น้ำแข็งไส วัฒนธรรมคลายร้อนแบบหวานๆ เย็นๆ

8      1
 
Creative Commons License
น้ำแข็งไส วัฒนธรรมคลายร้อนแบบหวานๆ เย็นๆ ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน 3.0 Thailand.

 
ชื่อเรื่อง : น้ำแข็งไส วัฒนธรรมคลายร้อนแบบหวานๆ เย็นๆ
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
คำอธิบาย :

เมื่อย่างเข้าฤดูร้อน แสงแดดที่แผดเผาและอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย หลายคนคิดถึงอะไรที่หวานๆ เย็นๆ ให้พอรู้สึกสดชื่นขึ้นอย่าง “น้ำแข็งไส” ของหวานทานง่ายที่สันนิษฐานว่าเกิดจากการใช้มีดสับก้อนน้ำแข็งให้แตกเป็นฝอยหรือก้อนเล็กๆ กินกับน้ำเชื่อมก่อนจึงเรียกของหวานชนิดนี้ตามลักษณะการทำว่า น้ำแข็งไส (Shaved ice) ก่อนที่จะมีการพัฒนาเปลี่ยนรูปแบบไปตามกาลเวลา

นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์อาหารอ้างว่ามีหลักฐานที่เก่ากล่าวถึง bao bing ซึ่งแปลว่า ''น้ำแข็งไส'' ในประเทศจีนตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 7 และในปี ค.ศ. 1972 เมื่อประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) ไปเยือนจีนเป็นครั้งแรกก็มีน้ำแข็งไสเป็นของหวานสำคัญในมื้อเย็นเลี้ยงต้อนรับที่เขาร่วมโต๊ะกับประธานาธิบดีเหมาเจ๋อตุง (Mao Zedong)  และโจวเอินไหล (Zhou Enlai)

 สำหรับประเทศญี่ปุ่น สมัยเฮอิอัน (Heian ปี ค.ศ. 794 – 1185) ก้อนน้ำแข็งจากช่วงฤดูหนาวจะถูกตัดเก็บไว้แล้วนำมาขูดให้เป็นเกล็ดฝอยและใส่น้ำเชื่อมเป็นของหวานที่เสิร์ฟให้เฉพาะกับชนชั้นสูงในช่วงฤดูร้อน เรียกว่า คากิโงริ (kakigori) จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาคิดค้นเครื่องทำน้ำแข็งได้สำเร็จช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ทำให้อุตสาหกรรมน้ำแข็งทั่วโลกขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น ต่อมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ด้วยเครื่องไสน้ำแข็งแบบมือหมุน ทุ่นแรงขูดก้อนน้ำแข็งให้เป็นเกล็ดได้รวดเร็ว ความนิยมทานน้ำแข็งไสในญี่ปุ่นก็ยิ่งแพร่หลายมากขึ้นถึงขนาดกำหนดให้ทุกวันที่ 25 กรกฎาคมเป็น วันคากิโงริ ซึ่งภายหลังญี่ปุ่นเป็นผู้ส่งต่อวัฒนธรรมการกินน้ำแข็งไสนี้ให้กับฟิลิปปินส์ (เรียกว่า Halo-halo) และถ่ายทอดไปยังเกาะฮาวายอีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีบันทึกหลักฐานที่แน่ชัดว่าการกินน้ำแข็งไสนั้นแพร่หลายไปทั่วโลกได้อย่างไร ทุกคนจึงเป็นเจ้าของวัฒนธรรมนี้ร่วมกัน โดยในแต่ละท้องถิ่นได้คิดตั้งชื่อเฉพาะสำหรับเรียกของหวานชนิดนี้ตามภาษาของตัวเอง รวมถึงเครื่องประกอบ และวิธีการกินหลากหลายที่แตกต่างกันไปตามบริบททางวัฒนธรรมการบริโภคในท้องถิ่น ตลอดจนความนิยมของผู้กิน ได้แก่ พัดบิงซู (pat-bingsu เกาหลี) คากิโงริ (kakigori ญี่ปุ่น) เปาปิ่ง (Baobing จีน/ ไต้หวัน) ไอซ์กาจัง (ice kachang มาเลเซีย/ สิงคโปร์/อินโดนีเซีย) ฮาโล-ฮาโล (Halo-halo ฟิลิปปินส์) ราสปาโด้ (raspado เม็กซิโก/นิการากัว) สโนว์ โคน (snow cone ทวีปอเมริกาเหนือ) ปารัฟ กา โกลา (Baraf ka Gola ปากีสถาน) เป็นต้น

