ผู้หญิงไทยเริ่มใส่เสื้อชั้นในเมื่อไหร่กัน?

2      0
 
Creative Commons License
ผู้หญิงไทยเริ่มใส่เสื้อชั้นในเมื่อไหร่กัน? ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน 3.0 Thailand.

 
ชื่อเรื่อง : ผู้หญิงไทยเริ่มใส่เสื้อชั้นในเมื่อไหร่กัน?
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
คำอธิบาย :

จากการศึกษาพบว่าสตรีไทยในอดีตช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการเปลือยอกอิสระ จะสวมเสื้อหรือไม่สวมก็ได้แม้อยู่ในที่สาธารณะ โดยพบหลักฐานได้จากภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง หรือภาพถ่ายเก่าอย่างไรก็ตาม การสวมใส่เสื้อผ้าของสตรีก็ยังคำนึกถึงความเหมาะสมและกาลเทศะ เช่น การแต่งกายเมื่อเข้าวัดก็จำเป็นต้องสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด

เหตุผลสำคัญที่ทำให้สตรีไทยในอดีตไม่สวมเสื้อผ้าอาจด้วยลักษณะสภาพอากาศของประเทศไทยที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน การใส่เสื้อผ้าหลายชิ้นปกปิดร่างกายอาจทำให้รู้สึกร้อน อึดอัด หรือไม่สบายตัว ซึ่งผู้หญิงหลายประเทศในเขตร้อนก็ไม่ต่างกันนัก เช่น ผู้หญิงในสมัยก่อนที่อาศัยอยู่บนเกาะบาหลี อินโดนีเซีย ก็ไม่นิยมใส่เสื้อเช่นกัน

ทั้งนี้ ในอดีตสังคมไทยไม่ได้มีค่านิยมที่มองว่าเต้านมของผู้หญิงเป็นสิ่งยั่วกามารมณ์ แต่เป็นเพียงแค่อวัยวะหนึ่งของร่างกาย ทรวงอกของผู้หญิงเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความเจริญวัยที่พ้นสภาพจากเด็กสู่วัยสาวอีกด้วย การเปลือยอกในบริบทของช่วงเวลานั้นจึงไม่ใช่สิ่งผิดแปลก หากเป็นเทรนด์ที่กระทำกันโดยทั่วไป

การปกปิดเต้านมของผู้หญิงไทยเริ่มเกิดขึ้นในยุคอาณานิคม ซึ่งร่วมยุคสมัยพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ มีการกำหนดให้ผู้หญิงแต่งกายแบบสวมเสื้อผ้ามิดชิด และต้องปกปิดเต้านมหรือเผยให้เห็นได้แค่เฉพาะบริเวณเนินอกเท่านั้น และแนวคิดเกี่ยวกับการแต่งกายแบบสมัยวิกตอเรียนี้ก็เริ่มเข้ามามีอิทธิพลในสยามช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 โดยเริ่มจากการให้เหล่าสตรีในราชสำนักหาผ้ามาคาดอกปกปิดเต้านม และแพร่หลายออกไปทั่วสารทิศ จากวังสู่บ้าน จากเมืองหลวงสู่ชนบท จนกระทั่งในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงเรื่องการแต่งกายของคนไทยอย่างแท้จริง

"เสื้อทรงพริ้นเซส" (เสื้อรัดรูปมีตะเข็บเป็นทางตั้ง) จากตะวันตกได้ถูกนำเข้ามาในสังคมไทยและเป็นที่นิยมมาก ต่อมาได้ถูกดัดแปลงทำเป็นเสื้อชั้นในรุ่นแรก คือ ตัดโค้งให้กว้างและไม่มีแขน ตัดสั้นเหนือเอว เปิดตลอดด้านหน้ากลัดดุม มีกระเป๋าตรงใต้อก 1-2 ใบ เรียกว่า เสื้อผ่าตะเข็บเสื้อชั้นในรุ่นต่อมาคือ เสื้อคอกระเช้าโดยเริ่มมีการหัดใส่เสื้อคอกระเช้าตั้งแต่ยังเป็นเด็กหญิงเกล้าจุก พอเริ่มแตกเนื้อสาวจึงใช้แถบผ้า คล้ายริบบิ้นสอดรอบคอเสื้อ และรูดให้เสื้อพองย่นออกด้านหน้า ป้องกันไม่ให้เห็นหน้าอกชัดเจน

 

