มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด
1,265
3,561
3,561
- File 1
- File 2
- File 3
- File 4
- File 5
- File 6
- File 7
- File 8
- File 9
- File 10
- File 11
- File 12
- File 13
- File 14
- File 15
- File 16
- File 17
- File 18
- File 19
- File 20
ชื่อเรื่อง : การสานกระติบข้าว |
คำอธิบาย : ชื่อหัวข้อภูมิปัญญาสถานที่\ข้อมูลเจ้าของภูมิปัญญา รูปภาพชื่อเจ้าของภูมิปัญญา นางวิภรัตน์ มูลศรี อายุ 37 ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ 108 หมู่ 3 บ้านลำภูพาน ตำบลผาตั้ง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย อาชีพ เกษตรกรรม อายุการศึกษาภูมิปัญญา 10 ปี \ชื่อภูมิปัญญา กระติ๊บข้าว (ก่องข้าวเหนียว) บ้านลำภูพานประวัติข้อมูลภูมิปัญญาประวัติหมู่บ้านลำภูพาน(บริบทพื้นที่ของหมู่บ้าน)บ้านลำภูพาน หมู่ที่ 3 ตำบลผาตั้ง อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย เป็นหมู่บ้านที่แยกออกจากบ้านปากโสม เมื่อปี พ.ศ. 2519 บรรพบุรุษดั้งเดิมอพยพหนีศึกฮ้อมาจากหัวพันประเทศลาวโดยมีจางวางพาบเป็นหัวหน้ามาตั้งหลักแหล่งถิ่นฐานที่ปากห้วยโสม จนกระทั่งมีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นหมู่บ้าน นายเตา บุตรชายของนายจางวางพาบ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้าน บ้านปากโสม ปกครองชุมชนและมีการอพยพญาติพี่น้องที่อยู่ฝั่งลาวตามมาเรื่อยๆ และได้แยกออกมาจากบ้านปากโสมเมื่อปี พ.ศ. 2519 ประวัติการกำเนิด กระติ๊บข้าว (ก่องข้าวเหนียว)บ้านลำภูพาน คุณยายสี ดอนหลักคำ ได้เรียนจักสานตอน อายุ 14 ปี จากพ่อแม่และได้ทำมาเรื่อยๆเพื่อเอาไว้ใช้เอง เพราะสามารถหาไม้ได้ง่ายในท้องถิ่น และต่อมา คุณยายสี ดอนหลักคำ ได้ทำจักสานมาเรื่อยๆเป็นประจำ โดยจักสานลวดลาย ลายสอง ลายสาม เพราะเป็นลวดลายที่สานได้ง่าย โดยไม่ได้ซื้อของเหล่านี้จากที่ใดเลย( พรรณณี ทุมมณี 15 ตุลาคม 2560 : สัมภาษณ์ )กำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก)ผู้ต่อยอดภูมิปัญญาการทำกระติ๊บข้าว (ก่องข้าวเหนียว) บ้านลำภูพาน นางวิภรัตน์ ดอนหลักคำ อายุ 37 ปี อาชีพ เกษตรกรรม บ้านเลขที่ 108 หมู่ 3 บ้านลำภูพาน ตำบลผาตั้งอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ได้เริ่มหัดจักสาน ตั้งแต่อายุประมาณ 20 ปี เพราะมีใจรักในเรื่องจักสาน ซึ่งเห็นคุณยายสี ดอนหลักคำ จักสานมาตลอด จึงได้เริ่มฝึกครั้งแรก คือ จักสานกระติ๊บข้าว และได้ฝึกหัดการจักสานหลายอย่างมาเรื่อยๆ เช่น สานตะกร้า หวดนึ่งข้าว เป็นต้น เพื่อใช้ในครอบครัว โดยไม่เคยซื้อของเหล่านี้ในการใช้ ในครัวเรือน ปัจจุบัน นางวิภรัตน์ มูลศรี เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ด้านการจักสาน และได้เป็นตัวแทนถ่ายทอดความรู้ ด้านการจักสาน ภูมิปัญญาชาวบ้านของหมู่บ้านลำภูพาน\\\\ภาพทางไปบ้านของคุณวิภรัตน์ มูลศรี\\\\ภาพบริเวณด้านในบ้านของคุณวิภรัตน์ มูลศรี\( พรรณณี ทุมมณี 15 ตุลาคม 2560 : สัมภาษณ์ )การสร้างความรู้ (ขั้นตอน/วิธีการการสร้างภูมิปัญญา)วัสดุอุปกรณ์ในการทำกระติ๊บข้าว (ก่องข้าวเหนียว) 1.ไม้ข้าวหลาม ยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร กว้าง 2-3 มิลลิเมตร 2.ไม้ไผ่บ้าน ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้าง 2 นิ้ว 3.ก้านตาล ยาวประมาณ 50 เซนติเมตร กว้าง 3 นิ้ว 4.ด้ายไนลอน 1 ม้วน 5. เข็ม เบอร์ 51 เล่ม 6.กรรไกร 1 เล่ม 7.เหล็กแหลม 1 อัน 8. มีดอีโต้ 1 เล่มแหล่งวัสดุที่ใช้ทำกระติ๊บข้าว มีแหล่งที่มา 2 แห่ง คือ1.หาซื้อได้จากท้องตลาด ได้แก่ ก้านตาล เชือกไนลอน เข็ม เบอร์ 5 กรรไกร2.แหล่งที่หาได้จากในป่าหมู่บ้านลำภูพาน ได้แก่ ไม้ข้าวหลาม ไม้ไผ่บ้าน ก้านตาล ระยะเวลาที่สร้างสรรค์ จำนวน 1ใบ ต่อ 1-2 วันขั้นตอนการเตรียมจักสานขั้นตอนที่1 ตัดไม้ไผ่ข้าวหลาม ยาวประมาณ 40-50 เซนติเมตร กว้าง 2-3 มิลลิเมตร ไม้ไผ่บ้าน ยาวประมาณ 20 เซนติเมตร กว้าง 2 นิ้ว\ขั้นตอนที่ 2 นำไม้ไผ่ข้าวหลามและไม้ไผ่บ้านที่ผ่าแล้วมาฉีกเป็นเส้นๆ\\\\\ขั้นตอนที่ 3 นำไม้ไผ่ข้าวหลามและไม้ไผ่บ้านที่ฉีกเป็นเส้นๆ นำมาผึ่งแดดให้แห้ง ประมาณ 2-3 วัน\\\\ขั้นตอนที่ 4 นำมาถักสานให้ได้รูปทรงของกระติ๊บข้าว มีตัวกระติ๊บข้าว และฝากระติ๊บข้าว\\\\\\\\\\ขั้นตอนที่ 5 นำไม้ไผ่บ้านที่ผึ่งแดดเสร็จแล้วมาสาน แล้วตัดให้เป็นวงกลม 2 ชิ้น และนำมาเย็บใส่ของรูปทรงของ ตัวกระติ๊บข้าว ฝากระติ๊บข้าว \\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\ขั้นตอนที่ 6 นำก้านตาลที่ซื้อจากท้องตลาด หรือป่าหมู่บ้านลำภูพาน มาเหลาบางๆแล้วนำมาดัดให้เป็นวงกลม และนำเหล็กแหลมไปเผาไฟให้ร้อนมาเจาะรูเล็กๆ แล้วเย็บด้วยด้ายไนลอนให้ได้ขนาดของตัวกระติ๊บข้าว เมื่อเย็บเสร็จแล้ว นำไปเย็บใส่กับตัวกระติ๊บข้าว\\\\\\\\\ขั้นตอนที่ 7 นำด้ายไนลอนมาเย็บเป็นสะพายของกระติ๊บข้าว\\\\\ขั้นตอนที่ 8 กระติ๊บข้าวเสร็จเรียบร้อย\\\\\การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ (การจดจำ/เอกสาร/ฐานข้อมูล)สรุปจะเห็นว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นมีหลายรูปแบบด้วยกันขึ้นอยู่กับบริบทของสถานที่ และเจ้าของภูมิปัญญา จึงทำให้ภูมิปัญญาแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกันรวมทั้งศาสตร์วิชาของภูมิปัญญาก็ต่างกันไปด้วยความรู้เรื่องกระติ๊บข้าวกระติ๊บข้าว(หรือก่องข้าวเหนียว)เป็นของใช้ประจำบ้านที่ใช้บรรจุข้าวเหนียวทุกครัวเรือน