การทำไม้กวาดดอกหญ้า
1,850
1,157
การทำไม้กวาดดอกหญ้า ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.
แสดงในรูปแบบ e-book
- เล่มที่ 1 |
ชื่อเรื่อง : การทำไม้กวาดดอกหญ้า |
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
|
คำอธิบาย : ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ไม้กวาดดอกหญ้า123 หมู่ที่ 10 บ้านหันใหญ่-แม่เอีย ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น 40120ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางไกรสร เกตุพิบูลย์ (ประธานกลุ่มฯ) ที่อยู่ 123 หมู่ที่ 10 บ้านหันใหญ่-แม่เอีย ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น 40120 อาชีพ เกษตรกร อายุการศึกษาภูมิปัญญา 10 ปี ชื่อภูมิปัญญา ไม้กวาดดอกหญ้าประวัติข้อมูลภูมิปัญญา เรื่องราวความเป็นมาของกลุ่มผู้ผลิตไม้กวาดดอกหญ้าบ้านหันใหญ่-แม่เอีย เกิดขึ้นเมื่อมีคนของหมู่บ้านหันใหญ่-แม่เอีย ได้มองเห็นความสำคัญของการหารายได้เข้าสู่ชุมชนจึงได้ศึกษาอบรมกับทางชุมชนและได้เรียนรู้เรื่องการทำไม้กวาดดอกหญ้า จึงได้จำตั้งกลุ่มแม่บ้านบ้านหันใหญ่-แม่เอีย ได้จำนวน 21 คน ลงทุนหุ้นละ 100 บาทเพื่อนเป็นเงินทุนในการซื้อดอกหญ้า (ก๋ง ที่ชาวบ้านเรียก) และต้นไผ่ ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ทำไม้กวาด มีขึ้นอยู่ทั่วไปตามท้องตลาด จึงได้นำความรู้ วิธีการทำไม้กวาดดอกหญ้ามาเผยแพร่ให้กับคนในครอบครัว ญาติพี่น้องได้ทำใช้ในครัวเรือน และขายให้กับคนในหมู่บ้าน และเมื่อมีผู้ผลิตมากขึ้นเหลือใช้ในครัวเรือนจึงนำออกขายให้กับเพื่อนบ้าน ต่างหมู่บ้าน ต่างตำบลและจังหวัด เผยแพร่ยังต่างจังหวัด ขยายออกเป็นวงกว้าง นอกจากนั้นยังมีพ่อค้าต่างจังหวัดมารับซื้อเพื่อไปจำหน่าย ทำให้เรื่องการทำไม้กวาดกลายเป็นอาชีพหลัก และเป็นอาชีพเสริมของหลายครอบครัว สร้างรายได้ให้กับตนเอง เป็นอาชีพที่ทำรายได้ตลอดทั้งปี ( นางไกรสร เกตุพิบูลย์ , พฤศจิกายน 2560 : สัมภาษณ์) กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับไม้กวาดดอกหญ้า “ไม้กวาด” เป็นวัสดุ เครื่องมือเครื่องใช้ ในครัวเรือน ใช้ทำความสะอาดบ้าน บริเวณบ้าน อาคารสถานที่ต่าง ๆ ในสมัยโบราณ คนในครอบครัว จัดทำขึ้นใช้เฉพาะในครัวเรือนของตนเอง แลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน ในปัจจุบันผลิตขึ้นเพื่อจำหน่ายเป็นอาชีพหลัก / อาชีพรองของท้องถิ่น ในระยะแรกๆ ด้ามไม้กวาดทำจากไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้เหียง, ไม้จุมปี จุมปา ไม้ไผ่ ปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการด้ามทำจากพลาสติก ที่ให้ความสวยงาม และคงทนกว่า “ดอกหญ้า” (ก๋ง เป็นชื่อเรียกดอกหญ้าของท้องถิ่นภาคเหนือเรียก) เป็นส่วนที่ใช้กวาด นอกจากจะทำเป็นไม้กวาดสำหรับกวาดพื้นแล้ว ยังมีไม้กวาดขนาดเล็ก ลำหรับกวาดบนโต๊ะ ตู้ และขนาดเล็กๆ สำหรับเป็นของชำร่วย ประดับตกแต่ง ลักษณะที่โดดเด่น ไม้กวาดดอกหญ้าของชุมชนบ้านโง้งจะนำดอกหญ้าเกรดเอ ดอกหญ้ามีน้ำหนักเท่ากันใส่กาวเพื่อไม่ให้ดอกหญ้าหลุดง่ายเวลากวาดบ้านนอกจากนั้นระยะเวลาการใช้งานของไม้กวาดใช้งานคงทนนอกจากนี้ไม้กวาดบ้านหันใหญ่-แม่เอีย