พัดไม้ไผ่

206      737
 
Creative Commons License
พัดไม้ไผ่ ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.

 แสดงในรูปแบบ e-book

- เล่มที่ 1
 
ชื่อเรื่อง : พัดไม้ไผ่
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
คำอธิบาย : ชื่อหัวข้อภูมิปัญญางานจักรสานไม้ไผ่สถานที่บ้านเลขที่ 94 หมู่ 8 ตำบลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ดข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญาชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณพ่อประเสริฐ ธุระพันธ์อายุ 67 ปี ที่อยู่ 94 หมู่ 8 ตำบลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด อาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา 30 ปี ชื่อภูมิปัญญา งานจักรสานไม้ไผ่ประวัติข้อมูลภูมิปัญญาประวัติหมู่บ้านชุมชนบ้านผำ ความเป็นมาของบ้านผำใหญ่ ตำบลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด คนเฒ่าคนแก่เล่าให้ฟังว่าแต่ก่อนนั้น บ้านหนองยาง เดิมทีได้ตั้งอยู่บ้านท่าช้าง (อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านตาแหลว ตำบลนาใหญ่ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ยังมีวัดเก่าที่มีพัทธสีมาปรากฎให้เห็นอยู่จนทุกวันนี้) ซึ่งอยู่ตอนใต้ของดงสวนผึ้ง ตั้งอยู่ริมห้วยอันมีน้ำไหลผ่านจากดงสวนผึ้ง ผ่านดงขวาง แล้วผ่านบ้านท่าช้างไป ในถิ่นนั้น มีดงไม้ทึบและมีฝูงช้างมากมาย เมื่อถึงฤดูกาลทำนา ฝูงช้างในถิ่นนั้น จะออกมากินข้าวกล้าที่ชาวนาปลูกไว้เสียหายหมด และยังเกิดโรคระบาดขึ้นในหมู่บ้านนั้นอีก ชาวบ้านจึงพากันอพยพหนีจากที่นั้น หาที่ทำมาหากินใหม่ จึงเกิดแยกกันออกเป็น ๒ สาย คือ สายที่ ๑ ได้อพยพจากบ้านท่าช้าง มาตั้งอยู่ที่บ้านหนองจอกน้อยและพวกนั้นยังได้แยกกันอีก บางพวกก็แยกต่อมาตั้งอยู่ที่บ้านหนองยาง จนถึงทุกวันนี้ คนถิ่นนั้นจึงมักเรียกรวมกันว่า บ้านหนองจอกหนองยาง จนติดปากและมีบางพวกย้ายกันไปเรื่อยๆ จนถึงบ้านโปด บ้านบัวสูง บ้านดู่ บ้านหัวนา ได้ย้ายกันไปเรื่อยๆ สายที่ ๒ ได้อพยพจากบ้านท่าช้างเช่นเดียวกัน แล้วมาตั้งอยู่ที่บ้านโนนม่วง(ทิศตะวันออกของโนนธาตุบัวสูง ซึ่งมีต้นมะม่วงเก่าแก่อยู่หลายต้น ที่มีปรากฎให้เห็นอยู่และเป็นที่ตั้งโรงเรียนประชาบาลบ้านบัวสูงในปัจจุบัน) อยู่ต่อมา การทำมาหาเลี้ยงชีพไม่สะดวกพอ ได้มี ๒ คนพี่น้อง คนพี่ชื่อคำ คนน้องชื่อดำ ได้พากันบุกป่าฝ่าดงหาตรวจดูพื้นที่ ทำเลที่พอเหมาะ พอจะตั้งหมู่บ้านได้ จึงพากันผ่านไปเรื่อยๆ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งได้พบพื้นที่อันมีหนองน้ำ (หนองคูปัจจุบัน) ซึ่งมี “หมากไข่ผำ” อยู่มากมายและยังมีน้ำใสเย็นดี มีป่าไม้ที่ไม่ใหญ่นัก เห็นว่าพอเหมาะแก่การตั้งบ้าน ทำมาหากินเลี้ยงชีพได้ดี จึงได้กลับไปอพยพเอาพวกญาติพี่น้องมาตั้งบ้านอยู่ทางทิศเหนือของหนองน้ำนั้น และมาถึงที่นั่นเวลาพอผึมผำ(จวนจะค่ำ) จึงพากันเรียกชื่อบ้านนั้นว่า “บ้านผำ” ครั้นเวลาต่อมาก็พากันทำคันคูกั้นน้ำไว้ให้มีที่ขังน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี(ประเสริฐ ธุระพันธ์, 20 พฤศจิกายน 2560)กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)ประวัติการทำจักรสานไม้ไผ่ เริ่มจากเมื่อครั้งสมัยก่อนนั้นพ่อใหญ่เสริฐ (นายประเสริฐ ธุระพันธ์)เมื่อครั้นสำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ได้ออกจากโรงเรียนเนื่องด้วยฐานะทางบ้านไม่ดีจึงไม่ได้เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไป จึงหันหน้าทำงานเกษตรกรรมอย่างจริงจังช่วย บิดา มารดาของตน เมื่อก้าวเข้าสู่ไวหนุ่ม จึงได้สมรสกับภรรยา เมื่ออายุ 25 ปี หลังจากแต่งงานก็ได้ไปทำงานที่จังหวัดยะลา กับเรือประมง เมื่อได้ไปสัมผัสของชีวิตชาวประมงก็รู้สึกตื่นแต่ และวิตกกังวลเพราะได้จากบ้านมาไกลหลายร้อยกิโล บนเรือประมงก็ได้เรียนรู้การใช้เชือกชนิดต่างๆ เช่น การต่อสลิง การต่อเชือกใต้น้ำ เป็นต้น จากความรู้และประสบการณ์ที่ได้ในระยะเวลา 9 เดือน พ่อใหญ่เสริฐก็เดินทางมายังภูมิลำเนาของตนที่จังหวัดร้อยเอ็ด และยึดถืออาชีพเกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงชีพเช่นเคย มีการเลี้ยง ควาย เลี้ยงสัตว์ ทำนา ยังสามารถฝั่นเชือกเพื่อใช้งาน เมื่อมาอยู่บ้านก็ได้เกิดความสนใจในงานจักรสานไม้ไผ่แต่ไม่มีความรู้ จึงได้ไปเรียนกับ ตาสิน มงคลอินทร์ เป็นผู้สอน การทำวี (พัด)ให้กับพ่อใหญ่เสริฐ ถือว่าเป็นครูคนแรกของพ่อใหญ่เสริฐในเรื่องงานจักรสาน ต่อมาก็ได้ไปเรียน วิชาการสานกระติบข้าว จากตาลุน อย่างตั้งใจเพราะนอกจากจะนำไว้ใช้ในครัวเรือนแล้วยังสามารถนำมาขายสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้อีกด้วย (ประเสริฐ ธุระพันธ์, 30 พฤศจิกายน 2560)วัสดุอุปกรณ์ในการทำงานจักรสานไม้ไผ่ 1. ไม้ไผ่ 2. มีดจักหรือมีดเหลา 3. มีดพร้าหรืออีโต้ 4. ค้อนการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)ขั้นตอนการสานพัด(วี)ขั้นตอนที่ 1 : การเลือกไม้ไผ่ การเลือกไม้ไผ่ ต้องเป็นไม้ไผ่แก่ ที่ด้านปลายของลำต้นไม่ด้วน และตาหรือปล้องไม้ไผ่ไม่ใหญ่ ขั้นตอนที่ 2 : การจักหรือเหลาไม้ไผ่ เมื่อตัดลำไม้ไผ่มาแล้ว ก็จะนำมาเลื่อยตัดตามขนาด แล้วนำมาเหลาไม้ไผ่ให้บางที่สุดเพื่อง่ายแก่การจักรสาน ขั้นตอนนี้ต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูงเพราะมีดเหลาหรือมีดจักมีความคมอย่างมากขั้นตอนที่ 3 : นำไปแช่น้ำ นำไม้ไผ่ที่เหลาแล้วหรือตอก นำไปแช่น้ำเพื่อให้ไม้ตอกมีความนิ่ม ซึ่งจะง่ายในการนำมาสาน ไม้จะอ่อนและไม่หักง่าย ขั้นตอนที่ 4 : การเริ่มสานพัด นำไม้ตอกหรือไม้ไผ่มาเรียงกันแล้วเริ่มสาน ตามลายที่ได้คิดไว้แล้วทำไปเรื่อยๆจนเสร็จพัดไม้ไผ่ที่เสร็จสมบูรณ์สรุป การทำงานจักรสานไม้ไผ่นั้นพ่อใหญ่เสริฐเล่าว่า ทุกวันนี้เทคโนโลยีและสิ่งอำนวยความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตมีมากยิ่งขึ้น คนก็ไม่ค่อยสนใจกับงานจักรสานไม้ไผ่แล้ว เพราะว่าหลายที่มีขายซื้อเอาก็ได้ คนที่จะมาเรียนภูมิปัญญาส่วนใหญ่ก็เป็นผู้สูงอายุ ที่เอาไว้ทำในเวลาว่าง หลังเสร็จสิ้นฤดูการทำนา หลายคนก็ยึดเป็นอาชีพหลัก บางคนก็ทำไว้ใช้ในครัวเรือน พ่อใหญ่เสริฐก็หวังว่า ภูมิปัญญาเหล่านี้คงจะไม่หายไปไหน ถ้าคนรุ่นใหม่หัดเรียนรู้และรักษามันไว้รุ่นต่อรุ่น และอยู่กับชุมชนตลอดไป(ประเสริฐ ธุระพันธ์, : สัมภาษณ์ 30 พ.ย. 60 )พิกัด (สถานที่)ภาพแผนที่ดาวเทียม บ้านชุมชนบ้านผำข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นายชัยยศ เย็นศิริ หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน โรงเรียนชุมชนบ้านผำ ต.เมืองสรวง อ.เมืองสรวง จ.ร้อยเอ็ดอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง(ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลยhttps://youtu.be/N-PPdzHIDD8
คำอธิบาย :
คำสำคัญ : จักสาร, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, งานจักสานไม้ไผ่, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, พัดไม่ไผ่
คำสำคัญ :
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ประเสริฐ ธุระพันธ์
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
ผู้แต่งร่วม :   ชัยยศ เย็นศิริ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่งร่วม :  
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
ระดับชั้น :  
ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
ระดับชั้น :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
สาขาวิชาของสื่อ :   สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ, การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาขาวิชาของสื่อ :  
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
ลักษณะของสื่อ :   ข้อมูลปฐมภูมิ, รูปภาพ, VDO Clip, ใบงาน
ลักษณะของสื่อ :  
{{setMessages['relation.media']}}
URL : -
URL :
:
ประเสริฐ ธุระพันธ์, ชัยยศ เย็นศิริ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). พัดไม้ไผ่, 26 มีนาคม 2562. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91007
ประเสริฐ ธุระพันธ์, ชัยยศ เย็นศิริ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). "พัดไม้ไผ่". https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91007. (26 มีนาคม 2562)
ประเสริฐ ธุระพันธ์, ชัยยศ เย็นศิริ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. "พัดไม้ไผ่". 26 มีนาคม 2562: https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91007.

ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง

รีวิว : พัดไม้ไผ่

ไม่พบข้อมูลการรีวิว