การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร

136      1,209
 
Creative Commons License
การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.

 แสดงในรูปแบบ e-book

- เล่มที่ 1
 
ชื่อเรื่อง : การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาการทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร\n\n\nบ.แอวมอง ต.พระลับ \nอ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น\n\n\nข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา \nชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณพ่อบุญมา สีหาราช \nที่อยู่ ๒๐๐ ม.๑๓ บ.แอวมอง ต.พระลับ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น \nอาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา ๕ ปี \n\nชื่อภูมิปัญญา การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร\nประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \n \n การทำน้ำหมักชีวภาพ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ หรือ ปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ ตามแต่จะเรียก เป็นเพราะพ่อบุญมามีอาชีพเป็นเกษตรกรรม ในสมัยก่อนมีที่นาก็ทำนา แต่ช่วงเศรษฐกิจย่ำแย่เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ได้ขายนาเพื่อนำเงินมาใช้หนี้สินต่างๆ จากนั้นก็ได้อยู่บ้านมากขึ้น ช่วงนั้นผู้ใหญ่บ้านให้ชาวบ้านไปอบรมโครงการเศรษฐกิจพอเพียงกับการเกษตรอำเภอ พ่อบุญมาได้เข้าร่วมการอบรมด้วย พอกลับถึงบ้านจึงคิดปลูกผักไว้กินเอง เริ่มขุดดินทำแปลงผัก ผักที่ปลูกก็จะมีหลายชนิด ทั้ง ข่า ตะไคร้ ต้นมะกรูด พริก ต้นกระเพา ต้นโหรพา และพืชผักสวนครัวอื่นๆ แต่ที่สามารถเก็บขายส่งร้านค้าในหมู่บ้านได้ดีและได้กำไรเยอะ จะเป็นผักคะน้า แปลงผักคะน้าจะเยอะกว่าแปลงอื่น แต่ก่อนนั้นใช้ปุ๋ยเคมีผสมกับมูลสัตว์ แต่ยิ่งใช้ไปเรื่อยๆผักไม่งาม พ่อบุญมามีลูกสาวทำงานอยู่กรมพัฒนาที่ดิน จึงได้แนะนำพ่อว่าถ้ายังใช้ปุ๋ยเคมีอยู่ ดินก็จะเสียไปเรื่อยๆ จะแนะนำการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อให้ผักงามและไม่เป็นอันตรายต่อดินที่ปลูกด้วย น้ำหมักชีวภาพ เป็นสารละลายเข้มข้นที่ได้จากการหมักเศษพืช หรือสัตว์ กับสารที่ให้ความหวานอย่างกากน้ำตาล จนถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการแล้วจะได้สารละลายเข้มข้นสีน้ำตาล ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ และสารอินทรีย์หลายชนิด ทำให้พืชผักสวนครัวให้ผลผลิตดี จากที่จะปลูกไว้กินเอง สามารถส่งขายตามร้านค้าในหมู่บ้าน บางทีก็มีเพื่อนบ้านมาอุดหนุนโดยตรง (ณัฐฐินันท์ เจริญผล , ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐:สัมภาษณ์)\nกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\n\n \n คุณพ่อบุญมา สีหาราช อายุ ๗๐ ปี อาชีพ เกษตรกร บ้านเลขที่ ๒๐๐ ม.๑๓ บ.แอวมอง ต.พระลับ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น ได้เริ่มเรียนรู้การทำน้ำหมักชีวภาพจากคำแนะนำของลูกสาว ซึ่งลูกสาวทำงานอยู่กรมพัฒนาที่ดิน จ.บุรีรัมย์ ลูกสาวของคุณตาแนะนำว่าถ้าใช้ปุ๋ยทั่วไปนั้นจะทำให้หน้าดินเสียและจะได้ผลผลิตไม่ดีเหมือนช่วงแรก จึงได้พาคุณพ่อบุญมาทำน้ำหมักชีวภาพ เริ่มทำเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2555 คุณพ่อบุญมาได้นำความรู้ที่มีอยู่มาพัฒนาต่อยอด และเข้าร่วมอบรมการเกษตรอยู่เสมอเมื่อมีโครงการของหมู่บ้าน ปัจจุบันคุณพ่อบุญมาได้ปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเอง และส่งขายตามร้านค้าในหมู่บ้าน ถือว่าขายดีมาก เพราะผักสดและปลอดสารเคมี ขายแค่กำละ 10 บาท \nการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\nอุปกรณ์และวัตถุดิบที่ใช้ทำน้ำหมักชีวภาพ ๕๐ กก./๑โอ่ง\n โอ่ง ถัง ที่ไม่ใช้แล้ว ๑ ถัง\n เศษผักเศษอาหารที่กินเหลือในชีวิตประจำวัน ๔๐ กก.