การทอผ้าฝ้ายสำเร็จรูป

270      587
 
Creative Commons License
การทอผ้าฝ้ายสำเร็จรูป ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.

 แสดงในรูปแบบ e-book

- เล่มที่ 1
 
ชื่อเรื่อง : การทอผ้าฝ้ายสำเร็จรูป
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
คำอธิบาย : ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางหล่ำ ล้วนสม ที่อยู่ บ้านเลขที่ 14 หมู่ 6 ตำบลพระบาทนาสิงห์ อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย อาชีพ ทำนา/เกษตกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา 12 ปี \ชื่อภูมิปัญญา การทอผ้าฝ้ายสำเร็จรูปประวัติข้อมูลภูมิปัญญา \ ภูมิปัญญาการทอผ้าเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตายาย เริ่มต้นอาจไม่มีการบันทึกวิธีการ และขั้นตอนในการทอไว้เป็นรายลักอักษร แต่จะเป็นการทำให้ดูและได้เห็นบ่อยครั้ง เด็กๆ ลูกหลานจึงเกิดการจด จำจนได้มีการลงมือทำตาม และเริ่มทำเองเป็น จึงเป็นความรู้ที่สืบต่อกันมา ภายหลังมีเทคโนโลยีเข้ามาบวกกับลูกหลานมีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีมากขึ้น จึงได้มีการจัดทำเป็นหนังสือ ซึ่งจะมีการบอกวัสดุอุปกรณ์ ในการทอผ้า และบอกวิธีการทอผ้าไว้โดยละเอียด\กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก) ความรู้การทอผ้านี้ได้จากการเรียนรู้ตามบรรพบุรุษ ต่อมาได้มีการนำวัตถุในการผลิตผ้าฝ้ายจากโรงงานมาใช้การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)วิธีการทอผ้าฝ้าย 1.นำฝ้ายสำเร็จรูปรูปที่ชื้อมา หรือที่ได้จากการนำเศษผ้าจากโรงงานมาดึงออกให้เป็นเส้นแล้วนั้น มาปั่นใส่หลอดซึ่งทำด้วยลำไม้เล็กๆ โดยใช้กงกว๊าง 2. นำหลอดฝ้ายมาใส่ในกระสวย เพื่อให้ง่ายต่อการทอ 3. นำฝ้ายเส้นพุ่งจากบันไดลิงมาขึ้นเฟือขอ สลับเส้นยืนเพื่อใช้กับตะกอเส้นขึ้นเส้นลงด้านล่างของเฟือขอเมื่อ การเรียงเส้นฝ้ายเสร็จจะนำแต่ละเส้นมาม้วนเพื่อสลับเส้น 4. จากนั้นเอากลุ่มฝ้ายเส้นยืนจากเฟือขอมาขึ้นกี่ แล้วคลี่ฝ้ายเส้นยืนโดยใช้ฟันปลาเป็นตัวช่วยในการสางเส้นฝ้ายแต่ละกลุ่มเส้นออกจากกัน เส้นด้ายในการทอลายหนึ่ง เพื่อแยกเส้นด้ายในการนำไปสืบฝ้ายกับฝืมให้เข้ากัน 5. เมื่อทอเสร็จแล้วตัดผ้าที่ทอแล้วออกจากกี่ โดยคงเหลือเศษผ้าฝ้ายหรือเชิงชายจากการทอให้ติดอยู่กับตะกอและฟืม เพื่อเป็นต้นแบบของลาย หากจะมีการทอลายนั้นในครั้งต่อไป เพื่อให้การสืบต่อลายทำได้ง่ายขึ้น เพราะถ้าไม่เก็บไว้ การเริ่มต้นขึ้นลายใหม่จะมีความยากลำบากมาก ดังนั้นช่างทอจึงต้องเก็บลายไว้ทุกเครือ เนื่องจากเส้นยืนมีความยาวมาก ก่อนทอหรือเมื่อทอไปได้สักระยะหนึ่ง เส้นยืนอาจจะพันกันได้ ดังนั้นจึงต้องคอยคลี่จัดเส้นยืนออกไม่ให้พันกัน6.หลังจากการสืบลายแล้ว สามารถเริ่มกระบวนการทอได้ โดยการเหยียบไม้เหยียบเพื่อยกเขาฟืมขึ้นลง แล้วพุ่งกระสวยสอดเข้าไปในช่องว่างระหว่างเส้นยืน ให้เส้นพุ่งพุ่งไปขัดกับเส้นยืน และใช้ฟืมดันให้เส้นพุ่งอัดเรียงกันแน่น แล้วใช้เท้าเหยียบไม้เหยียบให้ตะกอเส้นยืนสลับขึ้นลง และพุ่งกระสวยกลับไปกลับมาขัดกับเส้นยืน หลังจากที่พุ่งเส้นพุ่ง ไป มา และใช้ฟืมดันให้เส้นพุ่งแน่นหลายๆ ครั้ง ก็จะได้ผ้าทอเป็นผืน