนไพรอื่นๆที่สามารถรักษาโรคต่างๆได้อีกด้วย (สำราญ ด้วงชะรา,๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐:สัมภาษณ์)การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร) การถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญาเรื่องของยาฝนสมุนไพรนั้น คุณแม่ติ๋มเล่าว่า ได้มีการถ่ายทอดภูมิปัญญายาสมุนไพรนี้ไปยังบุตรสาว และหลานๆเพื่อให้ทราบถึงตัวยาสมุนไพรต่างๆ สรรพคุณในการรักษาของยาแต่ละตัว รวมไปถึงวิธีการเก็บรักษา เพื่อสืบสานภูมิปัญญาต่อไป ทั้งนี้ยังได้มีการให้ความรู้ไปยังผู้ที่ต้องการทราบ ได้นำข้อมูลไปเผยแพร่ภูมิปัญญานี้ในที่ต่างๆ รวมไปถึงองค์กรอื่นๆ เช่นสถานีอนามัย โครงการ อสม. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชาวบ้านในหมู่บ้าน เพื่อให้ทราบความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรเพิ่มขึ้น (สำราญ ด้วงชะรา,๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐:สัมภาษณ์)พิกัด (สถานที่)บ้านเลขที่ 277 หมู่ที่10 บ้านเก่าใหม่ ตำบล บ่อใหญ่ อำเภอบรบือ จังหวัด มหาสารคาม ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นายทีปกร มะรังษี หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่นอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ปราช์ญชาวบ้าน, ยาฝน, หมอชาวบ้าน, ยาฝนสมุนไพร, สมุนไพรต้านโรค, ยาฝนสมุนไพรต้านโรค |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : สำราญ ด้วงชะรา |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
|
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ทีปกร มะรังษี |
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สุขศึกษาและพลศึกษา, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
สาขาวิชาของสื่อ :
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ : ใบงาน, รูปภาพ, ข้อมูลปฐมภูมิ, VDO Clip |
ลักษณะของสื่อ :
{{setMessages['relation.media']}}
|
URL : - |
URL : |
: |
สำราญ ด้วงชะรา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ทีปกร มะรังษี.
(2561). ยาฝนสมุนไพรต้านโรค,
26 มีนาคม 2562.
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/89633
สำราญ ด้วงชะรา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ทีปกร มะรังษี.
(2561). "ยาฝนสมุนไพรต้านโรค".
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/89633.
(26 มีนาคม 2562)
สำราญ ด้วงชะรา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ทีปกร มะรังษี.
"ยาฝนสมุนไพรต้านโรค".
26 มีนาคม 2562:
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/89633.
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง
รีวิว : ยาฝนสมุนไพรต้านโรค
ไม่พบข้อมูลการรีวิว