ผ้าทอพื้นเมืองไทเลย

141      1,592
 
Creative Commons License
ผ้าทอพื้นเมืองไทเลย ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.
ชื่อเรื่อง : ผ้าทอพื้นเมืองไทเลย
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
คำอธิบาย : ชื่อหัวข้อภูมิปัญญาสถานที่ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางฉลาด เสาวนนท์ ที่อยู่ 177 หมู่ที่ 9 บ้านก้างปลา ตำบลชัยพฤกษ์ อำเภอเมือง จังหวัดเลย 42000 อาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา .....30..........ปี ชื่อภูมิปัญญา ผ้าทอพื้นเมืองไทเลยประวัติข้อมูลภูมิปัญญา การทอผ้าเป็นอาชีพดั้งเดิมของชาวบ้านก้างปลา ในอดีตชาวบ้านได้ปลูกฝ้ายเป็นอาชีพ เพื่อนำดอกฝ้ายมาทำเป็นเส้นด้ายไว้ใช้ทอผ้าสำหรับตัดเสื้อผ้าใส่เองมาหลายชั่วอายุคน จนเกิดความรู้ ประสบการณ์ โดยตรงของราษฎร เป็นการเรียนรู้จากธรรมชาติ และ บรรพบุรุษ เกิดการพัฒนาเสริมสร้างความสามารถสะสมเป็นองค์ความรู้สืบทอดกันมาสู่ลูกหลานและพัฒนาวิถีชีวิตของราษฎรบ้านก้างปลาได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัยตลอดมา จากการทอผ้าใช้เองในครัวเรือน ชาวบ้านก้างปลาได้พัฒนาฝีมือการทอให้มีลวดลายต่างๆ ได้อย่างประณีต สวยงาม เป็นที่ต้องตาต้องใจแก่ผู้พบเห็นจนเกิดการแลกเปลี่ยนซื้อขายผ้าทอกันเองทั้งในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน จนในปัจจุบันผ้าทอพื้นเมืองของชาวบ้านก้างปลาได้กลายเป็นสินค้าที่สร้างอาชีพ สร้างรายได้ที่มั่นคงให้กับชาวบ้านในหลายครัวเรือนและเมื่อปี 2525 บ้านก้างปลาได้รับการพิจารณาให้เป็นหมู่บ้านแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง โครงการนี้ได้ส่งเสริมให้ราษฎรอยู่อย่างพอมีพอกิน รู้จักปลูกพืชผักสวนครัว ทอผ้าใช้เอง พึ่งพาอาศัยกันกันในหมู่บ้าน รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น ประเพณีประทายข้าว เป็นการบูชาขวัญข้าวก่อนนำข้าวเปลือกขึ้นเล้าข้าว เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณของแม่โพสพ ประเพณีน้ำทิพย์ชุบชีวิตผู้สูงอายุ เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้สูงอายุ มีกิจกรรมการละเล่นของผู้สูงอายุแบบสมัยโบราณให้ลูกหลานได้ชม เช่น กิจกรรมผู้สูงอายุเล่าถึงความสำเร็จในการดำรงชีวิตตั้งแต่เด็กจนหนุ่มและสูงอายุในปัจจุบันเพื่อให้ลูกหลานได้ชื่นชม และได้ทราบวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุในอดีต ที่สามารถนำมาใช้ในการดำรงชีวิตของลูกหลานในปัจจุบัน และเพื่อไม่ให้ประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมสูญหาย การทอผ้าฝ้ายของชาวบ้านก้างปลาก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สืบทอดวัฒนธรรมประเพณี ประจำหมู่บ้าน ที่บรรพบุรุษได้สั่งสอนบุตรหลานให้รู้จักทอผ้าใส่เอง โดยได้คิดค้นลายต่างๆตามสิ่งที่พบเห็นในหมู่บ้าน และความคิดของตนเอง จนเกิดศิลปะลายผ้าที่สวยงามและแปลกตามากมายกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)จัดอบรมและเชิญวิทยากรวิทยากรจากอุสาหกรรม จังหวัดเลยมาสอนในการทอผ้าพื้น การย้อมสี และการขึ้นลาย ทำให้สมาชิกกลุ่มทอผ้า มีความรู้และประสบการณ์การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)การทอผ้าในอดีต ชาวบ้านใช้ดอกฝ้ายมาทำเป็นเส้นด้าย ใช้เปลือกไม้ ผลไม้ ครั่ง ทำเป้นสีสำหรับย้อมผ้าอุปกรณ์ที่ใช้ทอผ้า คือ กี่กระตุก ทำจากไม้ในหมู่บ้าน ขั้นตอนการสร้างภูมิปัญญา 1.