การทอเสื่อกกบ้านดงยาง

316      1,172
 
Creative Commons License
การทอเสื่อกกบ้านดงยาง ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.

 แสดงในรูปแบบ e-book

- เล่มที่ 1
 
ชื่อเรื่อง : การทอเสื่อกกบ้านดงยาง
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
คำอธิบาย : เสื่อกกบ้านดงยางบ้านดงยาง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคามข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางบานเย็น อันทะนิล อายุ 59 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 72 หมู่ 3 บ้านดงยาง ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม อาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา 7 ปี ชื่อภูมิปัญญา เสื่อกกบ้านดงยางข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติหมู่บ้านดงยาง บ้านดงยางมีชื่อเดิมว่า บ้านดงยางลิงส่อง เป็นหมูบ้านที่แยกออกจากบ้านนาข่า ห่างจากตัว อำเภอวาปีปทุม ประมาณ 22 กิโลเมตร แต่ก่อนบ้านนาข่าขึ้นกับตำบลหนองนาคู อำเภอวาปีปทุม ตำบลนาคูมีพื้นที่กว้างใหญ่มากต่อมาได้มีการแบ่งเขตการปกครองแยกตำบลออกเป็นตำบลนาข่า ซึ่งบ้านดงยางก็ได้ขึ้นกับตำบลนาข่าด้วย บ้านดงยางเป็นหมู่บ้านที่แยกตัวออกมาจากบ้านนาข่าโดย พ่อตาแสง อัปมะนะ พ่อหนวด-แม่เหง่า อัปมะนะและแม่เปี่ยง อัปมะนัง ได้เห็นว่าพื้นที่บ้านดงยางมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำเกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่งเพราะมีหนองน้ำเล็กๆ หลายแห่ง เช่นหนองทุ่มนอก (ปัจจุบันเรียกหนองทุ่ม) หนองทุ่มใน หนองหญ้าไซ หนองตระเกิบ หนองคุมเหล็ก หนองยาง หนองคูจิก หนองอุ่ม หนองแก หนองหว้า และหนองปันมัง ซึ่งเหมาะแก่การทำมาหากิน ทำเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก พ่อตาแสง พ่อหนวด แม่เหง่า และแม่เปี่ยง จึงได้ย้ายครอบครัวจากบ้านนาข่า มาตั้งหมู่บ้านทางด้านทิศตะวันออกห่างจากบ้านนาข่าประมาณ 2 กิโลเมตร ลักษณะพื้นที่เป็นป่าดงใหญ่มาก มีต้นไม้หนาทึบ มีต้นยางใหญ่หนาแน่น และไม้อิ่นเช่น ต้นยาง ต้นตะเคียน ต้นเต็ง ต้นแดง ฯลฯ สัตว์หลายชนิดเช่น เสือ,ลิง และสัตว์ชนิดอื่นๆ อีกมากมาย เวลาคนเดินผ่านจะมีฝูงลิงคอยส่งเสียงเรียกร้องสอดส่องเป็นประจำจนชินตา จนเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านว่า บ้างดงยางลิงส่อง แต่ชาวบ้านนาข่าจะเรียกบ้านดงยางว่า บ้านน้อยดงยาง และต่อมาจึงได้เรียกชื่อบ้านว่าบ้านดงยาง มีวัดสว่างอารมณ์ เป็นวัดประจำหมู่บ้านไม่มีนักเรียนต้องไปเรียนที่โรงเรียนบ้านน่าข่า (นายสี สารกาล, 2540 :เรียบเรียง) ประวัติการก่อตั้งกลุ่มทอเสื่อกก บ้านดงยางการทอเสื่อกกของชาวชุมชนหมู่ที่ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม มีการทำสืบทอดกันมายาวนานนับตั้งแต่แรกเริ่มตั้งหมู่บ้าน และถ่ายทอดอารยธรรมทางปัญญาสืบต่อๆ กันมาทางระบบครอบครัว จากรุ่นสู่รุ่นจนกระทั่งถึงปัจจุบันกลุ่มทอเสื่อบ้านดงยาง มีการจัดตั้งกลุ่มทอเสื่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2556 โดยนางบานเย็น อันทะนิล เป็นผู้ริ่เริ่มก่อตั้งกลุ่มทอเสื่อกกของชุมชนบ้านดงยาง ส่วนในด้านการอนุรักษ์และถ่ายทอด ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากแนวนโยบายของรัฐบาล ทำให้ชุมชนเล็งเห็นความสำคัญของภูมิปัญญาของท้องถิ่น มีการเชิญให้ผู้ประกอบการเป็นวิทยากรสอนความรู้แก่นักเรียน นักศึกษาในชุมชนและผู้สนใจทั่วไป จนกระทั่งบางโรงเรียนสร้างเป็นหลักสูตรการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านการทอเสื่อให้แก่นักเรียน นักศึกษา ดังที่พบเห็นได้ทั่วไปตามแหล่งข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับการทอเสื่อกก (ชิสากัญญ์ คำชมภู , 4 ตุลาคม 2560 : สัมภาษณ์)ผู้ต่อยอดภูมิปัญญาการทอเสื่อกก บ้านดงยางคุณแม่บานเย็น อันทะนิล อายุ 59 ปี อาชีพเกษตรกรรม บ้านเลขที่ 72 หมู่ 3 บ้านดงยาง ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ได้เริ่มก่อตั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากต้นกกชุมชนบ้านดงยาง เมื่อปี พ.ศ 2556 ประกอบด้วย ทอเสื่อและผลิตกระเป๋าจากเสื่อกก เป็นต้น และยังได้คิดค้นลอดลายใหม่ๆในการทอเสื่อแบบต่างๆ แช่นลายผีเสื้อ ลายหัวใจ ลายผึ้ง เป็นต้น นอกจากนี้คุณแม่บานเย็นยังทอเสื่อกกเพื่อจำหน่ายแต่เพื่อใช้ในครอบครัว (ชิสากัญญ์ คำชมภู , 4 ตุลาคม 2560 : สัมภาษณ์)สิ่งที่คุณแม่บานเย็นภูมิใจที่สุด คือ ได้สืบสารการทอเสื่อกก กระเป๋า ที่เป็นของบรรพบุรุษตกทอดของหมู่บ้านไว้ เพราะการทอเสื่อกกของชุมชนบ้านดงยางมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน และยังได้รับใบรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จากสำนักบริหารมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (สมอ)(ชิสากัญญ์ คำชมภู , 4 ตุลาคม 2560 : สัมภาษณ์)กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)วัสดุอุปกรณ์ในการทอเสื่อกก1.กรรไกร2. เส้นจากต้นกก3. เชือกไนลอนหรือเชือกเอ็น4. ฟืมทอเสื่อ 1 เมตร5. กี่ทอเสื่อ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร6. ไม้สอดกก7. สีเคมีย้อมกกขั้นตอนการทอเสื่อกกขั้นตอนที่ ๑ การปลูกกกหรือทำนาการดำนาข้าว จากนั้นมีการบำรุงรักษา ถอนหญ้า ใส่ปุ๋ย ปลูกแซม ด้วยเวลา ๓-๔ เดือน ก็สามารถเก็บเกี่ยวได้ ขั้นตอนที่ ๒ การตัดกก จะใช้มีดเล็กตัดเกือบถึงโคนต้นกก แล้วนำมากองเรียงเพื่อคัดแยกขนาด ตั้งแต่ความยาว ๙ คืบ ๘ คืบ เรื่อยลงมาจนถึง ๔ คืบ จากนั้นนำแต่ละกองที่มีขนาดเท่ากันมัดเก็บไว้ด้วยกัน ตัดดอกทิ้งเพื่อทำการกรีดเป็นเส้นขั้นตอนที่ ๓ การกรีดจะใช้มีดปลายแหลมที่ทำมาจากใบเลื่อย กรีดแบ่งครึ่งกกแต่ละเส้นถ้าเป็นต้นเล็ก ถ้าเป็นต้นใหญ่ก็กรีดเหมือนกัน แต่จะมีส่วนที่กรีดทิ้ง เพื่อให้แห้งง่าย ขั้นตอนที่ ๔ หลังจากได้เส้นกกแล้ว ก็นำไปตาก โดยแผ่วางเรียงเป็นแนวยาว วันแรกจะตากเต็มวัน จากนั้นนำมามัดเป็นมัดเล็กๆ แล้วตากอีกราว ๒ วัน ให้เส้นกกนั้นแห้ง ขั้นตอนที่ ๕ การย้อมสี นำกกที่ตากแห้งแล้วมามัดแช่น้ำราว ๑๐ ชั่วโมง เพื่อให้เส้นกกนิ่ม จากนั้นต้มน้ำให้เดือด ใส่สีย้อม แล้วนำเส้นกกที่มัดเป็นกำแช่ลงไปในน้ำสีที่กำลังเดือดทิ้งไว้ ๑๐-๑๕ นาที จึงนำไปแช่น้ำ แล้วนำขึ้นตากในที่ร่มมีลมพัดผ่าน ๓-๔ วัน เมื่อเส้นกกสีแห้ง ก็สามารถนำไปใช้ในการทอได้ ขั้นตอนที่ ๖การทอจะร้อยเส้นเอ็นกับฟืมเป็นเส้นยืนตามขนาดของคืบที่กำหนด