ความนิยมหมูกรอบของคนไทย

6      1
 
Creative Commons License
ความนิยมหมูกรอบของคนไทย ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้าและต้องเผยแพร่งานดัดแปลงโดยใช้สัญญาอนุญาตชนิดเดียวกัน 3.0 Thailand.

 
ชื่อเรื่อง : ความนิยมหมูกรอบของคนไทย
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
คำอธิบาย :

ในแต่ละปีกูเกิล (Google) เสิร์ชเอ็นจินที่คนทั่วโลกมักใช้ค้นหาสิ่งต่างๆ จะรวบรวมข้อมูลจากบรรดาคีย์เวิร์ดที่คนใช้ค้นหาและประมวลออกมาเป็นเทรนด์ในแต่ละประเทศ รวมถึงทั่วโลกด้วยนั้นผู้คนให้ความสนใจ หรือมีความคิดไปในทิศทางไหน ซึ่งปีนี้กูเกิลรายงานว่าสถิติการใช้ระบบสืบค้นเพิ่มสูงขึ้นมากหลายเท่าตัว 

สิ่งที่คนไทยให้ความสนใจมากสูงสุดจนเป็นเทรนด์แห่งปีคืออะไร? กูเกิลได้สรุปไว้สั้นๆ ว่า “เรื่องของกินเป็นสิ่งที่คนไทยให้ความสำคัญ...ในปี 2020 มีคนค้นหา ‘หมูกรอบ’ มากขึ้นกว่า 5000%”

แน่นอนว่า “หมูกรอบ” ไม่ใช่อาหารของคนไทยคิดทำขึ้น เมนูนี้ถูกระบุอย่างชัดเจนว่ามีต้นกำเนิดมาจากมณฑลกวางตุ้ง จีนตอนใต้และฮ่องกง ในช่วงปลายราชวงศ์ชิงมีชาวจีนจากมณฑลนี้ได้อพยพเดินทางออกมาตั้งรกรากในหลายพื้นที่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมูกรอบที่เป็นวัฒนธรรมอาหารพื้นถิ่นจึงได้เผยแพร่ออกจากชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลไปสู่สังคมใหม่รวมถึงไทยด้วย 

หนังสีน้ำตาลทองประกายฉ่ำมัน กลิ่นหอมกรุ่นยั่วน้ำลาย ความกรุบกรอบเฉพาะส่วนของหนังหมู รวมกับชั้นไขมันนุ่มหยุ่นและชั้นเนื้อที่ดีดเด้งเวลาเคี้ยว ผสมรสกับซอสซีอิ๊วดำแล้วทำให้หมูกรอบเป็นอาหารที่มีรสสัมผัสพิเศษ อร่อยจนคนกินติดใจและลิ้นจดจำรสชาติไว้ไม่ลืม ทำให้สมองมักคิดถึงในเวลาที่อยากกิน “ของอร่อย”  นี่อาจพอเป็นเหตุผลที่อธิบายได้ว่าทำไมปีนี้คนไทยคิดถึง “หมูกรอบ” มากที่สุด

แล้วหมูกรอบแบบไหนที่คนไทยรัก? 

คนไทยมีสไตล์ความชอบเรื่องอาหารที่แตกต่างและโดดเด่นมาก ไม่ว่าอาหารสูตรดั้งเดิมนั้นจะอร่อยมากแค่ไหนก็มักจะถูกปรับใหม่ให้เข้ากับลิ้นคนไทย และหมูกรอบก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่มีคนคิดดัดแปลงสูตร อาทิ หมูกรอบชาชูที่เป็นเทรนด์ใหม่ที่เหล่านักชิมห้ามพลาด