\n กากน้ำตาล ๑๐ กก.\n น้ำเปล่า ๑๐ ลิตร\n สารเร่งซุปเปอร์ พด.2 (มีแจกฟรีที่เกษตรอำเภอ) ๑ ซอง \n \nขั้นตอนวิธีการหมัก\n๑. นำน้ำใส่โอ่ง ๑๐ ลิตร\n\n \n\n\n๒. จากนั้นนำเศษผักเศษอาหาร เช่น อาหารที่กินเหลือแต่ละมื้อ , เปลือกสับปะรด ,\nแกนมะม่วง , เศษผักส่วนที่คัดออกก่อนทำอาหาร มาลงในโอ่ง\n\n \n\n\n\n ๓. นำกากน้ำตาล ลงไปผสม\n \n \n\n\n๔. ใส่สารเร่ง พด. 2 ลงไป 1 ซอง\n\n \n\n ๕. คนให้เข้ากัน ใช้เวลาหมักประมาน ๗ วัน\n\n ๖. ใช้ฉีดพ่นทุกๆ 10 วัน\n\n \nการจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ \nใช้การจดจำและการเล่าสู่กันฟังเป็นการสืบทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นหลัง\nการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์\nให้ประชาชน คนรุ่นหลัง หรือองค์กรเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้\nพิกัด (สถานที่)\nบ้านเลขที่ ๒๐๐ ม.๑๓ บ.แอวมอง ต.พระลับ อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น\n\n\n\n\nข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา ๒๕๖๐\nชื่อผู้ศึกษา นางสาวณัฐฐินันท์ เจริญผล \n\nหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น ๔ \nรายวิชา ความเป็นครู (๘๐๐ ๕๒๐๑) \nเน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น \nคณะ ศึกษาศาสตร์ \nสถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ \nสถานที่ทำงาน วิทยาลัยอาชีวศึกษาขอนแก่น\nอาจารย์ผู้สอน\n๑ รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)\n๒ อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ\n๓ อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา\n๔ อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์\n๕ อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว\n๖ อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
คำอธิบาย :
คำสำคัญ : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร, การทำน้ำหมักชีวภาพ, การทำน้ำหมัก, ประโยชน์จากเศษอาหาร, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำสำคัญ :
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : บุญมา สีหาราช
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
ผู้แต่งร่วม :   ณัฐฐินันท์ เจริญผล, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่งร่วม :  
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
ระดับชั้น :  
มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
ระดับชั้น :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
สาขาวิชาของสื่อ :  
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
ลักษณะของสื่อ :  
{{setMessages['relation.media']}}
URL : -
URL :
:
บุญมา สีหาราช, ณัฐฐินันท์ เจริญผล, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร, 26 มีนาคม 2562. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91034
บุญมา สีหาราช, ณัฐฐินันท์ เจริญผล, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). "การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร". https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91034. (26 มีนาคม 2562)
บุญมา สีหาราช, ณัฐฐินันท์ เจริญผล, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. "การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร". 26 มีนาคม 2562: https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91034.

ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง

รีวิว : การทำน้ำหมักชีวภาพจากเศษผักผลไม้และเศษอาหาร

ไม่พบข้อมูลการรีวิว