การทำกลอย

197      795
 
Creative Commons License
การทำกลอย ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.

 แสดงในรูปแบบ e-book

- เล่มที่ 1
 
ชื่อเรื่อง : การทำกลอย
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
คำอธิบาย : ชื่อหัวข้อภูมิปัญญา การทำกลอยสถานที่ บ้านบุ่งหวาย ต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธรข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางสาวพิกุล นิยม อายุ 65 ปี ที่อยู่ 6 หมู่ 3 บ้านบุ่งหวาย ต.สงเปือย อ.คำเขื่อนแก้ว จ.ยโสธร อาชีพ ทำนา อายุการศึกษาภูมิปัญญา ......20.........ปี ชื่อภูมิปัญญา การทำกลอยประวัติข้อมูลภูมิปัญญา ประวัติหมู่บ้านบุ่งหวาย บ้านบุ่งหวายสันนิษฐานว่ามีอายุประมาณสองร้อยกว่าปี ชาวบ้านอพยพมาจากลาว เป็นหมู่บ้านที่มีลักษณะเป็นที่โนน และมีแม่น้ำรอบ มีป่าหวายมากมาย จึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามลักษณะทางกายภาพ บุ่ง คือ สูง รวมกันจึงเป็นบุ่งหวาย ในป่ามีผลไม้ มัน กลอย ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านปลูกข้าวไม่ได้มาก มีลูกหลายคน ข้าวไม่พอกิน ก็จะหาขุดมัน ขุดกลอย มาแปรรูป เพื่อทานแทนข้าว (นายจอม ยางงาม, 24 ตุลาคม 2560) ประวัติการแปรรูปกลอย กลอย เป็นพืชไม้เถาเลื้อย ชนิดหนึ่งที่มนุษย์รู้จักนำหัวของมันมาทำเป็นอาหารมานาน หัวใต้ดิน กลมรี มีรากเล็กๆกระจายทั่ว มี 3-5 หัวต่อต้น เปลือกบาง สีน้ำตาลออกเหลือง เนื้อในหัวสีขาวหรือสีเหลือง ลำต้นเลื้อยพันต้นไม้อื่น มีหนามเล็กๆกระจายทั่วไป มีขนนุ่มสีขาว การนำกลอยมาทาน เกิดจาก พ่อแม่มีลูกหลายคน น้ำท่วมนา ข้าวก็ทำได้น้อย ไม่พอกิน แม่คำโจม คุณแม่ของแม่พิกุลจึงพาลูกๆคนโต ออกไปขุดหามัน หากลอย มาไว้กินแทนข้าว กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก) แม่พิกุล อายุ 65 ปี อาชีพ ทำนา บ้านเลขที่ 6 หมู่ 3 ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ได้เรียนรู้วิธีการทำกลอย จากคุณแม่คำโจม ตั้งแต่อายุ 15 ปี เริ่มตั้งแต่การเลือกขุดหัวกลอยจนกระทั่งนำมารับประทาน สมัยก่อนทำไว้เพียงรับประทานในบ้านเพื่อแทนข้าว และเป็นของทานเล่น แต่ปัจจุบันมีผู้ทำกลอยน้อยลง แม่พิกุลจึงทำขายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว และนอกจากนี้ แม่พิกุลยังทำงานด้านหัตกรรมอื่นอีกด้วย เช่น การทอเสื่อกก การทอผ้า เป็นต้น (พิกุล นิยม,25 ตุลาคม 2560:สัมภาษณ์) การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)วัสดุอุปกรณ์ในการทำกลอย1. กลอย2. เกลือ3. ถุงผ้าเขียวขั้นตอนการทำกลอยขั้นตอนที่ 1 ไปหาขุดกลอยในป่า เลือกหัวที่ไม่แก่จนเกินไป ขั้นตอนที่ 2 นำมาปลอกเปลือกแล้วหั่นเป็นชิ้นพอดีคำ แล้วหมักเกลือ(เกลือสินเทา) ทิ้งไว้ เป็นเวลา 3 วัน ขั้นตอนที่ 3 นำขึ้นจากเกลือล้างน้ำให้สะอาด ใส่ถุงเขียว แล้วแช่น้ำสะอาดไว้อีกประมาณ 5 วัน จนขึ้นฟองน้ำ แสดงว่ากลอยจืด หมดพิษแล้ว ขั้นตอนที่ 4 เอากลอยในถุงผ้าเขียวขึ้นจากน้ำผึ่งไว้ 2 – 3 คืน ให้สะเด็ดน้ำขึ้นตอนที่ 5 นำกลอยมานึ่ง(นึ่งเหมือนนึ่งข้าว) ใส่กล้วยลงไปขณะนึ่งเพื่อให้กลิ่นหอมและมีรสเปรี้ยวหวาน ใส่มะพร้าว งาขาว คลุกน้ำตาลหากชอบหวาน การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล) การทำกลอยของแม่พิกุลเป็นการทำสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เรียนรู้จากการลงมือทำ และจดจำ ทำต่อมาเรื่อย จนเกิดความชำนาญการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร) แม่พิกุลได้ถ่ายทอดความรู้ให้น้องๆ และเพื่อนบ้าน รวมถึงลูกหลานที่อยากจะเรียนรู้ แม่พิกุลภูมิใจที่ได้สืบทอดภูมิปัญญาคงบรรพบุรุษ และยังสามารถนำมาสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวได้พิกัด (สถานที่)บ้านเลขที่ 6 หมู่ 3 ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร 35110 ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นางสาวพรศิริ หาระพันธุ์ หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน โรงเรียนประถมปรีดาภรณ์ ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่นอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลยhttps://youtu.be/IouRTb6Zx
คำอธิบาย :
คำสำคัญ : การทำกลอย, กลอย, มันพื้นบ้าน, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำสำคัญ :
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : พิกุล นิยม
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
ผู้แต่งร่วม :   พรศิริ หาระพันธุ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่งร่วม :  
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
ระดับชั้น :  
มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
ระดับชั้น :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
สาขาวิชาของสื่อ :   สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาขาวิชาของสื่อ :  
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
ลักษณะของสื่อ :   รูปภาพ, ข้อมูลปฐมภูมิ, ใบงาน, VDO Clip
ลักษณะของสื่อ :  
{{setMessages['relation.media']}}
URL : -
URL :
:
พิกุล นิยม, พรศิริ หาระพันธุ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). การทำกลอย, 26 มีนาคม 2562. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91044
พิกุล นิยม, พรศิริ หาระพันธุ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). "การทำกลอย". https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91044. (26 มีนาคม 2562)
พิกุล นิยม, พรศิริ หาระพันธุ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. "การทำกลอย". 26 มีนาคม 2562: https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91044.

ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง

รีวิว : การทำกลอย

ไม่พบข้อมูลการรีวิว