ของกลุ่มไม้กวาดดอกหญ้าบ้านหันใหญ่-แม่เอีย มีหลากหลายขนาดให้เลือกการทำหัตถกรรมไม้กวาดจากดอกหญ้าของชุมชนบ้านโง้งตำบลโพธิ์งาม อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของชุมชนที่สืบทอดกันมากว่า 10 ปี ซึ่งคนในชุมชนได้ประกอบอาชีพเสริมทำให้รายได้ของครัวเรือนของคนในตำบลโพธิ์งามมีรายได้ทุกวันในปัจจุบันรายได้หลักของครัวเรือนและตำบลโพธิ์งามและตำบลใกล้เคียงในอำเภอประจันตคามส่วนใหญ่ทำอาชีพไม้กวาดเป็นรายได้หลักของครัวเรือนการสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)อุปกรณ์การทำไม้กวาดดอกหญ้า 1. เข็มเย็บกระสอบ2. เชือกฟาง3. ไม้ไผ่ ความยาวประมาณ 80 ซม.4. ดอกหญ้า5. ตะปูขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 ตัว ขั้นตอนการทำไม้กวาด6. ลวด7. เต้าพลาสติก8. คีมตัดลวด9. ค้อนวิธีทำไม้กวาดดอกหญ้า1.นำดอกหญ้ามาทำความสะอาดและตากแดดให้แห้งคัดเลือกเฉพาะดอกหญ้าที่มีคุณภาพ ดี2. นำดอกหญ้าปริมาณ 1 กำมือ มัดให้เป็นวงกลมโดยมัดด้วยลวด 3. นำเข็มเย็บกระสอบ ซึ่งร้อยเชือกฟางไว้แล้ว แทงเข้าตรงกลางมัดดอกหญ้า แล้วถักขึ้นลงแบบหางปลา ให้ได้ 3 ชั้น พร้อมจัดดอกหญ้าให้มีลักษณะแบน4. ตัดโคนดอกหญ้าให้เสมอกัน 5. นำด้ามไม้ไผ่เจาะรูที่หัวไว้สำหรับห้อยเชือกและเจาะรูตรงปลายนำมาขัดด้วยก้อนจากนั้นเสียบเข้าตรงกลางมัดดอกหญ้า6. นำเชือกฟางมัดดอกหญ้าไว้ด้วยกัน โดยนำเชือกฟางมาสอดตรงรูที่เจาะ เพื่อป้องกันไม่ให้ดอกหญ้าออกจากกัน 7. ตอกตะปูที่เตรียมไว้ เพื่อให้ดอกหญ้าติดกับด้ามไม้ไผ่ และมีความแข็งแรงขึ้น * เคล็ดลับทำให้ไม้กวาดแข็งแรง ควรนำดอกหญ้าตากแดดให้แห้งสนิทก่อนมัด จะได้ไม้กวาดที่มีความแข็งแรง ไม่หลุดง่าย เมื่อถึงเวลาใช้งาน การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล) ภูมิปัญญาท้องถิ่น การทำไม้กวาดดอกหญ้าการถ่ายทอดศูนย์การเรียนรู้ชุมชนหมู่บ้านบ้านหันใหญ่-แม่เอีย ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่นซึ่งผู้ใหญ่บ้านได้เรียกประชุม หารือกัน เพื่อร่วมกันสร้างอาชีพเสริม หารายได้จากการการทำไม้กวาดดอกหญ้านอกจากหน้าทำหน้าและว่างจากการทำอาชีพหลักแล้ว จึงทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเสริมและมีรายได้เพิ่มขึ้นเข้าสู่ครอบครัวและที่สำคัญได้ส่งเสริมและอนุรักษณ์ภูมิปัญญาของชุมชนต่อไปการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร) การถ่ายทอดการทำไม้กวาดดอกหญ้าเป็นการถ่ายทอดให้กับนักเรียนและประชาชนที่ให้ความสนใจและทำได้ง่ายๆในสถานศึกษา ปลอดภัย ซึ่งถือเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับนักเรียนที่อยู่แถวตามหมู่บ้าน ประโยชน์ตองกง/หญ้าไม้กวาด1. ช่อดอกนิยมใช้ทำไม้กวาด หรือที่เรียก ไม้กวาดดอกหญ้า ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับทุกครัวเรือน ซึ่งมีการผลิตจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ทั้งในรูปของเกษตรในครัวเรือน หรือรวมกลุ่มกันในชุมชน รวมถึงผลิตในระดับอุตสาหกรรมสำหรับส่งจำหน่ายต่างประเทศ2. ยอดอ่อน และหน่ออ่อนนำมารับประทานสดคู่กับน้ำพริกหรือนำไปประกอบอาหารจำพวกเมนูผัดหรือแกงต่างๆ3. ลำต้น