แล้วใช้เส้นกกใส่กระสวยทอเรียงเป็นเส้นนอนคล้ายการทอผ้า การใส่ลายสีในการทอนิยมใส่ตอนแรก และตอนสุดท้ายของการทอ เมื่อจะเต็มผืนขั้นตอนที่ ๗เมื่อทอได้เต็มผืนก็มัดริมเสื่อ ตัดเสื่อออกจากกี่ และตัดริมอีกครั้งพร้อมแต่งเสื่อให้มีความเรียบร้อยสวยงามขั้นตอนที่ ๘เสื่อกกที่เสร็จสมบูรณ์การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสารฐาน/ข้อมูล)การทอเสื่อกก ของคุณแม่บานเย็นนั้นเกิดจากภูมิปัญญาที่ได้รับการจากสืบทอดจากบรรพบุรุษ และยังมีการสร้างลายทอจากการคิดค้นลวดลายใหม่ๆอยู่เสมอการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือเผยแพร่ความรู้ให้แก่องค์กร)การทอเสื่อกก ของคุณแม่บานเย็นถ่ายทอดโดยอาศัยหลักการสังเกตและจดจำ มีการฝึกฝนและทดลองทำสิ่งใหม่ๆอยู่ทุกวันจนเกิดความชำนาญจนสามารถถ่ายทอดให้แก่กลุ่มสมาชิกในชุมชนพิกัด (สถานที่)ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นางสาวชิสากัญญ์ คำชมภู หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัยอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลยhttps://youtu.be/mrBdIPTdRQU
คำอธิบาย :
คำสำคัญ : มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การทอเสื่อ, ภูมิปัญญาชาวบ้าน, การทอเสื่อกกบ้านดงยาง, ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คำสำคัญ :
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : บานเย็น อันทะนิล
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
ผู้แต่งร่วม :   ชิสากัญญ์ คำชมภู, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่งร่วม :  
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   นักเรียน / นักศึกษา, ผู้ปกครอง, ทั่วไป, ครู / อาจารย์
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
ระดับชั้น :  
ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
ระดับชั้น :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
สาขาวิชาของสื่อ :   สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ, การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาขาวิชาของสื่อ :  
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
ลักษณะของสื่อ :   รูปภาพ, ข้อมูลปฐมภูมิ, ใบงาน, VDO Clip
ลักษณะของสื่อ :  
{{setMessages['relation.media']}}
URL : https://youtu.be/mrBdIPTdRQU
URL :
:
บานเย็น อันทะนิล, ชิสากัญญ์ คำชมภู, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). การทอเสื่อกกบ้านดงยาง, 26 มีนาคม 2562. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/94911
บานเย็น อันทะนิล, ชิสากัญญ์ คำชมภู, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2561). "การทอเสื่อกกบ้านดงยาง". https://oer.learn.in.th/search_detail/result/94911. (26 มีนาคม 2562)
บานเย็น อันทะนิล, ชิสากัญญ์ คำชมภู, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. "การทอเสื่อกกบ้านดงยาง". 26 มีนาคม 2562: https://oer.learn.in.th/search_detail/result/94911.

ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง

รีวิว : การทอเสื่อกกบ้านดงยาง

ไม่พบข้อมูลการรีวิว