ทุกพื้นที่ที่รับประทานข้าวเหนียว โดยเฉพาะในภาคอีสานของไทยซึ่งชาวอีสานนิยมบริโภคข้าวเหนียวเหตุผลที่ทำให้นิยมใช้ กระติ๊บข้าวบรรจุข้าวเหนียว1. ทำให้ข้าวเหนียวที่บรรจุไม่เหนียวแฉะไม่ติดมือ2. พกพาสะดวก หิ้วไปได้ทุกหนทุกแห่งวัสดุอุปกรณ์ที่ทำกระติ๊บข้าวกระติ๊บข้าวสามารถทำได้จากวัสดุหลายอย่าง เช่น ใบจาก ใบตาล ใบลาน เป็นต้น แต่ที่นิยมใช้ทำมาก และมีคุณภาพดีที่สุด ต้องทำจากไม้ไผ่ไม้ไผ่มีหลายชนิด แต่ละชนิด เหมาะกับงานแต่ละอย่างและไม้ไผ่ที่นิยมนำมาทำกระติบข้าว คือไม้ไผ่บ้าน หรือไม้ไผ่ใหญ่ อายุประมาณ 10 เดือน ถึง 1 ปี เพราะมีปล้องใหญ่และปล้องยาว เนื้อไม้เหนียวกำลังดีไม่เปราะง่าย ทำเป็นเส้นตอกสวย ขาวประโยชน์ที่ได้จากกระติ๊บข้าว1. ใช้บรรจุข้าวเหนียว2. เป็นของชำร่วย3. ประดับตกแต่ง4. กล่องเอนกประสงค์5. กล่องออมสิน6. แจกัน7. กล่องใส่ดินสอข้อเสนอแนะ1. การเลือกไม้ไผ่ ควรเลือกไม้ไผ่ ที่มีปล้องยาวอายุประมาณ 10 เดือน ถึง 1 ปี2. การจักตอก ต้องมีขนาดความกว้าง ความยาวให้เท่า ๆ กันทุกเส้น เพื่อจะได้กระติบรูปทรงสวยงาม3. ก่อนที่จะเหลาเส้นตอก หรือขูดให้นำเส้นตอกที่จักแล้ว แช่น้ำประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อให้เส้นตอกอ่อนนุ่ม จะได้ขูดเหลาง่ายขึ้น แล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิท เพื่อป้องกันเชื้อราก่อนลงมือสานจุดเด่น ของการสานกระติ๊บข้าว1. สานเป็นลวดลายต่าง ๆ หรือเป็นตัวหนังสือทั้งไทยและอังกฤษ จะได้ราคาดี2. หาอุปกรณ์ในการทำง่าย3. ทำให้เกิดอัตราการว่างงาน และเป็นอาชีพที่สุจริต และเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว4. วิวัฒนาการเป็นของชำร่วยได้มากมาย เช่น กล่องใส่กระดาษชำระ กระเป๋า แจกันการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (ซึมซับไว้กับตนเอง หรือ เผยความรู้ให้แก่องค์กร) เป้าหมายของการทำกระติ๊บข้าว (ก่องข้าวเหนียว) เป็นการสืบทอดจากบรรพบุรุษของหมู่บ้านลำภูพาน เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนในการทำกระติ๊บข้าว (ก่องข้าวเหนียว) และเผยแพร่ความรู้ให้ลูกหลานของคนอีสานรุ่นใหม่ ได้รู้และหวงแหนภูมิปัญญาการทำกระติ๊บข้าวของชาวอีสานพิกัด (สถานที่)บ้านลำภูพาน ตำบลผาตั้ง อำเภอสังคม จังหวัด หนองคาย\\\\\\ข้อมูลผู้ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่น ปีการศึกษา 2560\ชื่อผู้ศึกษา นางสาวพรรณณี ทุมมณี รูปผู้ศึกษาหลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู (ป.บัณฑิต) รุ่น 4 รายวิชา ความเป็นครู (8005201) เน้นศึกษา ครูกับการอนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น คณะ ศึกษาศาสตร์ สถานที่ศึกษา มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือสถานที่ทำงาน โรงเรียนน้ำพองประชานุกูลอาจารย์ผู้สอน1 รองศาสตราจารย์ สำเร็จ คำโมง(ครูภูมิปัญญาไทย, ศิลปินมรดกอีสาน)2 อาจารย์ ดร.พา อักษรเสือ3 อาจารย์ ดร.ธีรภัทร โคตรบรรเทา4 อาจารย์ สุชาดา ลดาวัลย์5 อาจารย์ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว6 อาจารย์ บุญจันทร์ เพชรเมืองเลยhttps://youtu.be/a7Zi8F-2Okg |
คำสำคัญ : กระติ๊บข้าว, กล่องข้าวเหนียว, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
ผู้สร้างสรรค์/ผู้แต่ง/เจ้าของผลงาน : วิภรัตน์ มูลศรี |
เจ้าของผลงานร่วม : พรรณณี ทุมมณี, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
สื่อสำหรับบุคคลประเภท : ทั่วไป |
ระดับชั้น : มัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม. 1), มัธยมศึกษาปีที่ 2 (ม. 2), มัธยมศึกษาปีที่ 3 (ม. 3), มัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม. 4), มัธยมศึกษาปีที่ 5 (ม. 5), มัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม. 6), ปริญญาตรี , ปริญญาโท, ปริญญาเอก, ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) , ประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) , ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.), การศึกษาตามอัธยาศัย |
สาขาวิชาของสื่อ : การงานอาชีพและเทคโนโลยี, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม, ศิลปะ |
ลักษณะของสื่อ : ข้อมูลปฐมภูมิ , ใบงาน, รูปภาพ, VDO Clip |
ผลงานทั้งหมด
89
ผู้เข้าชม
29,227
ดาวน์โหลด
137,661
ผลงานที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับ | |
---|---|
การสานกระติบข้าว | 1,265 |
ลอบดักปลา | 1,003 |
ไม้กวาดดอกหญ้า | 1,002 |
หน่อไม้ดอง | 911 |
การทอผ้าไหมแพรวา | 893 |
ผลงาน 5 อันดับล่าสุด | |
---|---|
การปั้นหม้อดินเผา | 9 ตุลาคม 2567 |
ผ้าขาวม้า | 9 ตุลาคม 2567 |
มัดหมี่ | 9 ตุลาคม 2567 |
ขนมชั้น | 9 ตุลาคม 2567 |
ผ้าไหมมัดหมี่ | 9 ตุลาคม 2567 |
ผลงานทั้งหมด | ||||
---|---|---|---|---|
# | ชื่อเรื่อง | ผู้เข้าชม | ดาวน์โหลด | # |
11 | ดอกไม้จันทน์ (ดอกอีแปะ) | 716 | 1,384 | |
12 | มัดหมี่ | 701 | 2,569 | |
13 | การทำไม้ถูพื้นจากเศษผ้า | 646 | 1,344 | |
14 | การสานข้อง | 646 | 1,953 | |
15 | การตำสมุนไพร | 478 | 714 | |
16 | การสานข้อง | 451 | 165 | |
17 | การสานกระเป๋าจากซองกาแฟ | 441 | 1,353 | |
18 | เกษตรผสมผสาน | 434 | 810 | |
19 | เส้นขนมจีน | 431 | 3,100 | |
20 | การปั้นหม้อดินเผา | 393 | 1,920 |