หมูกรอบสูตรกวางตุ้งที่เสิร์ฟในร้านอาหารจีน เชฟใช้วิธีการหมักผงเครื่องเทศ 5 ชนิด (ผงพะโล้) ก่อนนำหมูสามชั้นชิ้นใหญ่ไปย่างไฟแรงๆ หลายรอบ นานนับชั่วโมงจนกว่าจะได้หมูที่สุกทั่วทั้งชิ้น คงชั้นไขมันหนาไว้ ให้ฟูกรอบเฉพาะส่วนหนัง และได้กลิ่นจางๆ ของเครื่องเทศ  ซึ่งแตกต่างมากจากหมูกรอบสูตรไทยที่ปรับเปลี่ยนกรรมวิธีการปรุงหมูกรอบใหม่ให้ใช้เวลาสั้นทันใจ เคยสังเกตุไหมว่าหมูกรอบที่ใช้ปรุงในร้านอาหารตามสั่งส่วนใหญ่เป็นหมูกรอบที่ทอดในน้ำมัน ดังนั้นผงเครื่องเทศที่เคยเป็นเครื่องปรุงสำคัญในสูตรเดิมถูกตัดออก เพราะมันจะอันตรธานอย่างเปล่าประโยชน์ไปกับน้ำมันทอด 

อีกทั้ง ความกรอบไปทุกส่วนของหมูสามชั้นและรู้สึกได้ถึงความชุ่มฉ่ำของชั้นไขมันที่นิ่มหดตัวลง ค่อยๆ แตกตัวละลายในปากที่อร่อยจนตาลุกวาวยังเป็นแบบที่คนไทยติดใจมากกว่าสูตรต้นตำรับ  มีการันตีด้วยรีวิวที่ลูกค้ายอมรับให้ 5 ดาว กับเมนูหมูกรอบเจ้าดังหลายร้านที่เปิดขายมานานกว่า 50 ปี ใครๆ ต่างอยากถอดรหัสหาสูตรลับความกรอบอร่อยนี้ ซึ่งนอกจากวัตถุดิบที่คัดสรรอย่างดีแล้ว เคล็ดสำคัญของความกรอบอยู่ที่ความพรุนจำนวนมากและความแห้งสนิทบนผิวหมูสามชั้น พร้อมกับอุณหภูมิความร้อนสูงที่สม่ำเสมอช่วยให้อากาศเข้าไปแทรกตัวในชั้นผิวได้ดียิ่งขึ้นนั่นเอง

 

อ้างอิง

https//about.google/stories/year-in-search-2020/

คำอธิบาย :
คำสำคัญ : ไทยแท้, เคล็ดลับการทำอาหาร, วัฒนธรรมอาหาร, อาหารไทย, หมูกรอบ, อาหารการกิน, เทรนด์ใหม่, วัตถุดิบคุณภาพ, สูตรหมูกรอบ, ความชอบอาหารไทย, การค้นหายอดนิยม, อาหารอร่อย, วัฒนธรรม, อาหารไทยสไตล์จีน, ความเป็นไทย, ถอดรหัสความเป็นไทย, กูเกิล, เทรนด์อาหาร, ความกรอบ, มิวเซียมสยาม
คำสำคัญ :
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
ผู้แต่งร่วม :  
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ครู / อาจารย์, ผู้ปกครอง, นักเรียน / นักศึกษา, ทั่วไป
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
ระดับชั้น :  
ประถมศึกษาปีที่ 4 (ป. 4), ประถมศึกษาปีที่ 5 (ป. 5), ประถมศึกษาปีที่ 6 (ป. 6), มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
ระดับชั้น :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
สาขาวิชาของสื่อ :   สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
สาขาวิชาของสื่อ :  
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
ลักษณะของสื่อ :   รูปภาพ
ลักษณะของสื่อ :  
{{setMessages['relation.media']}}
URL : -
URL :
:
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม). (2567). ความนิยมหมูกรอบของคนไทย, 17 ธันวาคม 2567. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/232941
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม). (2567). "ความนิยมหมูกรอบของคนไทย". https://oer.learn.in.th/search_detail/result/232941. (17 ธันวาคม 2567)
สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม). "ความนิยมหมูกรอบของคนไทย". 17 ธันวาคม 2567: https://oer.learn.in.th/search_detail/result/232941.

ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง

รีวิว : ความนิยมหมูกรอบของคนไทย

ไม่พบข้อมูลการรีวิว