การสานตะกร้าไม้ไผ่

474
895

การสานตะกร้าไม้ไผ่ ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.
แสดงในรูปแบบ e-book
- เล่มที่ 1 |
ชื่อเรื่อง : การสานตะกร้าไม้ไผ่ |
ชื่อเรื่อง :
|
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาท้องถิ่น : การสานตะกร้าไม้ไผ่82หมู่ที่ 1บ้านห้วยไผ่ตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น40140\ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นายสมพรางทองเกิ้น ที่อยู่ 82หมู่ที่ 1บ้านห้วยไผ่ ตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพองจังหวัดขอนแก่น 40140 อาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา20 ปี \ชื่อภูมิปัญญา การสานตะกร้าไม้ไผ่ประวัติข้อมูลภูมิปัญญานายสมพราง ทองเกิ้น อายุ 73 ปี อาศัยอยู่ที่บ้านห้วยไผ่ บ้านเลขที่ 82หมู่ที่ 1ตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น การศึกษาจบ ป.4 ที่โรงเรียนบ้านห้วยไผ่หนองโน ประกอบอาชีพ เกษตรกร สมรสกับนางสม โสสีทา มีลูกทั้งหมด 4 คน เป็น ชาย 2 คน หญิง 2 คน\กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)\ นายสมพราง ทองเกิ้นได้รับการถ่ายทอดความรู้วิธีการสานเครื่องจักรสานที่ทำจากไม้ไผ่มาจากพ่อ โดยเริ่มจากการที่เขาเห็นพ่อสานเครื่องจักรสานในช่วงว่างจากงานเพื่อนำมาใช้สอยเองในครอบครัวจึงเกิดความสนใจและอยากจะเรียนรู้วิธีการทำว่ามีขั้นตอนเป็นอย่างไรเพราะอยากช่วยพ่อทำบ้าง ซึ่งพ่อได้เริ่มสอนจากการสานที่ง่าย ๆ ก่อนเช่น สอนให้ทำตอกมัดข้าว และต่อมาก็สานกระด้ง กระจาด เมื่อนายสมพรางเริ่มทำเป็นและมีความชำนาญมากขึ้น ก็ได้ลองสานเครื่องจักรสานชนิดอื่นเพิ่มเติม คือ ที่ดักกบ และตะกร้าไม้ไผ่ ในช่วงแรกยังไม่ได้ทำจริงจังเพราะอาชีพหลักคือทำไร่ ทำนา จึงอาศัยเวลาที่ว่างจากงานประจำมาสานเพื่อนำไปใช้ในครอบครัว ต่อมาเมื่ออายุเริ่มมากขึ้นอีกทั้งลูกชายและลูกสาวต่างแต่งงานมีครอบครัวก็ได้ช่วยทำไร่ทำนาแทนนายสมพรางจึงหันมาสานเครื่องจักรสานอย่างจริงจังประกอบกับนายสมพรางมีใจรักด้านนี้เป็นทุนอยู่แล้วจึงได้มีการสานตะกร้าไม้ไผ่เพื่อจำหน่ายให้กับคนในหมู่บ้านที่สนใจซึ่งส่วนใหญ่ จะสานตามความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก \การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)\ ขั้นตอนที่ 1 การตัดไม้ไผ่ ขั้นตอนที่ 2การผ่าไม้ไผ่ทำเป็นเส้นตอกขั้นตอนที่ 3การจักตอก ขั้นตอนที่ 4การสานก่อเป็นรูปตะกร้าขั้นตอนที่ 5 การใส่ห่วงตะกร้าขั้นตอนที่ 6 การสานตะกร้าเสร็จเรียบร้อย\การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)ปัจจุบันนายสมพราง ทองเกิ้นถ่ายทอดภูมิปัญญาการสานไม้ไผ่ให้ลูกชาย หลาน และคนในหมู่บ้านที่สนใจ และเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านห้วยไผ่ ได้ฝึกเรียนรู้วิธีการสานเครื่องจักสานที่ทำมาจากไม้ไผ่ ที่บ้านห้วยไผ่ บ้านเลขที่ 82 หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น แต่ไม่ได้มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่ฝึกปฏิบัติจริงให้คนที่สนใจให้ทำเป็นและนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดต่อไปการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร)การถ่ายทอดการสานตะกร้าไม้ไผ่ เป็นการถ่ายทอดให้กับลูกชาย หลานและคนในชุมชนที่สนใจ ซึ่งถือว่าให้ความรู้กับผู้ที่สนใจและเพื่ออนุรักษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นไม่ให้สูญหายและให้ลูกหลานสืบทอดต่อไปขั้นตอนและวิธีการสานดังต่อไปนี้1. นำไม้ไผ่ที่ได้ขนาดมาตัดเป็นท่อนขนาดยาวประมาณ 1 เมตร (ขนาดแล้วแต่ขนาดของตะกร้า) โดยการใช้เลื่อยตัดเป็นท่อน จากนั้นใช้มีดโต้เหลาตาข้อไม้ไผ่ออก แล้วทำการขูดผิวเปลือกนอกของไม้ไผ่ออกเสร็จแล้วใช้มีดโต้ผ่าเป็นซีก 2. นำไม้ไผ่ที่ผ่าซีกมาจักเป็นเส้นตอก แล้วใช้มีดตอกแต่งเส้นตอกให้เรียบซึ่งเรียกว่า “เหลาตอก” หรือ “ขูดตอก”3. นำเส้นตอกที่เหลาเรียบร้อยแล้ว มาสานก่อขึ้นรูปตะกร้า โดยเริ่มสานจากฐานก้านตะกร้าก่อนเป็นลำดับแรก ทำไม้ไผ่เหลาเป็นฐานตะกร้า 2 ชิ้น มัดผูกไขว้กันเพื่อเป็นฐานก้นตะกร้า ซึ่งนิยมสานด้วยลายสองและใช้เส้นตอกตามขนาดของตะกร้าที่สาน4. ใช้ตอกเส้นเล็กกลมเพื่อสานขัดกับตอกเส้นยืน สานเป็นลายสับหว่างกัน โดยสานตอกเส้นยืนยก 1 ข่ม 1 สานไปเรื่อย ๆ จนได้ตามขนาดที่ต้องการจนเสร็จ เมื่อได้ขนาดตะกร้าตามต้องการแล้ว ทำขอบปากตะกร้าโดยการสานไขว้กันไปเรื่อย ๆ จนเสร็จ แล้วใส่ห่วงตะกร้า (ฮวงตะกร้า) ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่เหลาปลายให้แหลม โดยการเสียบเข้าไปในลายตะกร้า แล้วใช้หวายถักให้ห่วงยึดแน่นกับตะกร้า\พิกัด (สถานที่) หมู่บ้านห้วยไผ่ ตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น \ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นางสาวสุพัตรา สีลาอ้อ หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีพุทธเกษม ตำบลหนองกุง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่นอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง(ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลยhttps://youtu.be/7CR7TrI_Wqs |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : การสานตะกร้าไม้ไผ่, การสานตะกร้า, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, งานจักสาน |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : สมพราง ทองเกิ้น |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
|
ผู้แต่งร่วม : สุพัตรา สีลาอ้อ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ผู้ปกครอง, ทั่วไป, ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ : ศิลปะ, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, การงานอาชีพและเทคโนโลยี |
สาขาวิชาของสื่อ :
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ : ใบงาน, รูปภาพ, VDO Clip, ข้อมูลปฐมภูมิ |
ลักษณะของสื่อ :
|
URL : https://youtu.be/7CR7TrI_Wqs |
URL : |
: |
สมพราง ทองเกิ้น, สุพัตรา สีลาอ้อ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
(2561). การสานตะกร้าไม้ไผ่,
26 มีนาคม 2562.
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/94917
สมพราง ทองเกิ้น, สุพัตรา สีลาอ้อ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
(2561). "การสานตะกร้าไม้ไผ่".
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/94917.
(26 มีนาคม 2562)
สมพราง ทองเกิ้น, สุพัตรา สีลาอ้อ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
"การสานตะกร้าไม้ไผ่".
26 มีนาคม 2562:
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/94917.
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง
รีวิว : การสานตะกร้าไม้ไผ่
ไม่พบข้อมูลการรีวิว