ครัวซองต์ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากฝรั่งเศส
ครัวซองต์ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากฝรั่งเศส ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน 3.0 Thailand.
ไฟล์ดิจิทัล
ชื่อเรื่อง : ครัวซองต์ไม่ได้มีต้นกำเนิดจากฝรั่งเศส |
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
|
คำอธิบาย :
บรรดาขนมปังอบทั้งหลายที่วางเรียงรายบนถาดในร้านเบเกอรี่มักจะมีขนมปังรูปร่างน่าตาคล้ายเสี้ยวพระจันทร์ที่มีเนื้อแป้งโปร่งเบา กรอบนอกนุ่มในและหอมกลิ่นเนยที่ชื่อว่า “ครัวซองต์” (croissant) แทรกตัวอยู่ด้วยแน่นอน เชื่อว่าอย่างน้อยคนที่เคยซื้อหรือทานขนมปังน่าจะรู้จักขนมปังชนิดนี้ และอาจรับรู้เป็นนัยๆ ทั่วกันว่า ครัวซองต์เป็นขนมปังอีกชนิดหนึ่งของฝรั่งเศสนอกจากบาแกตต์ (baguette) หรือเจ้าขนมปังแท่งยาวๆ ร้านเบเกอรี่เกือบทั่วโลกที่ทำครัวซองต์มักจะอบตัวแป้งขนมปังเข้าคู่กับช็อกโกแลต ผลไม้ เนื้อสัตว์ ผักและชีส รวมถึงมีผู้คนอีกจำนวนมากมายที่เอาขนมปังครัวซองต์มาสไลด์แนวยาวทำเป็นแซนวิชหน้าต่างๆ และที่นิยมมากสุดน่าจะเป็นแซนวิชครัวซองต์แฮมชีส ส่วนโรงแรมหรูระดับ 3 ดาวครึ่งขึ้นไปมักจะมีปาติซิเย (patissier) เข้าครัวอบขนมปังครัวซองต์ใหม่ๆ ร้อนๆ เสิร์ฟในห้องทานอาหารมื้อเช้าของโรงแรม มีใครเคยรู้บ้างไหมว่าอันที่จริงแล้วขนมปังครัวซองต์นั้นมีที่มาจากเหตุการณ์สำคัญหนึ่งทางประวัติศาสตร์ ทั้งนี้นักประวัติศาสตร์ด้านอาหารต่างเชื่อกันว่า รูปร่างคล้ายเสี้ยวพระจันทร์ของตัวขนมปังครัวซองต์นั้นถูกคิดทำขึ้นในปี ค.ศ. 1683 โดยคนอบขนมปังชาวเวียนนาที่ต้องการฉลองให้กับชัยชนะเหนือกองทัพเติร์กออตโตมันในสงครามยุทธการเวียนนา (Battle of Vienna) จึงทำตัวขนมปังให้มีรูปร่างคล้ายเสี้ยวพระจันทร์ (ที่เป็นตราสัญลักษณ์อิสลามของเติร์ก) ซึ่งชาวออสเตรียนต่างเรียกขนมปังชนิดนี้ว่า kipferl (มาจากภาษาเยอรมัน แปลว่า เสี้ยวพระจันทร์) และนี่คือต้นแบบของรูปทรงขนมปังครัวซองต์อย่างที่เห็นในปัจจุบัน ดังนั้น ครัวซองต์จึงไม่ได้มีต้นกำเนิดมาจากฝรั่งเศสแต่อย่างใด ไฉนเลยขนมปังชนิดนี้จึงได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมฝรั่งเศสกัน? จากขนมออสเตรียนมาสู่ครัวฝรั่งเศสผ่านพระราชเสาวนีย์ของพระนางมารี อ็องตัวแน็ตต์ ราชินีองค์สุดท้ายของฝรั่งเศสที่สั่งให้คนทำขนมอบในวังหลวงทำเลียนแบบขนมที่พระนางโปรดปรานจากบ้านเกิดในออสเตรีย เจ้าขนมปังรูปเสี้ยวจันทร์นี้จึงได้เป็นที่นิยมในฝรั่งเศส ต่อมาราว ปี ค.ศ. 1839 ออกุส ซอง (August Zang) นายทหารออสเตรียน สังกัดกองปืนใหญ่ ได้ก่อตั้งร้านเบเกอรี่เวียนนาขึ้นในเมืองปารีสและริเริ่มทำขนมปังสูตรเฉพาะของเวียนนาอย่างครัวซองต์และขนมปังปอนด์ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1915 นักทำขนมปังชาวฝรั่งเศสนามว่า ซิลแว็ง เคลาดิอุส กอย (Sylvain Claudius Goy) ได้แรงบันดาลใจให้คิดค้นพัฒนาปรับปรุงสูตรเนื้อแป้งใหม่ให้เบานุ่มขึ้นเรื่อยๆ และเขียนเป็นตำราสูตรทำครัวซองต์ที่เราทุกคนรู้จักและชื่นชอบในปัจจุบันนั่นเอง ความประหลาดใจของเรื่องนี้อาจมาหยุดและจบลงที่ในสหรัฐอเมริกามีการกำหนดให้วันที่ 30 มกราคมของทุกปีเป็นวันครัวซองต์แห่งชาติ (National Croissant Day) แต่ไม่มีใครทราบประวัติและที่มาของวันครัวซองต์แห่งชาตินี้เลย ไม่มีหลักฐานใดๆ ปรากฏหรือกล่าวถึงผู้ก่อตั้งหรือปีที่ริเริ่มการเฉลิมฉลอง ทั้งนี้มีเพียงข้อสันนิษฐานว่าน่าจะเริ่มมีการเฉลิมฉลองอย่างเร็วที่สุดเมื่อปี ค.ศ. 2006 และอาจมีเหตุผลของการฉลองง่ายๆ แค่เพียงเพราะชาวอเมริกันชื่นชอบขนมปังครัวซองต์เอามากๆ หากได้ทานครัวซองต์อุ่นๆ คู่กับกาแฟร้อนเป็นอาหารมื้อเช้าก็แสนสุดจะเพอร์เฟกต์ และลงตัวเหมาะเจาะกับสภาพอากาศที่ยังคงหนาวเย็นของเดือนมกราคมก็เท่านั้น
อ้างอิง https://nationaltoday.com/national-croissant-day/ https://nationaldaycalendar.com/national-croissant-day-january-30/ https://www.awarenessdays.com/awareness-days-calendar/national-croissant-day-2021/
https://happydays365.org/croissant-day/national-croissant-day-january-30/ |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : บุคลิกภาพอาหาร, Infographic, สูตรอาหารความนิยม, แซนวิชครัวซองต์แฮมชีส, ครัวซองต์ (Croissant), นวัตกรรมการทำขนม, Thainess, สงครามยุทธการเวียนนา, วัฒนธรรมฝรั่งเศส, ความเกี่ยวข้องระหว่างออสเตรียและฝรั่งเศส, ขนมปังอบ, ประวัติศาสตร์, วันครัวซองต์แห่งชาติ (National Croissant Day), เสี้ยวพระจันทร์, มิวเซียมสยาม, สังคมไทย, ความเป็นไทย, ถอดรหัส, เบเกอรี่ |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
|
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ผู้ปกครอง, ครู / อาจารย์, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ : สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
สาขาวิชาของสื่อ :
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ : รูปภาพ |
ลักษณะของสื่อ :
{{setMessages['relation.media']}}
|
URL : - |
URL : |
: |