มะพร้าวแก้วเชียงคาน

478
193

มะพร้าวแก้วเชียงคาน ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.
แสดงในรูปแบบ e-book
- เล่มที่ 1 |
ชื่อเรื่อง : มะพร้าวแก้วเชียงคาน |
ชื่อเรื่อง :
|
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาภูมิปัญญาท้องถิ่น มะพร้าวแก้วเชียงคานบ.น้อย ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลยข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา รูปภาพชื่อเจ้าของภูมิปัญญา คุณแม่ ดวงใจ บุตรตา ที่อยู่ 7/1 ม.4 บ.น้อย ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย 42110 อาชีพ ทำมะพร้าวแก้ว อายุการศึกษาภูมิปัญญา 10 ปี ชื่อภูมิปัญญา มะพร้าวแก้วเชียงคานประวัติข้อมูลภูมิปัญญา มะพร้าวเป็นไม้ผลที่มีอยู่ทั่วไป สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคของประเทศสามารถกินได้ทั้งมะพร้าวอ่อน น้ำมะพร้าว มะพร้าวแก่ กะทิ แต่ที่บ้านน้อย ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคานแปรรูปมะพร้าวเป็น มะพร้าวแก้วโดย...กลุ่มอาชีพสตรี พ.ศ. 2507 สตรีอาสาบ้านน้อยจำนวนหนึ่งได้รวมตัวกันเพื่อจะแสวงหาอาชีพเสริมเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว จึงได้ประสานงานขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเลยให้มาฝึกอบรม และฝึกสอนวิธีการทำขนมต่างๆ การทำมะพร้าวแก้ว เพื่อนำไปจำหน่ายที่แก่งคุดคู้ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัด อาชีพการทำมะพร้าวแก้วจึงได้ ขยายวงไปอย่างกว้างขวางและพัฒนาจากการได้ทำเป็นลักษณะแบบเส้นเล็กๆ เคี่ยวเสร็จนำมากองเป็นก้อน และได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาให้แก่ลูกแก่หลาน ที่ชุมชนบ้านน้อย ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย ซึ่งได้เล่งเห็นว่ามีสถานที่ท่องเที่ยวเป็นที่รู้จักกันดี คือแก่งคุดคู้ จึงได้ริเริ่มทำเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สินค้าที่ระลึก และสินค้า OTOP มากมาย ภายหลังได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้บางช่วง วัตถุดิบบางอย่างไม่เพียงพอ โดยมะพร้าวในพื้นที่จะมีเอกลักษณ์คือเนื้อที่หนา จนกระทั่งต่อมาจึงได้มีการรวมกลุ่มกัน เรียนรู้และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้อร่อยน่ารับประทานมีมาตรฐาน เช่น มะพร้าวจะนำมาทำเป็นเส้นบางๆ มะพร้าวอ่อนทำเป็นแผ่น เป็นต้นกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)คุณแม่ ดวงใจ บุตรตา อายุ 49 ปี อาชีพ ทำมะพร้าวแก้ว บ้านเลขที่ 7/1 ม.4 บ.น้อย ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย 42110 ได้เริ่มเรียนรู้การทำมะพร้าวแก้วจากกลุ่มอาชีพสตรีในพื้นที่และครอบครัวญาติพี่น้องที่มีภูมิในการมะพร้าวแก้ว แล้วได้นำมาใช้ประกอบอาชีพในครอบครัวซึ่งเมื่อ 10 ปีก่อน ได้พัฒนาต่อยอดขึ้นมาเรื่อยๆโดยเริ่มหัดทำตั้งแต่เริ่มต้นการทำมะพร้าวแก้ว แต่งเดิมขึ้นมาเรื่อยๆจนทำให้ได้ประสบการณ์ในการทำมาเป็นเวลานานต่อมาคนที่อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงและคนในหมู่บ้านที่สนใจก็ได้มาเรียนรู้ขั้นตอนการทำกับ มะพร้าวแก้ว เพื่อให้เป็นการเสริมสร้างให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้เรียนรู้กันต่อไปและได้มีไว้ใช้ประโยชน์ภายในบ้านและครอบครัวการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา) 1. ผ่ามะพร้าวและใช้พายแคะเนื้อมะพร้าว และใช้มีดปลอกเปลือกสีน้ำตาลที่ติดอยู่บริเวณเนื้อมะพร้าวออก 2. คัดแยกมะพร้าว ขนาดอ่อนจะเป็นชนิดแผ่น ( ถ้ามะพร้าวแก่จะเป็นมะพร้าวแก้วชนิดเส้น)ใช้มีดสองคมฝานเป็นชิ้นหนาและบาง ตามชนิดและขนาด(ถ้าเป็นเกรดAจะฝานได้แค่ครึ่งเดียว,ถ้าเป็นเกรดBจะฝานได้ไม่เกิน3ครั้งของชิ้นมะพร้าวที่แคะออกมาจากกะลา)3. จากนั้นเอามะพร้าวที่คัดแยกเกรดได้แล้วไปล้างน้ำสะอาด 4. หลังจากล้างเสร็จแล้ว ให้น้ำไปคั่วในส่วนผสมที่มะพร้าว 5 กิโลกรัม ต่อ น้ำตาล2 กิโลกรัม และเติมเกลือครึ่งช้อนโต๊ะ 5. ใช้เวลาในการคั่ว 1ชั่วโมง จากนั้นก็นำขึ้นมาพักในกะละมังให้เย็น แล้วนำบรรจุภัณฑ์ขายได้เลย การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)ใช้การจดจำ และการเล่าสู่กันฟังเป็นการสืบทอดความรู้ไปสู่คนรุ่นหลังการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)ให้ประชาชน คนรุ่นหลังหรือองค์กรเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้ พิกัด (สถานที่) ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2561ชื่อผู้ศึกษา นาย นางอมรรัตน์ แปลงกันทา หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน กศน.อำเภอเชียงคานอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลยhttps://youtu.be/3M-PjQZE0_4 |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มะพร้าวแก้ว, มะพร้าวแก้วเชียงคาน |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ดวงใจ บุตรตา |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
|
ผู้แต่งร่วม : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อมรรัตน์ แปลงกันทา |
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี |
สาขาวิชาของสื่อ :
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ : ใบงาน, รูปภาพ, ข้อมูลปฐมภูมิ, VDO Clip |
ลักษณะของสื่อ :
|
URL : https://youtu.be/3M-PjQZE0_4 |
URL : |
: |
ดวงใจ บุตรตา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อมรรัตน์ แปลงกันทา.
(2561). มะพร้าวแก้วเชียงคาน,
26 มีนาคม 2562.
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91047
ดวงใจ บุตรตา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อมรรัตน์ แปลงกันทา.
(2561). "มะพร้าวแก้วเชียงคาน".
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91047.
(26 มีนาคม 2562)
ดวงใจ บุตรตา, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, อมรรัตน์ แปลงกันทา.
"มะพร้าวแก้วเชียงคาน".
26 มีนาคม 2562:
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91047.
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง
รีวิว : มะพร้าวแก้วเชียงคาน
ไม่พบข้อมูลการรีวิว