ขนมชั้น

308      1,047
 
Creative Commons License
ขนมชั้น ได้รับใบอนุญาตภายใต้ ให้เผยแพร่-ดัดแปลง-โดยต้องระบุที่มาแต่ห้ามใช้เพื่อการค้า 3.0 Thailand.

 แสดงในรูปแบบ e-book

- เล่มที่ 1
 
ชื่อเรื่อง : ขนมชั้น
ชื่อเรื่อง :
{{setMessages['title']}}
คำอธิบาย : ขนมไทย (ขนมชัน)บ้านศรีฐาน ต.ศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลยข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา ชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางบรรจบ จันทร์ประสิทธิ์ ที่อยู่ 516 หมู่ 1 บ้านศรีฐาน ต.ศรีฐาน อ.ภูกระดึง จ.เลย อาชีพ ค้าขาย อายุการศึกษาภูมิปัญญา .......3........ปี ชื่อภูมิปัญญา ขนมไทย (ขนมชัน)ประวัติข้อมูลภูมิปัญญา หมู่บ้านศรีฐาน ตั้งอยู่ห่างจากเชิงเขาภูกระดึงมาทางทิศตะวันออกประมาณ 3 กม.เศษ ไม่มีหลักฐานใดที่บ่งบอกชัดว่าหมู่บ้านแห่งนี้ตั้งเมื่อใด โดยใคร แต่มีการเล่าสืบต่อกันมา ดังนี้ คนลาวพวกหนึ่ง (ลาว เป็นคำที่ใช้เรียกคนอีสาน) ได้อพยพจากห้วยหัน ห้วยทราย มาสร้างบ้านแปเมืองอยู่ที่บ้านนาผีถอน (ปัจจุบันคือกึ่งกลางระหว่างบ้านนาแปน – บ้านศรีฐาน)ชาวบ้านได้รับความอยู่เย็นเป็นสุขเรื่อยมา โดยมี ตาสี เขาแหลม เป็นผู้ปกครองหมู่บ้าน (เขาแหลมคงมิใช่นามสกุล เพราะ พ.ร.บ.นามสกุล เพิ่งมีในสมัยรัชกาลที่ 6 แต่อาจมีสิ่งหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์เกี่ยวกับตัวของตาสีก็ได้)ครั้นถึง พ.ศ.2342 เกิดลางร้ายกลางหมู่บ้าน เกิดแผ่นดินแยก แตกเป็นล่องลึก ทอดยาวสู่ลำห้วยทางทิศตะวันออก (บัดนี้มีสะพานข้ามไปบ้านนาแปน) ชาวบ้านเกรงภัยที่ไม่เห็นตัวซึ่งเป็นความเชื่อของคนในสมัยนั้น จึงตกลงพากันย้ายหมู่บ้านใหม่ แต่บ้านนาผีถอนคงเป็นชุมชนที่หนาแน่นมาก ไม่สามารถอพยพไปรวมอยู่ที่เดียวกันได้ จึงแยกย้ายกันออกไปเป็นกลุ่มๆ อยู่ตามบริเวณที่มีเครือญาติหรือไร่นาของตน แต่ละกลุ่มที่กระจายออกไป บ้านศรีฐานก่อตั้งประมาณ 200 ปี ได้อพยพมาจากหมู่บ้านเดียวกันกับบ้านนาแปน (บ้านนาผีถอน) เมื่อเกิดปัญหาในหมู่บ้านจึงได้แยกย้ายกันมาหาที่อยู่ ที่ทำมาหากินใหม่ นั้นคือบริเวณบ้านศรีฐาน ณ ปัจจุบันนี้ ความจริงของชื่อบ้านศรีฐาน เขียนว่า สีถาน ตามชื่อผู้ที่ปกครองหมู่บ้าน คือ ตาสี เขาแหลม นั่นเอง ภายหลังเขียนเป็นศรีฐาน ศรี คอ ความเป็นสิริมงคล และ ฐาน คือ ที่ตั้งของภูเขา (เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น) และเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ จึงได้เป็นหมู่บ้านตำบลศรีฐาน ขึ้นกับอำเภอวังสะพุง เมื่อปี 2505 มีการแยกเป็นกิ่งอำเภอภูกระดึง ตำบลศรีฐานจึงขึ้นกับอำเภอภูกระดึงตั้งแต่นั้นมา ปัจจุบันผู้ใหญ่บ้าน คือ นายอภิรมย์ จุลนันท์แหล่งท่องเที่ยว/สถานที่แนะนำของบ้าน อุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัด และเป็นแหล่งที่มาของรายได้ของประชาชนในพื้นที่ ทั้งการค้าขาย และการเป็นลูกหาบของขึ้นภูกระดึง (กมลพรรณ พันสนิท,2560 : สัมภาษณ์)กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก) จากการสัมภาษณ์คุณแม่บรรจบ จันทร์ประสิทธิ์ มีอาชีพค้าขาย แต่ก่อนค้าขายกับข้าว อาหารการกินขายที่ตลาดเช้า-เย็น เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว ต่อมาได้มีผู้คนได้ทำตามจึงเกิดการแข่งขัน จึงได้เลิกกิจการไปสักพัก เข้าวัด ประเทศน์ ทำบุญ ถือศีล กินทาน จึงได้แรงบันดาลใจมาจากการทำโรงทานจากเพื่อนๆ จึงได้เรียนการทำขนมได้ชนิด เช่น ขนมชั้น ขนมเปียกปูน วุ่น สังขยา ขนมต้ม เป็นต้น จึงได้นำความรู้เหล่านี้มาเริ่มต้นในการประกอบอาชีพที่ตนเองรักอีกครั้ง (กมลพรรณ พันสนิท,2560 : สัมภาษณ์) การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)ส่วนผสม ขนมชั้น • น้ำตาลทราย 2 1/2 ถ้วย • น้ำกะทิ 4 ถ้วย • แป้งข้าวเจ้า 1/2 ถ้วย • แป้งมันสำปะหลัง 1/2 ถ้วย • แป้งท้าวยายม่อม 1 1/2 ถ้วย (หรือแป้งถั่วเขียว) • น้ำใบเตยคั้นเข้มข้น 1/2 ถ้วย • น้ำหอมกลิ่นมะลิผสมน้ำ 1/2 ถ้วย • ถาดหรือพิมพ์สี่เหลี่ยมสำหรับนึ่งขนม (ขนาด 10x10 นิ้ว หรือ 8x8 นิ้ว)การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)วิธีทำขนมชั้น ใส่น้ำตาลทรายและกะทิลงในหม้อ คนผสมให้เข้ากันแล้วนำขึ้นตั้งไฟปานกลางประมาณ 5 นาที จนน้ำตาลทรายละลาย (ไม่ต้องรอให้เดือด) ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็น ผสมแป้งข้าวเจ้า แป้งมันสำปะหลัง และแป้งท้าวยายม่อมเข้าด้วยกัน ค่อย ๆ เทส่วนผสมน้ำกะทิลงไป ใช้มือนวดแป้งให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว นวดประมาณ 15 นาที จนแป้งไม่จับตัวเป็นก้อน จากนั้นนำไปกรองด้วยตะแกรง แบ่งแป้งเป็น 2 ถ้วย โดยถ้วยที่ 1 ผสมกับน้ำใบเตย และถ้วยที่ 2 ผสมกับน้ำมะลิ คนผสมให้เข้ากัน เตรียมไว้ ทำชั้นที่ 1 โดยเทส่วนผสมสีขาว (เทส่วนผสมทุกชั้นประมาณ 1/3 ถ้วย) ลงในพิมพ์ ปิดฝา นึ่งประมาณ 5 นาที เปิดฝา เทส่วนผสมสีเขียวลงไป ปิดฝา นึ่งประมาณ 5 นาที ทำซ้ำเช่นเดิม สลับชั้นกันจนหมดแป้งการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร) จากการสัมภาษณ์และเรียนรู้ขั้นตอนวิธีการทำขนมชัน จากภูมิปัญญาท้องถิ่นขนมไทย ถือว่า เป็นองค์ความรู้ที่ความสะสมและถ่ายทอดความรู้นี้สู่คนรุ่นหลัง และยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนได้ฝึกประสบการณ์และนำไปประกอบอาชีพได้ พิกัด (สถานที่) ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560ชื่อผู้ศึกษา นางสาวกมลพรรณ พันสนิท หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (800 5201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน โรงเรียนวัดถิ่นฐานรังสิตวิทยา อ.ภูกระดึง จ.เลย อาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง (ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลย
คำอธิบาย :
คำสำคัญ : ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ขนมไทย, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ขนมชั้น
คำสำคัญ :
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : บรรจบ จันทร์ประสิทธิ์
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน :
{{setMessages['author']}}
ผู้แต่งร่วม :   มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กมลพรรณ พันสนิท
ผู้แต่งร่วม :  
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :   ทั่วไป
สื่อสำหรับบุคคลประเภท :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
ระดับชั้น :  
มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย
ระดับชั้น :  
{{setMessages['relation.level']}}
ไม่พบข้อมูล
สาขาวิชาของสื่อ :   การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สาขาวิชาของสื่อ :  
{{setMessages['relation.subject']}}
ไม่พบข้อมูล
ลักษณะของสื่อ :   รูปภาพ, ข้อมูลปฐมภูมิ
ลักษณะของสื่อ :  
{{setMessages['relation.media']}}
URL : -
URL :
:
บรรจบ จันทร์ประสิทธิ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กมลพรรณ พันสนิท. (2561). ขนมชั้น, 9 ตุลาคม 2567. https://oer.learn.in.th/search_detail/result/80455
บรรจบ จันทร์ประสิทธิ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กมลพรรณ พันสนิท. (2561). "ขนมชั้น". https://oer.learn.in.th/search_detail/result/80455. (9 ตุลาคม 2567)
บรรจบ จันทร์ประสิทธิ์, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, กมลพรรณ พันสนิท. "ขนมชั้น". 9 ตุลาคม 2567: https://oer.learn.in.th/search_detail/result/80455.

ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีเรื่องที่เกี่ยวข้อง

รีวิว : ขนมชั้น

ไม่พบข้อมูลการรีวิว