การทอเสื่อกก

248      1,149
 
Creative Commons License
การทอเสื่อกก ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.

 แสดงในรูปแบบ e-book

- เล่มที่ 1
 
ชื่อเรื่อง : การทอเสื่อกก
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาท้องถิ่น(ทอเสื่อกก)\nบ้านภูเงิน ต.ภูเหล็ก อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณยายหนูค้าย ชัยชิน \nที่อยู่ ๕๘ หมู่ ๖ บ้านภูเงิน ต. ภูเหล็ก อ. บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น ๔๐๑๑๐ \nอาชีพ ทอเสื่อ อายุการศึกษาภูมิปัญญา๒๐ ปี \nวัตถุดิบ : กกหรือไหล\nระยะเวลาที่สร้างสรรค์ : ๑ ผืน ต่อ ๑ สัปดาห์\nกลุ่มผู้บริโภค : ชาวบ้านในชุมชม\nราคาใบละ :๑๐๐ - ๑๕๐ บาทต่อผืน ตามขนาดของเสื่อกก\nชื่อภูมิปัญญา ทอเสื่อกก\nประวัติความเป็นมา \nการทอเสื่อกก เป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำเอาต้นกกมาแปรสภาพให้เป็นเส้น ย้อมสี แล้วสานทอให้เป็นแผ่นผืน เพื่อนำมาใช้ปูลาดรองนั่งหรือนอน หรือทำธุรกรรมต่างๆ คุณยายหนูค้าย ชัยชินได้เล่าว่าได้เรียนรู้วิชาทอเสื่อตั้งแต่เมื่อ ๒๐ ปีก่อน และได้เริ่มทอเสื่อมาเป็นอาชีพซึ่งคุณยายได้สืบทอดการทอเสือมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษและคุณยายก็ได้เป็นผู้สืบทอดงานทอเสื่อนี้มาจนถึงปัจจุบัน จนทำให้คุณยายมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของชาวบ้าน หมู่บ้านใกล้เคียง และแพร่หลายไปสู่หลายพื้นที่\nการศึกษาข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกกของชุมชนนี้ ก็เพื่อให้เห็นถึงวัฒนธรรมทางภูมิปัญญาของท้องถิ่น และปัญหาที่เสี่ยงต่อการสูญสิ้นของภูมิปัญญานี้ ว่ามีมากหรือน้อย และด้วยปัจจัยหรือองค์ประกอบใด เพื่อนำไปสู่การอนุรักษ์หรือแก้ไข สำหรับบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโอกาสต่อไป\nวัสดุอุปกรณ์\n1. กรรไกร \n2. กกหรือไหล\n3. เชือกไนลอนหรือเชือกเอ็น \n4. ฟืมทอเสื่อ 1 เมตร\n5. โฮมทอเสื่อ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร \n6. ไม้สอดกก\n7. สียอมกก\n ขั้นตอน\n 1. นำกกหรือไหลมากรีดออกเป็นเส้นไปตากแดดประมาณ 1 อาทิตย์\n \n2. เมื่อแห้งแล้วนำมาย้อมสีตามต้องการ โดยสีที่ย้อมเป็นสีเคมีอย่างดี ส่วนมากจะย้อม สีน้ำตาลและสีขาว สีแดง สีเขียว \n \n3. นำเชือกไนลอนหรือเชือกเอ็นขึงที่โฮมทอเสื่อให้เป็นเส้นตามโฮมและฟืม\n \n4. นำกกหรือไหลสอดเข้ากับไม้สอดเพื่อที่จะสอดเข้ากับโฮมทอเสื่อ \n \n\n5. เมื่อสอดกกหรือไหลเข้าไปแล้วผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้กกหรือไหลแน่นติดกัน เป็นลายต่าง ๆ \n6. ลายที่ทอเป็นประจำและเป็นที่นิยมคือ ลายมัดหมี่ ลายธรรมดา ลายกระจับ\n\n \n\nการเก็บรักษา\n1.ไม่ให้เปียกน้ำ\n2.ไม่นำเสื่อไปแช่น้ำ\n3. ไม่นำเสื่อไปเก็บไว้ในที่ชื้น\n4. นำเสื่อออกห่างจากไฟ\n5. ไม่ควรนำเสื่อไปตากแดดเป็นเวลานาน ๆ\n\nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ \nการจัดเก็บภูมิปัญญาการทอเสื่อกกนั้น เจ้าของภูมิปัญญากล่าวว่ามีการจดจำไว้เพียงอย่าง\nเดียวคือ วิธีการจดจำ หากจะเรียนรู้หรือถ่ายทอดความรู้ จะอาศัยการสาธิตวิธีการทำให้เรียนรู้จาก\nประสบการณ์จริง\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์\nการทอเสื่อกกของคุณยายนั้นเกิดจากภูมิปัญญาที่ได้รับจากการสืบทอดจากบรรพบุรุษจากหมู่บ้านภูเงิน ซึ่งมีชาวบ้านในชุมชนทอเสื่อกกเป็นจำนวนมาก\n ในปัจจุบันเป้าหมายการทอเสื่อกกเพื่อสืบทอดจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานและสำหรับนักเรียนนักศึกษาที่สนใจเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งก็มีนักเรียน นักศึกษาได้ไปศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ด้วย ทั้งนี้ก็ยังเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว\n\n\n\n\nพิกัด (สถานที่)\n \nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\nชื่อผู้ศึกษา นางสาวจิตรานุช วรดี \nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู(ป.บัณฑิต) รุ่น 4 \nรายวิชา ความเป็นครู (800 5201) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ\nสถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านไผ่\nอาจารย์ผู้สอน\n1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง(ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
คำอธิบาย :
คำสำคัญ : การทอเสื่อ, การทอเสื่อกก, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำสำคัญ :
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : หนูค้าย ชัยชิน
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
ผู้แต่งร่วม :   จิตรานุช วรดี, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่งร่วม :  
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
ระดับชั้น :  
มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
ระดับชั้น :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
สาขาวิชาของสื่อ :  
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
ลักษณะของสื่อ :  
{{setMessages['relation.media']}}
URL : -
URL :
:
หนูค้าย ชัยชิน, จิตรานุช วรดี, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). การทอเสื่อกก, 26 มีนาคม 2562. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91032
หนูค้าย ชัยชิน, จิตรานุช วรดี, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). "การทอเสื่อกก". https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91032. (26 มีนาคม 2562)
หนูค้าย ชัยชิน, จิตรานุช วรดี, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. "การทอเสื่อกก". 26 มีนาคม 2562: https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91032.

ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง

รีวิว : การทอเสื่อกก

ไม่พบข้อมูลการรีวิว