ความเชื่อโบราณในสังคมไทยเกี่ยวกับตุ๊กแก
ความเชื่อโบราณในสังคมไทยเกี่ยวกับตุ๊กแก ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน 3.0 Thailand.
ไฟล์ดิจิทัล
ชื่อเรื่อง : ความเชื่อโบราณในสังคมไทยเกี่ยวกับตุ๊กแก |
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
|
คำอธิบาย :
หลายคนคงเคยได้ยินความเชื่อเกี่ยวกับ “จิ้งจกร้องทัก” ผู้ใหญ่สมัยก่อนท่านว่าเป็น “ลางบอกเหตุ” ที่เชื่อว่ามีทั้งดีและร้าย วันนี้เรามาอ่านตำนานความเชื่อเกี่ยวกับ “ตุ๊กแก” ที่คนโบราณเล่าสืบต่อกันมาว่า “ตุ๊กแก” เป็นที่สิงสถิตของดวงวิญญาณบรรพบุรุษ ปู่ย่า ตายาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ท่านมักมาเตือนด้วยการส่งเสียงร้อง ซึ่งมีความหมายในรูปแบบต่างๆ ตีความไว้ดังนี้ ตุ๊กแกร้องกลางวัน : มีเหตุร้าย ตามปกติแล้วตุ๊กแกที่อาศัยอยู่ในบ้านจะร้องในเวลากลางคืน แต่ถ้าวันดีคืนดีเกิดร้องขึ้นมาในตอนกลางวัน ไม่ว่าจะร้องกี่ครั้งก็ตามถือเป็นลางบอกเหตุว่ากำลังจะเกิดเหตุร้ายกับคนในครอบครัวหรือภายในบ้าน ซึ่งปกติแล้วตุ๊กแกจะไม่ร้องในเวลากลางวัน เสียงร้อง แก..แก จะมีความหมายในทางที่ไม่ดี ชั่วช้า ให้รีบไล่ไปทันทีเพื่อแก้เคล็ด ร้องต่ำกว่า 5 ครั้ง ไม่มีความหมายสักเท่าใดนัก อยู่ในเกณฑ์ร้ายเล็กน้อย จะไล่หรือไม่ไล่ก็ได้ ร้อง 5 ครั้ง หมายถึง เสนียดจัญไร โรคภัยต่างๆ นาๆ ให้รีบไล่ไปให้พ้นจากบ้าน ร้อง 6 ครั้ง หมายถึง เจ้าของบ้านจะเดือดร้อนอึดอัด คับแค้นใจ ควรไล่ออกจากบ้าน ร้อง 7 ครั้ง ความหมายไม่ดี จะมีการเสียทรัพย์ ดวงการเงินย่ำแย่ ควรรีบไล่ออกไป ร้อง 8 ครั้ง ความหมายดี เกิดโชคลาภมากมาย ควรเลี้ยงไว้ในบ้าน ร้อง 9 ครั้ง ความหมายดี จะทำให้รุ่งเรือง ควรอย่างยิ่งที่จะเลี้ยงไว้ ร้อง 10 ครั้ง ดีมาก ทำให้ร่ำรวยเงินทองไหลมาเทมา ควรเลี้ยงไว้อย่างยิ่ง ร้อง 11 ครั้ง ดีมากๆ ทำให้ร่ำรวยเงินทองแล้วจะได้พบเจอเนื้อคู่ที่ถูกใจ ให้เลี้ยงไว้จะมีแต่สิ่งดีๆ คนโบราณเล่าสืบต่อกันมาอีกว่า ถ้าโดนตุ๊กแกกระโดด หรือตกมาอยู่ที่ตัวมักจะแกะไม่ออกเพราะตีนตุ๊กแกเหนียวมากยิ่งกว่าติดกาวเสียอีก วิธีที่จะทำให้มันหลุดได้คนโบราณพูดต่อๆ กันมาว่า “ให้ผู้ที่ถูกตุ๊กแกเกาะรีบกินน้ำ 3 โอ่ง กินข้าว 3 จาน และกินอุจจาระ 3 กอง ตุ๊กแกก็จะหลุดไปได้” ซึ่งน่าจะเป็นกุศโลบายให้เด็กๆ อยู่ห่างจากตุ๊กแก เพราะตุ๊กแกตัวใหญ่และมีฟันแหลมคม และหากจับโดยไม่ระวังอาจได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายได้
หรือความเชื่อที่ว่า “ถ้าโดนตุ๊กแกกัดมันจะไม่ปล่อยจนกว่าจะได้ยินเสียงฟ้าผ่า” ข้อเท็จจริงก็คือ ตุ๊กแกหากได้กัดใครแล้ว ส่วนกรามของมันจะล็อคยิ่งเราไปจับตัวมัน มันก็จะกัดแน่นขึ้นเรื่อย ๆ หรือหากไปงัดหรือง้างปาก ก็จะยิ่งกัดให้แน่นลงไปอีก วิธีที่ถูกต้องคือ เมื่อถูกกัด อย่าพยายามแตะตัวตุ๊กแกเดี๋ยวมันจะปล่อยเอง หรือหาอะไรฉุนๆ มาวางไว้ใกล้จมูกตุ๊กแก เช่น ยาเส้น สักพักมันก็จะปล่อยเอง |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : จิ้งจก, Thainess, การกัด, วิธีการปลดปล่อย, เสียงร้อง, ถอดรหัส, ความเปลี่ยนแปลง, วัฒนธรรม, พิพิธภัณฑ์, ตำนาน, ความเป็นไทย, การเตือน, การไล่, ตุ๊กแก, โชคลาภ, ความเชื่อ, อินโฟกราฟิก, มิวเซียมสยาม, การร่ำรวย, ความหมาย, Infographic, ลางบอกเหตุ, สังคมไทย |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
|
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : นักเรียน / นักศึกษา, ครู / อาจารย์, ทั่วไป, ผู้ปกครอง |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ : สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
สาขาวิชาของสื่อ :
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ : รูปภาพ |
ลักษณะของสื่อ :
{{setMessages['relation.media']}}
|
URL : - |
URL : |
: |