ขั้นตอนการเพาะปลูกฝ้ายสำหรับนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต 2.ขั้นตอนการเก็บเกี่ยวดอกฝ้าย 3.ขั้นตอนการทำการอิ้วและดีดฝ้าย 4.ขั้นตอนการทำหลอดฝ้าย 5.ขั้นตอนการเข็นฝ้าย 6.ขั้นตอนการย้อมสีฝ้าย 7.ขั้นตอนการทอฝ้าย การแต่งลวดลาย (โดยใช้กี่ดั้งเดิม) 8.ขั้นตอนการตัดเย็บ แปรรูป ผ้าฝ้ายพื้นเมืองการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)ผ้าทอผ้าพื้นเมืองไทยเลย ของกลุ่มทอผ้าบ้านก้างปลาได้มีการจัดเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูลทุกกระบวนต่างๆไว้ในรูปแบบของเอกสารรูปเล่ม อาทิเช่น ลายของผ้าฝ้าย ผ้าทอ เป็นต้นการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)กลุ่มทอผ้าบ้านก้างปลา ได้มีการสอนการทอผ้าให้กับกลุ่มแม่บ้านต่างๆทั้งในจังหวัดเลยและจังหวัดใกล้เคียง มีการเปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา จากสถานศึกษาต่างๆที่สนใจหรือต้องการมาศึกษาค้นคว้าเพื่อทำรายงาน หรือทำวิทยานิพนธ์ ได้มาศึกษาดูงานเกี่ยวกับการทอผ้า การย้อมสี และอื่นๆ และยังได้ศึกษาภูมิปัญญาของชาวบ้านที่มีมาแต่อดีตพิกัด (สถานที่) ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นายทรงศักดิ์ ผาคำ หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน โรงเรียนเทศบาล 5 บ้านหนองผักก้ามอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
คำอธิบาย :
คำสำคัญ : ไทเลย, ฉลาด เสาวนนท์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การทอผ้า, ผ้าพื้นเมือง, ผ้าทอพื้นเมืองไทเลย, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำสำคัญ :
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ฉลาด เสาวนนท์
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
ผู้แต่งร่วม :   ทรงศักดิ์ ผาคำ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่งร่วม :  
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
ระดับชั้น :  
ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
ระดับชั้น :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
สาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาขาวิชาของสื่อ :  
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
ลักษณะของสื่อ :   รูปภาพ, ข้อมูลปฐมภูมิ, ใบงาน, VDO Clip
ลักษณะของสื่อ :  
{{setMessages['relation.media']}}
URL : -
URL :
:
ฉลาด เสาวนนท์, ทรงศักดิ์ ผาคำ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). ผ้าทอพื้นเมืองไทเลย, 26 มีนาคม 2562. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/89637
ฉลาด เสาวนนท์, ทรงศักดิ์ ผาคำ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). "ผ้าทอพื้นเมืองไทเลย". https://oer.learn.in.th/search_detail/result/89637. (26 มีนาคม 2562)
ฉลาด เสาวนนท์, ทรงศักดิ์ ผาคำ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. "ผ้าทอพื้นเมืองไทเลย". 26 มีนาคม 2562: https://oer.learn.in.th/search_detail/result/89637.

ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง

รีวิว : ผ้าทอพื้นเมืองไทเลย

ไม่พบข้อมูลการรีวิว