ทำไม “ห้ามเหยียบธรณีประตู”
ทำไม “ห้ามเหยียบธรณีประตู” ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน 3.0 Thailand.
ไฟล์ดิจิทัล
ชื่อเรื่อง : ทำไม “ห้ามเหยียบธรณีประตู” |
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
|
คำอธิบาย :
ที่ตั้งของประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตร ทำให้ภูมิอากาศมีลักษณะเป็นแบบร้อนชื้น ช่วงฤดูมรสุมจะมีฝนตกชุกส่งผลให้จะมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ดังนั้นเมื่อสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยหากต้องจัดงานสำคัญกลางแจ้ง คนโบราณก็คิดหาวิธีการไล่ฝน ซึ่งมีกล่าวถึงกันว่า “ให้สาวพรหมจรรย์ไปปักตะไคร้ แล้วฝนจะหยุดตก” การปักตะไคร้เป็นความเชื่อของคนไทยที่มีมานานจนไม่สามารถระบุหลักฐานที่มาได้ รวมถึงไม่มีรายละเอียดของพิธีการว่าต้องใช้ต้นตะไคร้จำนวนเท่าใด หากแต่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าต้องปักเป็นจำนวนเลขคี่ เช่น 3 ต้น หรือ 7 ต้น โดยผู้ที่ประกอบพิธีจะต้องเป็น “สาวพรหมจรรย์” หรือไม่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์ โดยนำส่วนปลายยอดของต้นตะไคร้ปักลงไปในดิน ให้ส่วนโคนรากตะไคร้ชี้ขึ้นฟ้า เป็นเชิงส่งสัญญาณถึงพระพิรุณขอให้ย้ายเค้าเมฆฝนไปยังพื้นที่ไกลจากบริเวณที่จัดงาน หรือทำให้ฝนที่ตั้งเค้ามาหยุดตกได้ อย่างไรก็ตาม การห้ามดินฟ้าอากาศซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถกระทำการบังคับได้ จึงกลับกลายเป็นวาทกรรมที่มักถูกนำมาใช้ล้อเลียนผู้หญิงที่ว่าผู้หญิงคนไหนไปปักตะไคร้แล้วฝนไม่หยุดตกแสดงว่าผู้หญิงคนนั้นไม่โสดไม่บริสุทธิ์ เป็นการเสียดสีที่ลดทอนคุณค่าของผู้หญิง ทั้งนี้ ความเชื่อดังกล่าวมีตรรกะมาจากพื้นฐานแนวคิดว่า การเพาะปลูกพืชพันธุ์ใดก็ต้องปักส่วนโคนที่มีรากลงดินเพื่อให้เจริญเติบโต ดังนั้นการปักปลายตะไคร้ และหงายโคนชี้ฟ้าจึงเป็นลักษณะของการ “ผิดธรรมชาติ” ซึ่ง การกระทำที่ฝืนธรรมชาติเช่นนี้เชื่อว่าจะทำให้เทพเจ้าโกรธไม่พอใจ และดลบันดาลไม่ให้ฝนตกตามฤดูกาล หรือสั่งให้ฝนหยุดตกโดยทันที คล้ายๆ กับพิธีขึดของชาวล้านนา (ขึดคือความเชื่อที่เป็นข้อห้าม การกระทำในสิ่งที่เป็นอาถรรพ์ เสนียดจัญไร อัปมงคล) รู้หรือไม่ว่า “พิธีปักตะไคร้” ในแต่ละท้องถิ่นนั้นมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งความเชื่อที่ว่าผู้ปักตะไคร้จะต้องเป็นลูกสาวคนหัวปีหรือลูกคนโตที่ยังไม่แต่งงาน บ้างก็ว่าต้องเป็นลูกสาวคนเล็กที่ยังไม่แต่งงาน หรือลูกโทน ไปจนถึงแม่หม้าย จึงไม่ได้จำกัดไว้เฉพาะสาวพรหมจรรย์เท่านั้น หรือในพิธีกรรมโบราณมากจะให้ “เด็กหญิง” ที่ยังไม่มีประจำเดือนเป็นผู้ปักตะไคร้ ดังนั้น ความเชื่อดังกล่าวจึงจัดเป็นความเชื่อส่วนเฉพาะบุคคล
ข้อมูลจาก |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : ตะไคร้, ความเป็นไทย, การไล่ฝน, ภูมิอากาศ, ความเชื่อ, ขึดล้านนา, สังคมไทย, พิธีกรรม, ฤดูมรสุม, มิวเซียมสยาม, Infographic, Thainess, ร้อนชื้น, การหยุดตกของฝน, พิพิธภัณฑ์, ถอดรหัส, พิธีปักตะไคร้, สาวพรหมจรรย์ |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
|
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป, นักเรียน / นักศึกษา, ครู / อาจารย์, ผู้ปกครอง |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ : สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
สาขาวิชาของสื่อ :
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ : รูปภาพ |
ลักษณะของสื่อ :
{{setMessages['relation.media']}}
|
URL : - |
URL : |
: |