รู้หรือไม่ ...สลากกินแบ่งที่คนไทยนิยมชมชอบ มีต้นกำเนิดมาจากอะไร?
รู้หรือไม่ ...สลากกินแบ่งที่คนไทยนิยมชมชอบ มีต้นกำเนิดมาจากอะไร? ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน 3.0 Thailand.
ไฟล์ดิจิทัล
ชื่อเรื่อง : รู้หรือไม่ ...สลากกินแบ่งที่คนไทยนิยมชมชอบ มีต้นกำเนิดมาจากอะไร? |
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
|
คำอธิบาย :
จากงานสำรวจพบว่า คนไทยซื้อสลากกินแบ่ง ประมาณ 20 กว่าล้านคนหรือ 1ใน 3 ของประชากรในประเทศ โดยในแต่ละปีสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มีรายได้สูงกว่า 100,000 ล้านบาท ย้อนกลับไปในสมัยรัชกาลที่ 3 ประมาณปีพ.ศ. 2375 เกิดข้าวยากหมากแพง จนทำให้ประชาชนไม่กล้าใช้เงิน เอาเงินไปฝังดินเก็บไว้ ทำให้ไม่มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ รัชกาลที่ 3 ได้ทรงคิดค้นวิธีให้ประชาชนนำเงินที่ฝังดินไว้ออกมาใช้จ่าย จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระศรีไชยบาล (จีนหง) ตั้งโรงหวยขึ้นมา จึงเป็นที่มาของหวยประเภทแรกที่คนไทยรู้จัก เรียกว่า "ฮวยหวย" (花會) แปลว่า ชุมนุมดอกไม้ ซึ่งเป็นการแกะสลักรูปดอกไม้ชนิดต่างๆ บนป้าย จากนั้นค่อยเปลี่ยนมาเป็นทายชื่อบุคคลสำคัญของจีนในอดีตที่มีจำนวน 34 ป้าย เจ้ามือหวยจะเลือก 1 ป้ายชื่อ ใส่ลงกระบอกปิดฝาแล้วแขวนไว้บนหลังคาโรงหวย คนเล่นจะทายว่าชื่อในกระบอกคือชื่อใคร หากทายถูกเจ้ามือจะต้องจ่าย 30 ต่อ 1 หากแต่ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก เพราะยังมีจุดอ่อนที่สำคัญคือการใช้อักษรจีนในป้ายหวย คนไทยส่วนใหญ่ในยุคนั้นไม่ค่อยรู้จักอักษรจีน ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนจากหวยภาษาจีน เลยเปลี่ยนมาเป็น อักษรไทย 36 ตัว พร้อมกับชื่อใหม่ "หวย ก ข" เรื่องนี้เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ หวย ได้รับความนิยมอย่างสูง กลายเป็นอีกหนึ่งรายได้หลักของรัฐฯ ขณะเดียวกันก็เกิดขุนบานเถื่อนขึ้นทั่วประเทศ หรือเจ้ามือหวยแบบผิดกฎหมายนั้นเอง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการออก “ลอตเตอรี่” เป็นครั้งแรกในประเทศ และมีการออกตามวาระพิเศษ โดยส่วนใหญ่ก็เพื่อหารายได้ช่วยบำรุงสาธารณกุศล จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงประกาศให้ยกเลิก “หวย ก ข” เพราะเห็นว่าเกิดปัญหาสังคมมากมาย หลังจากนั้นก็มีการออก ลอตเตอรี่ โดยรัฐบาลเป็นผู้ควบคุมทั้งหมด เช่น ลอตเตอรี่เสือป่า,ลอตเตอรี่รัฐบาลสยาม,สลากกินแบ่งบำรุงเทศบาล โดยเป้าหมายทั้งหมดคือหารายได้การกุศล และหารายได้เข้าสู่ภาครัฐ ในปี พ.ศ. 2482 ได้มีการก่อตั้ง สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ดำเนินจำหน่ายสลากเป็นธุรกิจของรัฐบาลอย่างจริงจัง
ในปี พ.ศ. 2517 มีการออก พ.รบ.ให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงการคลัง และมีการออกผลรางวัล ทุกวันที่ 1 และ 16 ของเดือน รายได้ของ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี พ.ศ. 2554 อยู่ที่ 59,813 ล้านบาท และรายได้ล่าสุดเมื่อสิ้นปี พ.ศ. 2561 อยู่ที่ 136,695 ล้านบาท จะเห็นว่าภายใน 7 ปีมีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว ที่น่าสนใจก็คือ รายได้ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ทั้งยังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยในทุกๆ ปี คนไทยที่ซื้อหวยมีทั้งซื้อแบบเสี่ยงโชค หรือซื้อแบบจริงจังขนาดว่าทุ่มเงินเพื่อซื้อเลขเด็ดแบบไม่จำกัด ไม่ว่าจะซื้อแบบไหน ทุกคนล้วนมักคาดหวังให้กระดาษแผ่นเดียวนี้เปลี่ยนชีวิตของตัวเองด้วยกันทั้งนั้น |
คำอธิบาย : |
คำสำคัญ : ถอดรหัส, รัชกาลที่ 3, การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลในประเทศไทย, แนวโน้มการเติบโตของรายได้, ขุนบานเถื่อน, มิวเซียมสยาม, หวย ก ข, พิพิธภัณฑ์, การบำรุงสาธารณกุศล, Infographic, สังคมไทย, ความเปลี่ยนแปลง, อินโฟกราฟิก, สลากกินแบ่งรัฐบาล, ประวัติศาสตร์หวยไทย, การเสี่ยงโชค, รัชกาลที่ 5, ความเป็นไทย, รายได้ของรัฐ, Thainess, ความหวังของประชาชน |
คำสำคัญ :
|
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม) |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
|
ผู้แต่งร่วม :
|
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ครู / อาจารย์, ผู้ปกครอง, ทั่วไป, นักเรียน / นักศึกษา |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ระดับชั้น :
ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
|
ระดับชั้น :
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
|
สาขาวิชาของสื่อ : สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม |
สาขาวิชาของสื่อ :
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
|
ลักษณะของสื่อ : รูปภาพ |
ลักษณะของสื่อ :
{{setMessages['relation.media']}}
|
URL : - |
URL : |
: |