ใบ และยอดอ่อนใช้สำหรับเป็นอาหารหยาบให้แก่โค กระบือ วิธีเก็บรักษาไม้กวาดดอกหญ้า1. สำหรับด้ามไม้กวาดที่มีเชือกแขวน หลังจากใช้แล้วให้แขวนไว้ โดยมีความสูงที่ผืนดอกหญ้าไม่พับวางบนพื้น2. หากด้ามไม้กวาดไม่มีเชือกห้อย ให้วางด้ามไม้กวาด โดยให้ผืนแผ่นหญ้าตั้งขึ้นอยู่ด้านบน เพราะหากวางผืนดอกหญ้าพับบนพื้นจะทำให้ก้านดอกหญ้างอพับได้ แต่บางตำรามองว่า การชันตั้งขึ้นอาจทำให้ฝุ่น และเชื้อโรคมาติดกับด้ามได้ และบางครั้งอาจทำให้ก้านดอกหญ้าโค้งงอลงด้านล่างได้เช่นกัน3. ไม่ควรเก็บไม้กวาดด้านนอกที่เสี่ยงต่อน้ำฝน และหากก้านดอกหญ้าถูกน้ำจนเปียก จะต้องนำออกผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำมาใช้พิกัด (สถานที่) บ้านหันใหญ่-แม่เอีย ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น 40120ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นางสาวรัตติยา สนธิรักษ์ รหัสนักศึกษา 6080110097 ห้อง/เลขที่ Section 4 เลขที่ 7 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (8005201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการหนองสองห้อง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่นอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลยhttps://youtu.be/SOHhrFj1Qow |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : การทำไม้กวาดดอกหญ้า, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : ไกรสร เกตุพิบูลย์ (ประธานกลุ่มฯ) |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
|
ผู้แต่งร่วม : รัตติยา สนธิรักษ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : นักเรียน / นักศึกษา, ผู้ปกครอง, ทั่วไป, ครู / อาจารย์ |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
ประถมศึกษาปีที่ 1 (ป. 1), ประถมศึกษาปีที่ 2 (ป. 2), ประถมศึกษาปีที่ 3 (ป. 3), ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี |
สาขาวิชาของสื่อ :
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ : รูปภาพ, VDO Clip, ใบงาน, ข้อมูลปฐมภูมิ |
ลักษณะของสื่อ :
{{setMessages['relation.media']}}
|
URL : https://youtu.be/SOHhrFj1Qow |
URL : |
: |
ไกรสร เกตุพิบูลย์ (ประธานกลุ่มฯ), รัตติยา สนธิรักษ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
(2561). การทำไม้กวาดดอกหญ้า,
26 มีนาคม 2562.
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/94930
ไกรสร เกตุพิบูลย์ (ประธานกลุ่มฯ), รัตติยา สนธิรักษ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
(2561). "การทำไม้กวาดดอกหญ้า".
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/94930.
(26 มีนาคม 2562)
ไกรสร เกตุพิบูลย์ (ประธานกลุ่มฯ), รัตติยา สนธิรักษ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
"การทำไม้กวาดดอกหญ้า".
26 มีนาคม 2562:
https://oer.learn.in.th/search_detail/result/94930.
ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง
ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง
รีวิว : การทำไม้กวาดดอกหญ้า
ไม่พบข้อมูลการรีวิว