จนกระทั่งถึงสมัยจอมพลเเปลก พิบูลสงคราม หรือยุคแห่งการเปลี่ยนเเปลงให้เป็นเเบบตะวันตก (Westernization) โดยมีการออกกฎหมายกำหนดเเละควบคุมรูปแบบการแต่งกายของทั้งหญิงชายให้มีความเป็นอารยชนหรือทัดเทียมชาติตะวันตก จึงเห็นได้ว่ารัฐเริ่มได้เข้ามาควบคุมเรือนร่างของประชาชนมากยิ่งขึ้น อันส่งผลถึงการก่อร่างสร้างตัวของวัฒนธรรมการเเต่งกายใหม่ โดยมีเนื้อความส่วนหนึ่งกล่าวว่า

ให้แต่งกายให้สมกับเป็นอารยชน โดยกำหนด การแต่งกาย และทรงผมแบบใหม่ ขอให้สตรีทุกคน ไว้ผมยาว เลิกใช้ผ้าโจงกระเบน เปลี่ยนเป็นนุ่งผ้าถุงแทน เลิกการใช้ ผืนเดียวคาดอก หรือเปลือยกาย ท่อนบน ให้ใส่เสื้อแทน ส่วนชายนั้นขอให้เลิกนุ่งกางเกงแพรสีต่างๆ หรือผ้าม่วง เปลี่ยนมาเป็น นุ่งกางเกงขายาวแทน

 

ดังนั้น วัฒนธรรมการเเต่งกายมิดชิดเพื่อปกปิดทรวงอกของสตรีภายใต้บริบทสังคมไทยนั้น เป็นสิ่งที่ถูกประกอบสร้างขึ้นเเละได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมตะวันตกเพียงเมื่อไม่นาน และไม่ว่าจะเป็นสตรีชนชั้นล่าง หรือสตรีชนชั้นสูงล้วนเเต่เคยเปลือยอกอย่างเป็นเรื่องธรรมดาสามัญมาเเล้วในอดีต

ข้อมูลจาก

-เมื่อการเปลือยอกของหญิงไทยในอดีตเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ: ว่าด้วยเรื่องการเปลือยอกของสตรีไทยในอดีต

-นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2545), ว่าด้วยเพศ ความคิด ตัวตน และอคติทางเพศ ผู้หญิง เกย์ เพศศึกษา และกามารมณ์ (กรุงเทพฯ: มติชน)

-นิธิ เอียวศรีวงศ์ (2538), ผ้าขาวม้า ผ้าซิ่น กางเกงใน และ ฯลฯ: ว่าด้วยประเพณีความเปลี่ยนแปลง และเรื่องสรรพสาระ (กรุงเทพฯ: มติชน)

-ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ (2551), หนังสือโป๊ตลาดล่าง : ความรู้ มายาคติและจินตนาการในเรื่องเพศ (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล)

-การแต่งกายในสมัยรัตนโกสินทร์ 

คำอธิบาย :
คำสำคัญ : สังคมสมัยใหม่, โมเดิร์น, หน้าอก, จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม, Modernization, โป๊, อารยชน, ถอดรหัส, พิพิธภัณฑ์, วิกตอเรีย, Thainess, ความเป็นไทย, เนินอก, Westernization, สยามใหม่, เต้านม, เสื้อคอกระเช้า, จอมพลแปลก พิบูลย์สงคราม, วัฒนธรรมตะวันตก, ผ้าคาดอก, ความเปลี่ยนแปลง, อิทธิพลตะวันตก, ชนชั้นสูง, อากาศร้อน, ชนชั้นล่าง, ยุโรป, สตรีไทย
คำสำคัญ :
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
ผู้แต่งร่วม :  
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ผู้ปกครอง, ทั่วไป, ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
ระดับชั้น :  
ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
ระดับชั้น :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
สาขาวิชาของสื่อ :   สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สาขาวิชาของสื่อ :  
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
ลักษณะของสื่อ :   รูปภาพ, Infographic
ลักษณะของสื่อ :  
{{setMessages['relation.media']}}
URL : -
URL :
:
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม). (2567). ผู้หญิงไทยเริ่มใส่เสื้อชั้นในเมื่อไหร่กัน?, 17 ธันวาคม 2567. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/232929
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม). (2567). "ผู้หญิงไทยเริ่มใส่เสื้อชั้นในเมื่อไหร่กัน?". https://oer.learn.in.th/search_detail/result/232929. (17 ธันวาคม 2567)
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม). "ผู้หญิงไทยเริ่มใส่เสื้อชั้นในเมื่อไหร่กัน?". 17 ธันวาคม 2567: https://oer.learn.in.th/search_detail/result/232929.

ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง

รีวิว : ผู้หญิงไทยเริ่มใส่เสื้อชั้นในเมื่อไหร่กัน?

ไม่พบข้อมูลการรีวิว