แล้วคนไทยเริ่มกินน้ำแข็งไสเมื่อไหร่? อาจต้องไล่เรียงย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของการมีน้ำแข็งในสังคมว่า เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 สยามต้องสั่งน้ำแข็งนำเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์ ต่อมาได้มีการตั้งโรงน้ำแข็งสยามขึ้นในปี พ.ศ. 2448 โดยนายเลิศ เศรษฐบุตร (ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาภักดีนรเศรษฐ) หากแต่ระยะแรกน้ำแข็งยังเป็นของที่มีราคาแพง จึงสันนิษฐานว่าความนิยมบริโภคน้ำแข็งและน้ำแข็งไสน่าจะเริ่มแพร่หลายขึ้นในช่วงหลังปี พ.ศ. 2500 โดยใช้ “ม้าไสน้ำแข็ง” ที่ฝังใบมีดไว้ตรงกลางตัวม้าหรือฐานแล้วสไลด์ก้อนน้ำแข็งให้ใบมีดขูดกับก้อนน้ำแข็งแตกเป็นเกล็ดใส่ภาชนะที่รองไว้ด้านล่าง

หากย้อนเวลาถอยหลังไปสัก 40-50 ปี น้ำแข็งไส จะนำเกล็ดน้ำแข็งฝอยละเอียดมาอัดในภาชนะเป็นทรงรูปกรวยดราดด้วยน้ำหวานสีๆ (แดง-เขียว-เหลือง) ปิดท้ายโรยด้วยนมข้นหวาน หรืออีกรูปแบบหนึ่ง คือ ของหวานสไตล์ไทยใส่เครื่องประกอบหลายอย่างและราดด้วยน้ำเชื่อม มีเครื่องหลากหลายให้เลือกใส่ตามใจชอบได้ 3 ชนิด เช่น ขนมปังปอนด์ รวมมิตร มันเชื่อม ลูกตาลเชื่อม ลูกชิด ทับทิมกรอบ เม็ดแมงลัก ข้าวโพด ขนุน ถั่วแดง พุทราเชื่อม ข้าวต้มน้ำวุ้น เผือก เฉาก๊วย แห้ว ซ่าหริ่ม ลอดช่อง แตงไทย ฯลฯ ก็เป็นน้ำแข็งไสที่ได้รับความนิยมมาก รวมถึงรูปแบบอื่นๆ ที่อาจแตกต่างกันไปตามท้องถิ่นและความนิยมของผู้กิน

 

อ้างอิง

https://en.wikipedia.org/wiki/Shave_ice

https://www.nytimes.com/1989/06/07/garden/the-americanization-of-bao-bing-a-cool-fruity-asian-treat.html

 

https://www.thairath.co.th/content/745337

คำอธิบาย :
คำสำคัญ : ความหลากหลาย, การบริโภคตามวัฒนธรรม, งานเลี้ยง, ถอดรหัส, ประเทศญี่ปุ่น, ความคิดริเริ่ม, ประเทศจีน, สังคมไทย, ประวัติศาสตร์, รัชกาลที่ 4, Infographic, การบริโภคน้ำแข็ง, เครื่องปรุง, กิจกรรมการบริโภค, คากิโงริ, การทำเครื่องดื่มเย็น, ก้อนน้ำแข็ง, นโยบายอาหาร, การตลาด, ความสำคัญทางวัฒนธรรม., การเติบโตของอุตสาหกรรมน้ำแข็ง, ฤดูร้อน, ประเพณี, การพัฒนา, วัฒนธรรม, นวัตกรรม, นวัตกรรมการทำอาหาร, ประสบการณ์การรับประทาน, วัตถุดิบ, สดชื่น, ประเทศฟิลิปปินส์, Thainess, นโยบายด้านอาหาร, สังคม, สยาม, อาหารท้องถิ่น, ความเพลิดเพลิน, น้ำแข็งไส, ของหวาน, ร้อน, ความคิดสร้างสรรค์, ความเปลี่ยนแปลง, รสชาติ, สังคมร่วมสมัย, มิวเซียมสยาม, ความนิยม, ภาษา
คำสำคัญ :
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
ผู้แต่งร่วม :  
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป, ผู้ปกครอง, ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
ระดับชั้น :  
ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
ระดับชั้น :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
สาขาวิชาของสื่อ :   สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สาขาวิชาของสื่อ :  
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
ลักษณะของสื่อ :   รูปภาพ
ลักษณะของสื่อ :  
{{setMessages['relation.media']}}
URL : -
URL :
:
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม). (2567). น้ำแข็งไส วัฒนธรรมคลายร้อนแบบหวานๆ เย็นๆ, 17 ธันวาคม 2567. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/232938
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม). (2567). "น้ำแข็งไส วัฒนธรรมคลายร้อนแบบหวานๆ เย็นๆ". https://oer.learn.in.th/search_detail/result/232938. (17 ธันวาคม 2567)
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม). "น้ำแข็งไส วัฒนธรรมคลายร้อนแบบหวานๆ เย็นๆ". 17 ธันวาคม 2567: https://oer.learn.in.th/search_detail/result/232938.

ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง

รีวิว : น้ำแข็งไส วัฒนธรรมคลายร้อนแบบหวานๆ เย็นๆ

ไม่พบข้อมูลการรีวิว