ทำไมต้อง "ทำขวัญนาค”
ทำไมต้อง "ทำขวัญนาค” ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน 3.0 Thailand.
ไฟล์ดิจิทัล
ชื่อเรื่อง : ทำไมต้อง "ทำขวัญนาค” |
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
|
คำอธิบาย :
พระพุทธเจ้าไม่เคยบัญญัติไว้ในพระธรรมวินัย การบวชนาค ถือเป็นพิธีกรรมที่มีจุดกำเนิดในภูมิภาคอุษาคเนย์ ไม่ได้มีในชมพูทวีปหรืออินเดียโบราณ พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติไว้ในพระธรรมวินัย แต่ในประเพณีไทยตั้งแต่โบราณ กลับเรียกการอุปสมบทว่า พิธีกรรมบวชนาคให้เป็นพระ ไม่ใช่การบวชคนให้เป็นพระ ตามตำนานเล่าขานที่ว่า พญานาคตนหนึ่งมีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา อยากบวชเป็นพระสงฆ์แต่ไม่สามารถทำได้ จึงขอฝากชื่อของตนไว้กับพิธีบวชเป็นสงฆ์ของมนุษย์ ทุกครั้งว่าบวช “นาค” ด้วยได้หรือไม่ คำว่า นาค จึงปรากฏในพิธีบวชพระว่า “บวชนาค” มาจนถึงทุกวันนี้ การทำขวัญนาค มีความเชื่อกันว่า "ขวัญ" ของพ่อนาคจะไปเที่ยวที่ไกลๆ จึงจำเป็นต้องทำพิธีเรียกขวัญให้มาอยู่กับเนื้อกับตัวก่อนจะเข้าพิธีบวช แต่เหตุผลที่แท้จริง การทำขวัญนาคให้แก่ผู้บวชก็เพราะว่าในสมัยโบราณ ยังไม่มีการเล่าเรียนเขียนอ่านเหมือนเดี๋ยวนี้ นอกจากจะเขียนไม่ได้อ่านไม่ออกแล้ว ยังไม่ได้รับการอบรมสั่งสอนให้มีความรอบรู้ในเรื่องต่างๆ ด้วย แม้แต่เรื่องคนที่จะบวชเป็นพระสงฆ์ ควรทำหรือปฏิบัติตนอย่างไร บวชเพื่ออะไร และบวชแล้วได้อะไร ด้วยเหตุที่คนจะบวชขาดความรู้จึงมีคนที่มีความรู้ที่เรียกว่า “หมอทำขวัญ” มาเป็นคนสอน หรือบอกคนที่จะบวช ที่เรียกว่า “นาค” ก่อนวันบวชหนึ่งวัน หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า วันสุขดิบ การทำขวัญนาคที่ว่านี้ เพื่อเป็นพิธีรีตองให้เห็นว่ามีความสำคัญ จะมีการเย็บบายศรีที่ทำจากใบตองเป็นฉัตรเจ็ดชั้นเก้าชิ้น และมีเครื่องเซ่นสังเวย พิธีต่างๆ ในการทำขวัญนาคเป็นแบบอย่างของศาสนาพราหมณ์ที่นำมาประกอบพิธีควบคู่กับศาสนาพุทธมาเป็นเวลายาวนาน เหตุผลที่มีการทำขวัญนาคก็มีเพียงการสอนนาคให้รู้ว่าทำไมต้องบวช สอนออกมาเป็นบทเป็นกลอน หรือเอาเรื่องอื่นๆ มาพูดมาสอนด้วย ก็เพื่อให้การสอนมีความสนุกสนาน ไม่ให้นาคและคนอื่นๆ ฟังแล้วรู้สึกเบื่อเท่านั้นเอง ส่วนมากหมอทำขวัญจะสอนเน้นไปที่ให้ผู้บวชรู้บุญคุณของพ่อแม่เป็นหลัก
การทำขวัญนาคที่พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติไว้ในพระธรรมคำสอน ในอนาคตก็อาจจะกลายเป็นตำนานเล่าขาน ไม่มีใครทำขวัญนาคให้เห็นอีกก็ได้ |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : ความเปลี่ยนแปลง, พญานาค, ความรู้, ศาสนาพราหมณ์, อินโฟกราฟิก, บทกลอน, มิวเซียมสยาม, สังคมไทย, พระพุทธเจ้า, ประเพณีไทย, อุษาคเนย์, ถอดรหัส, พิพิธภัณฑ์, ความเชื่อ, พระธรรมวินัย, ขวัญนาค, พิธีกรรม, Infographic, ตำนาน, การบวชนาค, Thainess, ความเป็นไทย, ศาสนาพุทธ, วัฒนธรรม, หมอทำขวัญ, บุญคุณพ่อแม่ |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
|
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป, ผู้ปกครอง, ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ : สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
สาขาวิชาของสื่อ :
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ : รูปภาพ |
ลักษณะของสื่อ :
{{setMessages['relation.media']}}
|
URL : - |
URL : |
: |