แล้วนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป\การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล) เนื่องจากมีการจัดตั้งเป็นกลุ่มทอผ้าฝ้ายของหมู่บ้าน และมีการนำผ้าที่ร่วมกันทอได้ ไปขายเป็นสินค้าโอทอป จึงมีการจัดเก็บข้อมูล วิธีการทอผ้าฝ้ายสำเร็จรูปไว้เป็นเอกสาร เพื่อง่ายต่อการศึกษาและเป็นแนวทางในการทอผ้าฝ้ายนี้แก่กลุ่มคนรุ่นหลังที่อยากจะอนุรักษ์การทอผ้าแบบไทย หรือเพื่อทำเป็นอาชีพหลักในครอบครัว\การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร) การถ่ายทอดความรู้ กลุ่มทอผ้าฝ้ายสำเร็จรูปของหมู่บ้านโนนหงส์ทอง ได้มีการนำเอาผ้าที่ทอได้ไปตัดเย็บหรือผลิตเป็นผ้าแบบต่างๆ เช่น ผ้าคลุม ผ้าพันคอ หรือนำไปตัดเย็บเป็นเสือผ้า เป็นต้น แล้วนำไปขายเป็นสินค้าโอทอป ตามงานต่างๆ และนำไปขายที่เมืองทองธานีปีละครั้ง จึงมีกลุ่มแม่บ้าน หรือกลุ่มคนที่มีความสนใจมาศึกษาดูงานการทอผ้าฝ้ายสำเร็จรูป และได้นำไปปรับใช้ เพื่อหารายได้เสริมหรือบางครอบครัวอาจทำเป็นอาชีพหลักได้\พิกัด (สถานที่)\ บ้านโนนหงส์ทอง ตำบลพระบาทนาสิงห์ อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย 43120\ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นางสาวณัฐพร สมดี หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน โรงเรียนบ้านพระบาทนาหงส์ อ.รัตนวาปี จ.หนองคายอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย\ https://youtu.be/9Yh-o37Tq7k
คำอธิบาย :
คำสำคัญ : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, การทอผ้าฝ้ายสำเร็จรูป, การทอผ้าฝ้าย
คำสำคัญ :
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : หล่ำ ล้วนสม
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
ผู้แต่งร่วม :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ณัฐพร สมดี
ผู้แต่งร่วม :  
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
ระดับชั้น :  
ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
ระดับชั้น :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
สาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี, ศิลปะ
สาขาวิชาของสื่อ :  
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
ลักษณะของสื่อ :   รูปภาพ, ข้อมูลปฐมภูมิ, ใบงาน, VDO Clip
ลักษณะของสื่อ :  
{{setMessages['relation.media']}}
URL : https://youtu.be/9Yh-o37Tq7k
URL :
:
หล่ำ ล้วนสม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ณัฐพร สมดี. (2561). การทอผ้าฝ้ายสำเร็จรูป, 26 มีนาคม 2562. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91058
หล่ำ ล้วนสม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ณัฐพร สมดี. (2561). "การทอผ้าฝ้ายสำเร็จรูป". https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91058. (26 มีนาคม 2562)
หล่ำ ล้วนสม, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ณัฐพร สมดี. "การทอผ้าฝ้ายสำเร็จรูป". 26 มีนาคม 2562: https://oer.learn.in.th/search_detail/result/91058.

ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง

รีวิว : การทอผ้าฝ้ายสำเร็จรูป

ไม่พบข้อมูลการรีวิว